6 มี.ค. 2020 เวลา 07:23 • การเมือง
ความสำเร็จของฟินแลนด์ในการต่อสู้กับ Fake News
- รัฐบาลฟินแลนด์ได้ประกาศสงครามกับ Fake News (ข่าวปลอม) ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ในการให้การศึกษาด้านข่าวสาร (Information Literacy) และพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)ในชั้นเรียน โดยบรรจุเป็นวิชาบังคับ (Core Course)ในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับตั้งแต่ระดับ Primary School ในปี 2016
- ยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานของหลักคิดที่ว่าประชาชนทุกคนมีส่วนในการปกป้องสังคม (Collective Defense of Society) และอยู่บนความเชื่อที่ว่าไม่มีใครที่เด็กเกินไปที่จะเริ่มคิดเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข่าวสาร
- ความสำเร็จในการต่อสู้กับ Fake News เริ่มจากในปี 2015 ที่ ปธน. Sauli Niinisto เชิญผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกามาให้คำแนะนำในเรื่องการจำแนกข่าวว่าข่าวไหนเป็น fake news, การทำความเข้าใจว่า fake news แพร่กระจายอย่างรวดเร็วได้อย่างไร และการพัฒนากลยุทธ์ในการต่อสู้กับ fake news นอกจากนี้ยังได้ปฏิรูประบบการศึกษาของประเทศด้วยการให้ความสำคัญกับการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) อีกด้วย
- ในยุค Post-Truth หรือยุคที่ความจริงไม่มีความสำคัญเท่ากับความเชื่อ การทำความเข้าใจถึงประเภทของ Information เป็นพื้นฐานสำคัญประการแรก (Misinformation = missed, Disinformation = lies และ Malinformation = gossip)
- ในชั้นเรียน นักเรียนจะถูกสอนให้ตั้งคำถามต่อไปนี้ : who produced this information? and why? Where was it published? What does it really say? Who is it aimed at? What is it based on? Is there evidence for it, or is this just someone's opinion? Is it verifiable elsewhere?
- นักเรียนยังถูกสอนให้ทำ "factcheck" ตามกฏง่ายๆ คือ 1. ไม่ตรวจสอบกับ Wikipedia และ 2. ตรวจสอบข่าวสารกับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อีกอย่างน้อย 3-4 แหล่ง ทั้งนี้ แบบฝึกหัดจะใช้จากสื่อจริง เช่น วีดีโอใน YouTube เพื่อค้นหา deepfake ตลอดจนโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์
- แนวคิดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งตามแนวยุทธศาสตร์ของฟินแลนด์ คือ มุมมองของรัฐบาลฟินแลนด์ที่ว่า "We aim to give people their own tools. It is about trying to vaccinate agaist problems, rather than telling people what is right and wrong. That can easilty lead to polarization." มุมมองดังกล่าวเป็นมุมมองที่ยั่งยืน และไม่สร้างความแตกแยกในสังคม
- ผลของยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว ทำให้ฟินแลนด์ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ที่มีมาตรการในการรับมือกับปรากฏการณ์ post-truth ในปี 2018 และเป็นประเทศที่ติดอันดับ 1 ใน 4 ในด้านความสุขของคนในประเทศ, อิสระของสื่อ, ความเท่าเทียมทางเพศ, ความยุติธรรมในสังคม, ความโปร่งใส, และด้านการศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม
โฆษณา