Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Fish Blogger Thailand
•
ติดตาม
3 มี.ค. 2020 เวลา 10:51 • ประวัติศาสตร์
สิงห์ญี่ปุ่นที่ดีเป็นยังไง?
โครงสร้างปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นที่เป็นที่ยอมรับ
จะกี่สิบปี คำถามนี้ก็ยังเป็นเรื่องยอดฮิตของใครหลายคนครับ
สำหรับแอดคิดว่าเรื่องนี้มันไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัว เพราะมาตรฐานปลาทองสายพันธุ์สิงห์ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามกาลเวลา สำคัญคือนิยามความสวยของแต่ละคนก็ต่างกัน ขนาดมาตรฐานปลาทองในงานประกวดปลาของกรมประมงยังต้องเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเลย ทีนี้จะรู้ได้ไงว่าสิงห์ญี่ปุ่นที่ดีต้องมีหน้าตายังไง
แอดขอสรุปแบบสั้นๆ แบบเน้นเข้าใจง่าย จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเห็นปลาทองชนิดนี้มาหลายปีบวกกับคำแนะนำของนักเพาะปลาเก่งๆจากหลายฟาร์มชั้นนำของประเทศ ซึ่งออกตัวก่อนนะครับว่าข้อมูลนี้เป็นเพียงหลักใหญ่ของสิงห์ญี่ปุ่นที่ดี ไม่ใช่มาตรฐานสากลอะไรขนาดนั้น พร้อมแล้วไปติดตามกันครับ
#ติดตามเพจของเรากด like #ลิ้งค์นี้นะครับ
https://m.facebook.com/Fish-Blogger-Thailand-105365860822974/?tsid=0.1991830036942357&source=result
#ฝากเพื่อนๆกดไลค์กดแชร์ให้เราด้วยนะครับ
#ความรู้จะถูกแบ่งปันได้จากการแชร์ของเพื่อนๆนี่ละครับ
1.โครงหน้าส่วนหัวที่ดีต้องมีวุ้นที่โตและแบ่งสัดส่วนสม่ำเสมอทั้งหัวและแก้มปลา วุ้นบริเวณแก้มทั้งสองข้างที่เรียกว่าเคี้ยวก็ควรมีขนาดเท่ากัน
2.โครงหลังปลาต้องโค้งสม่ำเสมอทั้งเส้น ไม่มีการหักหรือบุบคด
3.ช่วงท้องต้องโค้งรับไปจนสุดทวาร
4.ก้านหางต้องกางตั้งขึ้นทำมุม 45 องศา
5.ปลายก้านหางไม่ควรอยู่สูงกว่าช่วงโครงหลังของตัวปลา
6.ช่วงก้านหางต้องโค้งรับเท่ากับปลายสันหลังเป็นรูปตัว V
7.ช่วงกกหางของตัวปลาจะต้องสูงกว่าระดับช่วงตาของปลาเล็กน้อย
8.ครีบว่ายและครีบท้องควรมีสีสม่ำเสมอทั้งครีบ
9.กระดูกสันหลังต้องมีความหนาดูแข็งแรง
ยังมีอีกเรื่องนึงที่หลายคนสับสน คือสิงห์ญี่ปุ่น กับ สิงห์ลูกผสม ต่างกันยังไง? สมัยก่อนยังแยกง่ายนะครับ แต่ปัจจุบันสิงห์ลูกผสมวุ้นจะคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นเข้าไปทุกที ไว้แอดจะหาคำตอบมาให้ครับ
ขอบคุณภาพจาก
thegoldfishhouse.wordpress.com
3 บันทึก
2
3
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย