Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไดโนสคูล
•
ติดตาม
3 มี.ค. 2020 เวลา 04:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ออสเตรเลีย พบข้อเท็จจริงใหม่
จิงโจ้ Swamp wallaby ตัวเมีย
ตั้งท้อง 2 มดลูก พร้อมกัน 💖
จิงโจ้เป็นสัตว์พื้นถิ่นออสเตรเลีย ที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า มันเลี้ยงลูกในกระเป๋าหน้าท้อง
ลูกจิงโจ้จะใช้เวลาอยู่ในมดลูกแม่ก่อนที่จะคลอดลืมตาดูโลก แค่ 30 วันหรือประมาณ 1 เดือนค่ะ
แล้วหลังจากนั้นลูกจิงโจน้อยตัวแดงๆที่ไม่มีเส้นขน
ก็จะคลานออกมานอนอุ่นอาศัยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง
ดูดนมแม่เป็นอาหารอีกประมาณ 9 เดือน
หลังจากนั้น เขาก็จะโตเต็มที่ พร้อมที่จะออกไปเผชิญโลก ภายนอกด้วยตัวเอง
แต่..
มีสายพันธุ์หนึ่งของจิงโจ้
ที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ร่วมกับนักวิจัยที่เยอรมัน
ที่ดูแลด้านของสัตว์ป่า
ได้พบข้อมูลใหม่สุดพิเศษ
จากจิงโจ้สายพันธุ์ Swamp wallaby
ซึ่งเป็นจิงโจ้ที่ขนาดเล็กกว่า kangaroo หรือจิงโจ้ในออสเตรเลียที่เราเคยเห็นภาพทั่วไป
จิงโจ้สายพันธุ์ Swamp wallaby นี้ มีความแตกต่างอย่างไรมาดูกันค่ะ 👀
ถ้าเป็นจิงโจ้ kangaroo และ Wallaby สายพันธุ์อื่นทั่วไป
เรามักจะเห็นตัวแม่มีลูกตัวเดียวโผล่หัวออกจากกระเป๋าหน้าท้อง
ที่จริงแล้ว
ในขณะเดียวกันนั้น ภายในมดลูกของแม่จิงโจ้เหล่านี้ ก็จะยังมีอีกตัวอ่อนเล็กๆอีกหนึ่งชีวิต
ที่กำลังเติบโตอยู่ รอเวลาให้ครบ 30 วัน ก็จะออกมาลืมตาดูโลกบ้าง
แม่จิงโจ้กลุ่มนี้ จะมีลูกจิงโจ้ได้มากกว่า 1 ตัว ที่คลอดออกมาจากมดลูก โดยที่อายุไม่เท่ากัน
ตัวหนึ่งลืมตาดูโลกแล้ว
ส่วนอีกตัวยังอยู่ในมดลูกข้างใน
โดยมาจากมดลูก "คนละข้าง" กัน!! 😲
ที่เป็นอย่างนี้ได้
ก็เพราะภายใต้กระเป๋าจิงโจ้ kangaroo และ Wallaby สายพันธุ์ทั่วไป มี 2 มดลูกค่ะ
ไม่เหมือนคนนะคะ 🌹
คนมี 1 มดลูก แต่มีรังไข่ 2 รังไข่
ที่สามารถผลิตไข่ตั้งแต่เราอยู่ในท้องแม่ก่อนเราคลอด ประมาณ 400 ฟอง
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เราจึงเริ่มมีการตกไข่
และไข่ก็จะมีการเติบโตแบบเดือนเว้นเดือน
สลับกันไปจากรังไข่ด้านซ้ายและขวา
ถูกปล่อยออกมาจากรังไข่
ทำให้มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้
ถ้ามีเพศสัมพันธ์กลางรอบเดือน
หรือประมาณ 14 วัน นับจากวันมีประจำเดือนวันแรก
แต่ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมกับสเปิร์ม
ผนังหนา ๆ ในมดลูก ที่ได้บุเนื้อเยื่อและเส้นเลือดไว้ (เผื่อไว้สำหรับการตั้งครรภ์)
ก็จะลอกตัวออกมาเป็นเลือดประจำเดือนนั่นเองค่ะ
ออกนอกเรื่องไปแล้ว
.
.
.
กลับเข้ามาที่จิงโจ้ kangaroo นะคะ
เป็นเรื่องปกติ ที่ทางวิทยาศาสตร์ทราบว่าแล้วว่า จิงโจ้นั้นมี 2 มดลูก
แต่ถ้ามันกำลังตั้งท้องลูกตัวหนึ่งในมดลูกหนึ่ง
อีกมดลูกหนึ่งนั้น จะเงียบๆค่ะ
จะรออยู่ในระยะ "พักก่อน!"😪
เพื่อรอให้เจ้าตัวแรกนั้น
คลอดออกไปอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องเสร็จสรรพแล้ว
อีกมดลูกหนึ่ง จึงพร้อมที่จะให้ตัวอ่อนเติบโตต่อไปได้
ทีนี้ ไฮไลท์ของเรามาแล้วค่ะ 💖
จิงโจ้สายพันธุ์ Swamp wallaby
เป็นจิงโจ้ขนาดเล็ก ขนสีเข้ม
Swamp wallaby ตัวเมีย ก็มี 2 มดลูกเหมือนกันกับจิงโจ้สายพันธุ์อื่นๆ
แต่..
มดลูกทั้งสองข้างของมัน
สามารถเกิดการปฏิสนธิและเลี้ยงตัวอ่อนเติบโตขึ้นมาภายในมดลูกได้พร้อมๆกัน
เมื่อถึงเวลาคลอด ก็จะมีลูกได้พร้อมกัน 2 ตัว ที่มาจากแต่ละมดลูกเลยค่ะ 😲
สิ่งนี้จะไม่สามารถรู้ได้ชัดเจนเลยนะคะ
ถ้าไม่มีการตรวจอัลตราซาวด์ 👀
ซึ่งทีมวิจัยของเมลเบิร์นและเยอรมันโครงการร่วมนี้ เขาตรวจดูอย่างละเอียด
จนเป็นที่รู้กันกระจ่างชัดในงานวิจัยนี้ล่ะค่ะ
ดูเหมือนว่าเจ้า Swamp wallaby
มีความพร้อมที่จะเป็น "คุณแม่"
เปิดรับการตั้งครรภ์ได้ตลอดเวลาเลยนะคะ
แถมมีโอกาสได้ "ลูกแฝด" แบบ "ต่างมดลูก" ด้วยค่ะ 😆
สำหรับคน
จะมี "แฝดเหมือน" กับ "แฝดต่าง" 👥
ไข่ใบเดียวที่ปฏิสนธิกับสเปิร์มแล้วแบ่งเซลล์ split กัน ก็จะกลายเป็น "แฝดเหมือน"
ส่วน "แฝดต่าง" นี้ มาจากไข่และสเปิร์มคนละคู่กัน
สาเหตุมาจากรังไข่แต่ละข้าง มีการปล่อยให้ไข่ตกออกมาพร้อมกันในช่วงกลางรอบเดือนนั้น
เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ใน 24 ชั่วโมง หลังการตกไข่
จึงมีโอกาสที่สเปิร์มนับล้าน
ที่มี 2 ตัวที่แข็งแรงโดดเด่น
เจาะผสมกับไข่
ทำให้เกิดการปฏิสนธิได้สำเร็จทั้ง 2 ฟอง
กรณีของเจ้า Swamp wallaby
ต้องขอยกนิ้วให้ เพราะเป็นคุณแม่ที่พิเศษจริงๆ
คือมีลูกแฝดได้จาก "คนละมดลูก" พร้อมกันเลยค่ะ
ความสามารถพิเศษของจิงโจ้ชนิดนี้
คาดว่า น่าจะเกี่ยวกับเรื่องของวิวัฒนาการของสปีชีส์
เพื่อให้เขามีโอกาสสืบทอดสายพันธุ์ได้ลูกหลานออกมา ไม่ให้สูญสิ้นง่าย
นอกจากนี้
ก็มีอีกสายพันธุ์ของจิงโจ้ที่น่าสนใจ
คือ Tammar wallaby
Tammar wallaby เป็นจิงโจ้ขนาดเล็ก
ที่มี 2 มดลูกเช่นกัน
แต่เมื่อมดลูกหนึ่งมีตัวอ่อน
อีกมดลูกจะควบคุม ไม่ยอมให้เจ้าตัวอ่อนนั้นได้เติบโต
ต้องรอจนกว่าลูกจิงโจ้จากมดลูกแรกโตได้ที่ก่อน
ซึ่งกระบวนการนี้ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ
คือ ช่วงกลางวันที่ยาวนานขึ้นในช่วง Summer ของออสเตรเลีย
จะเป็นการ Restart ระบบพัฒนาการให้ตัวอ่อนโตได้ค่ะ 🌞🌞
ยังมีอะไรอีกมากมายที่อยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการของร่างกายของสิ่งมีชีวิตนะคะ
อย่างจิงโจ้ เป็นสัตว์เจ้าถิ่นในออสเตรเลีย ก็เลยเป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาของทีมวิจัยนี้
ซึ่งเราก็ได้เห็นแล้วว่า
ระบบการขยายพันธุ์ของจิงโจ้แต่ละสปีชีส์ ยังไม่เหมือนกันเลย
พอคุยเรื่องจิงโจ้มีลูก
ก็ต้องย้อนมามองคุณพ่อคุณแม่ของเราค่ะ
การมีลูกสักคนในสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย
ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน
ไม่ใช่แค่เรื่องการเลี้ยงดู
แต่มันเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เราควบคุมไม่ได้ด้วย
และเราทุกคนก็ยังต้องหมุนตามโลกให้ทันด้วย
ฉะนั้น ลูกๆทุกคนต้องรักคุณพ่อคุณแม่ให้มากๆนะคะ
ดูอย่างจิงโจ้สิคะ
เขามีลูก เขายังเลี้ยงลูกอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องจนกว่าจะโตพอที่จะดูแลตัวเองได้
แต่ "ลูกคน" นี่นะคะ
ความรักและผูกพันไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ
ถึงไม่มีกระเป๋าหน้าท้อง
แต่พ่อแม่รักและผูกพันเราไปจนตลอดชีวิตเลยค่ะ🌹
นกไดโนสคูล
https://nokdinoschool.com/contact-me/
อ้างอิง
https://www.nytimes.com/2020/03/02/science/wallabies-kangaroos-pregnant.html
https://www.pnas.org/content/early/2020/02/25/1922678117
https://www.honestdocs.co/identical-twins-and-dna
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Tammar_wallaby
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B9%89
https://australianmuseum.net.au/learn/animals/mammals/swamp-wallaby/
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Swamp_wallaby
3 บันทึก
76
28
22
3
76
28
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย