3 มี.ค. 2020 เวลา 01:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Northrop F-5 เครื่องบินขับไล่รุ่นเก๋าที่ไม่เก่า
ที่มารูปภาพ https://www.northropgrumman.com/wp-content/uploads/2019/12/pgl_ti-10039_007.jpg
ที่มารูปภาพ https://www.the-northrop-f-5-enthusiast-page.info/Pictures/USAF/13332BinThuy%20b.jpg
ก่อนจะเข้าใจว่าเครื่อง F-5TH ของไทยนั้นเป็นอย่างไร เราต้องเข้าใจถึงภารกิจหลักๆของมันก่อนครับ
ที่มารูปภาพ https://thaimilitaryandasianregion.files.wordpress.com/2016/01/f5e_21129_211sq_120114-2.jpg
เครื่องบินขับไล่ F-5A / F-5TH หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเครื่องบินขับไล่ F-5 (อีกชื่อที่นิยมคือ Freedom Fighter) เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประจำการในกองทัพอากาศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 โดยเครื่อง F-5 นั้นจัดว่าเป็นเครื่องบินขับไล่เบา (Light Fighter Aircraft) ซึ่งมีภารกิจหลักคือการสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึกรวมไปถึงการสนับสนุนภาคพื้น (Close-Air-Support:CAS)
เครื่องบินF-5ของสหรัฐกำลังทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายเวียดกงในช่วงสงครามเวียดนาม
***ภารกิจการสนับสนุนทางอากาศสู่ภาคพื้นนับเป็นภารกิจที่มีความเสี่ยงสูง เพราะนอกจากจะต้องเจอกับจรวดภาคพื้นสู่อากาศแล้ว ยังมีปืนต่อสู้อากาศยาน และ จรวดต่อสู้อากาศยานประทับบ่า (Man-portable air defense system: MANPADS) อีกด้วย
MANPADS ที่มารูปภาพ https://i0.wp.com/asiatimes.com/wp-content/uploads/2019/11/China-MANPADS-Missile-FN-6-2-e1574936135506.jpg?resize=768%2C516&ssl=1
เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้เครื่องบิน F-5 ที่ปฏิบัติภารกิจโจมตีภาคพื้นมีอัตราการถูกยิงตกที่สูง
สำหรับภาคอากาศนั้น ในตอนที่เครื่องF-5เข้าประจำการ เครื่องมีความสามารถของการยิงจรวดอากาศสู่อากาศค่อนข้างจำกัด เพราะมิสไซล์รุ่นเก่านั้นไว้ใจไม่ค่อยได้ บ่อยครั้งที่จะไม่จับเป้าหมาย และบ่อยครั้งที่เมื่อยิงใกล้พื้นก็จะไม่สามารติดตามเป้าหมายต่อไปได้เพราะความร้อนจากพื้นดิน ต่างกับในปัจจุบันที่มีความสามารถและมีอัตราความสำเร็จในการทำลายเป้าหมายที่สูงขึ้น
จรวดติดตามความร้อน AIM-9B Sidewinder ที่มารูปภาพ https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:AIM-9B_Sidewinder_missiles_on_the_flight_deck_of_USS_America_(CVA-66),_8_June_1967.jpg
หลายๆท่านอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไม F-5 ของไทยจึงยังประจำการอยู่ และข้อดีของเครื่องรุ่นเก๋าลำนี้คืออะไรกันแน่
เราคงต้องไปย้อนดูที่ประวัติความเป็นมาของเครื่องบินลำนี้กันต่อและ ทำความเข้าใจถึงปัจจัยในการออกแบบครับ
ย้อนกลับไปในยุคทศวรรษที่ 1950 บริษัท Northrop ได้เริ่มต้นการศึกษาและออกแบบเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงรุ่นใหม่ซึ่งก็คือโครงการของ F-5 เนี่ยแหละครับ
สำหรับหัวหน้าของโครงการนั้น ก็มีผลงานการสร้างเครื่องบินรบระดับตำนานมาแล้วอย่างเครื่องบิน North American P-51 Mustang และ F-86 Sabre ผู้ซึ่งมีชื่อว่า Edgar Schmued
F-86 Sabre ที่มารูปภาพ https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:F-86_%27MiG_Mad_Marine%27.jpg
Edgar Schmued แบะโมเดลของเครื่อง P-51 Mustang ที่มารูปภาพ https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:Edgar_Schmued_(2).jpg
Edgar Schmued ต่อต้านแนวทางการออกแบบที่บริษัทส่วนใหญ่ในยุคนั้นทำกัน (ซึ่งก็คือการเน้นไปที่ขนาดที่ใหญ่ขึ้น และนำ้หนักที่มากขึ้นของเครื่องบินขับไล่ เพราะเชื่อว่าการรบ ชนะกันที่ปริมาณของอาวุธที่บรรทุกได้)
Edgar Schmued กลับเลือกที่จะสร้างเครื่องบินรบที่มีพละกำลังสูง มีความคล่องตัว ที่สำคัญคือต้องไว้วางใจได้ และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ต่ำ อีกทั้งต้องปรับแต่งได้ตามความต้องการ
โดยรุ่นล่าสุดของไทยก็คือ F-5TH Super Tigris ของกองทัพอากาศ ซึ่งได้รับการปรับปรุงความสามารถทางด้านอาวุธและระบบการบินต่างๆให้ดียิ่งขึ้น
ที่มารูปภาพ https://www.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04OOSAgNfwW7XwCsF0wyXdxzOZ5PQC9w.jpg
ที่มารูปภาพ https://www.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04OOSAgNfwW7XwCsFzSeyLzQhtkNBFgR.jpg
ยกตัวอย่างเช่น เพิ่มให้มีความสามารถในการยิงจรวดอากาศสู่อากาศที่ล้ำหน้าอย่าง รุ่น Pyhton 4 ของอิสราเอลที่ยิงได้ไกลกว่า 20 กิโลเมตร และมีการเปลี่ยนหน้าจอแสดงผลภายในห้องนักบินให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
จนเรียกได้ว่ามีความสามารถเทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ยุค 4.5 หรือก็คือเครื่องบินอย่าง Jas-39 Gripen นั่นเองครับ
เครื่องบินขับไล่ Jas-39 Gripen ที่มารูปภาพ https://thaimilitaryandasianregion.files.wordpress.com/2017/04/38711.jpg
สุดท้ายนี้ เราจึงสรุปได้ว่าความสามารถในการปรับแต่งและข้อได้เปรียบทางด้านค่าบำรุงรักษา นับว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ F-5 นั้นประสบความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง และก็คงสรุปได้ว่าเป็นสาเหตุที่ชัดเจน ถึงการประจำการอันยาวนานของเครื่องบินรุ่นนี้ภายในกองทัพอากาศไทยครับ
ขอบคุณที่อ่านบทความของผมนะครับ ถ้ามีเรื่องใดที่สงสัยและอยากเสนอ สามารถแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างได้เลยนะครับ :)
ถ้าชื่นชอบติดตามกันได้ที่
ไว้เจอกันในโอกาสหน้าครับ สวัสดีครับ
โฆษณา