Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2020 เวลา 11:57 • ธุรกิจ
Special Topic : Advanced Investing 101 - ออกแบบกลยุทธ์การลงทุน
โดยพื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
#BD Together ฝ่าวิกฤตภัยโควิด
ไม่ว่าเราจะทำงานในสายงานใด
การออกแบบกลยุทธ์เพื่อให้เหมาะสมกับงาน
มีความสำคัญเสมอ
หากเรามองว่า เป้าหมายที่เราตั้งไว้ คือเส้นชัย
กลยุทธ์ ก็คือ เส้นทางสู่เส้นชัยนั่นเองครับ โดยเราวางแผนกำหนดเส้นทางที่เหมาะกับเราที่สุด
ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา พวกเราคงได้สัมผัส
ความแปรปรวนของสินทรัพย์ประเภทต่างๆที่โหมกระหน่ำกันเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน
และ... มันเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
วันนี้ หมูน้อยจะมาอธิบายถึงการวางกลยุทธ์ อย่างง่าย เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้ กับทั้งในด้านการลงทุน และในด้านการบริหารงานต่างๆ หายใจลึกๆแล้วตามผมมาเลยครับ
การออกแบบกลยุทธ์สำหรับใช้ในด้านการลงทุนที่ผมจะพูดถึงนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Major Strategic - กลยุทธ์หลัก/แผนหลัก
สำหรับการวางแผนการลงทุน
ในเบื้องต้น เราจะต้อง "ประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง" ซึ่งนั่นต้องใช้ข้อมูลในปริมาณมหาศาล
ทำความเข้าใจในข้อเท็จจริง และธรรมชาติของข้อมูลในชิ้นนั้นๆ เพื่อที่จะกำหนด แกนหลัก (Core) ของ Major Strategic ของเราออกมาให้ได้
หลังจากนั้น ก็ต้องประเมินต่อว่า สิ่งที่เชื่อมโยงอยู่กับ Core มันได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งในทางบวก และทางลบ
สิ่งที่ "สำคัญที่สุด" ของ กลยุทธ์หลัก คือ....
เมื่อเกิดปัจจัยที่ทำให้ Major Strategic Core ได้รับผลกระทบ หรือสถานการณ์เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ
เมื่อนั้นคือจุดที่เราวาง "Key exit strategic"
หรือ ทางหนีทีไล่ นั่นเองครับ
2. Minor Strategic - กลยุทธ์รอง/แผนย่อย
กลยุทธ์รอง คือ สิ่งที่เราวางเอาไว้เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ย่อยที่เกิดขึ้น โดยที่ Major Strategic Core ไม่เปลี่ยนเเปลง
Minor Strategic นี้ต่างคนต่างก็มีแผนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่า เราได้เตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆอย่างไร
ในทุกๆ Minor Strategic ก็จำเป็นที่จะต้องมี Trigger Point ที่จะพาเราออกมาจากแผนนั้นๆ เหมือนๆกันกับกลยุทธ์หลักครับ
*ถึงจุดนี้ หลายๆท่านคงจะเริ่มงงว่า
หมูน้อยกำลังพูดเรื่องอะไร ยิ่งพูดก็ยิ่งงง !!!!
ยกตัวอย่างสถานการณ์สมมตินะครับ....
ตัวอย่างการออกแบบกลยุทธ์การลงทุน ในสถานการณ์ปัจจุบัน
กำหนด Major Strategic และวางแกนหลักของกลยุทธ์นี้ไว้ที่.......
" COVID-19 "
เมื่อวางแกนหลักเสร็จแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการรวบรวมข้อมูลในปริมาณมาก อ่าน ทำความเข้าใจ ย่อยข้อมูลซ้ำๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องของไวรัสตัวนี้
เพื่อนำมาประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก
และ ในระหว่างที่เราอยู่ในสถานการณ์นี้
สามารถมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นได้บ้าง
และสิ่งสำคัญที่สุด คือ "Key exit" ที่จะทำให้
ผมออกจาก Major Strategic 1
ไปยัง Major Strategic 2
เมื่อกำหนด แผนหลักได้แล้ว เราก็มาเข้าสู่แผนย่อย ว่าในระหว่างที่ COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก.....เราจะจัดการการลงทุนอย่างไร
ในแผนย่อยที่ 1 นั้นจะมีตั้งแต่.....
1. การตรวจสอบสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีในตอนนี้
ว่ามีการกระจายไปยังสินทรัพย์ใดบ้าง
สถานการณ์ในแต่ละส่วนเป็นอย่างไร
มีทรัพย์สินใดของเรากระจายอยู่ในประเทศ/อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือไม่
2. การประเมินสถานการณ์ ในตอนนี้ว่าเป็นอย่างไร และมีโอกาสที่จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
ยกตัวอย่างเช่น การที่ FED ลดดอกเบี้ยนโยบายลงมา 50 basispoint
ไม่ได้ทำให้ Major Strategic Core : COVID - 19 ที่หมูน้อยวางไว้เกิดความเปลี่ยนแปลง
แต่มันแค่ไปลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลกเท่านั้น ดังนั้น สถานการณ์นี้จึงไม่ถือว่าเป็น Key exit ของแผนย่อยที่ 1
กลับกันเสียอีกครับ ผมมองว่า ข้อมูลที่ FED ใช้ ในการประเมินว่าต้องลดดอกเบี้ยนโยบาย
แบบฉุกเฉินลงมา 50 basispoint
นั่นต้องเป็นชุดข้อมูลที่ทำให้เราขนหัวลุกได้เลยทีเดียว
ทั้งๆที่อีกแค่ไม่กี่วันก็จะถึงรอบการประชุมตามปรกติของ FED
ทำไมถึงต้องใช้การเคลื่อนไหวที่รุนแรงเช่นนี้
3. เลือก คัดกรอง และกระจาย สินทรัพย์ไปยังตัวที่เราเลือกไว้
ระหว่างที่ทุกสินทรัพย์เกิดวามผันผวน
เราไม่ควรนั่งเศร้าอยู่เฉยๆ สิ่งสำคัญที่เราควรทำคือ "การค้นหาอย่างบ้าคลั่ง"
ว่า ตอนนี้/หลังจากนี้ สินทรัพย์กลุ่มใด
อยู่ในจุดที่จะทำให้เรา ได้เปรียบ/ปลอดภัย มากที่สุด
4. วาง Key exit ที่จะพาเราไปสู่ แผนย่อยที่ 2
หลักการคร่าวๆก็จะประมาณนี้ครับ
ซึ่งเมื่อเราออกแบบกลยุทธ์ของเราได้ดี
การทำงานแต่ละส่วนมันจะไม่ทำงานขัดกันเอง
ที่สำคัญคือ เมื่อถึงเวลา "เราจะไม่ต้องคิด"
เพราะถ้าเราต้องคิด "ในจังหวะฉุกเฉิน"
ผลที่ได้มันอาจจะออกมาไม่ค่อยดีครับ
สู้คิดวางแผนให้เรียบร้อยในขณะที่หัวเรากำลังโล่งๆ แล้วพอถึงหน้างานจริงๆ เราก็จะสามารถลงมือได้อย่างมั่นใจจะดีกว่า
นอกเหนือไปจากเรื่อง "คิด" แล้ว
เรายังสามารถ "ตัดอารมณ์และความรู้สึก"
ออกไปใน จังหวะที่ต้องลงมือได้ด้วย
คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมเราถึงต้องออกแบบกลยุทธ์ด้วย?
......ถึงเวลาก็ซื้อๆไปไม่ได้หรอ
ท่านยังจำช่วงที่ผ่านมาได้หรือไม่ครับ
ช่วงเวลาที่เราเจอตลาดหุ้นร่วงลงไป
กว่า 200 จุดในระยะเวลาไม่กี่วัน
ณ เวลานั้น เรากำลังนั่งตัวแข็งเพราะทำอะไรไม่ถูกรึเปล่า
จะขายก็ไม่กล้า จะซื้อก็กลัว
การมีกลยุทธ์ในการลงทุนไม่เพียงแต่มันจะทำให้เรามีทางออกในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น แต่มันยังทำให้เราสามารถสร้างโอกาสขึ้นมาได้ด้วย
ดังนั้น การออกแบบกลยุทธ์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
และที่สำคัญ
"มองวิกฤติให้เป็นวิกฤติ และ มองโอกาสให้เป็นโอกาส"
สินทรัพย์ทั่วโลกมันไม่ได้ขับเคลื่อนไปด้วย
ความกลัว และ ความโลภ เพียงแค่สองอย่างครับ
หมูน้อยขอขอบพระคุณท่านผู้ติดตามทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ ที่คอยให้กำลังใจ และ สนับสนุนมากระผมมาโดยตลอด
จนทำให้เพจหมูน้อยมียอดผู้ติดตาม 7000 คนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้เองครับ
ผมยังจำวันแรกที่ทำเพจได้ดีครับ
วันนั้น เริ่มต้นด้วยผู้ติดตาม 0 คน
ดังนั้น ผมจึงอยากให้กำลังใจทุกๆท่านที่เพิ่งเริ่ม หรือ ผลตอบรับยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
ตัวหมูน้อยเองก็ผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาเหมือนๆกันกับทุกท่านครับ
ผมจึงทราบว่า พวกเราเสียสละเวลา และ ใช้ความพยายามมากแค่ไหน ที่จะสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ออกมาให้ทุกคนได้อ่านกัน
ผมขอขอบพระคุณพวกท่านจากใจครับ
ที่ทำให้ผมมีแหล่งความรู้แหล่งใหม่
และสนุกไปกับเนื้อหาในหลายๆด้านที่ผมไม่ค่อยได้สัมผัส
หากใครอยากจะฝากเพจ หมูน้อยยินดีนะครับ
สามารถฝากเพจได้ที่ Comment ด้านล่างได้เลยครับ
รักเสมอ
หมูน้อย
*พยายามเร่ง ทำเพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้ในสถานการณ์ช่วงนี้ครับ
reference
https://www.business2community.com/strategy/6-steps-create-effective-business-strategy-01391113
http://www.km.moc.go.th/download/doc/KS2557/การบริหารความเสี่ยง_PWO.pdf
https://www.investopedia.com/terms/r/riskmanagement.asp
https://www.mindtools.com/pages/article/newTMC_07.htm
9 บันทึก
24
33
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
BASIC INVESTMENT 101
9
24
33
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย