6 มี.ค. 2020 เวลา 13:16 • สุขภาพ
กระดูก โครงสร้างค้ำจุนสุดสำคัญของร่างกาย!!! (Part 1/2)
หน้าที่ของกระดูก
1. เป็นส่วนค้ำจุนโครงสร้างให้กับร่างกาย
2. เป็นจุดยึดเกาะของพวกเอ็นและกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย เพื่อในการ ขยับร่างกาย
3. ป้องกันอวัยวะสำคัญต่างๆ ภายในร่างกาย
4. เป็นแหล่งสะสมของแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม
5. ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด
กระดูกมีการสร้างและสลาย แคลเซียม อยู่ตลอดทุกวัน ซึ่งในแต่ละช่วงอายุก็จะมีอัตราการสร้างและอัตราการสลาย ดังนี้
ช่วงเด็กและวัยรุ่นจะมีอัตราการสร้างมากกว่าการสลาย จึงทำให้เรามีมวลกระดูกที่หนาแน่นขึ้นอย่างรวดเร็ว
ช่วงผู้ใหญ่จะมีอัตราการสร้างและสลายที่เท่าๆกัน จึงทำให้เรามีมวลกระดูกที่หนาแน่นอย่างคงที่
ช่วงผู้สูงอายุจะมีอัตราการสลายมากกว่าการสร้าง จึงทำให้เรามีมวลกระดูกที่หนาแน่นลดลงอย่างรวดเร็ว
กระดูกจะมีการสร้างที่ดีไปจนถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นร่างกายจะ สูญเสียมวลกระดูกไปเรื่อยๆ ในทุกๆปี (อัตราการสลาย มากกว่า การสร้าง) โดยผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว จะสูญเสียมวลกระดูกได้เร็วกว่าผู้หญิงที่ ยังมีประจำเดือนอยู่ หากร่างกายเรามีการสลายมากกว่าสร้างไปเรื่อยๆ ก็จะ เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้
นิยามของ "ภาวะกระดูกพรุน" คือ ภาวะที่กระดูกมีเนื้อกระดูกที่ลดลง ส่งผล ให้กระดูกโปร่งบาง ไม่แข็งแรง สามารถแตก/หัก ได้ง่าย เมื่อเกิดการล้มหรือกระแทกแรงๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคที่มีผลต่อการเสียชีวิตที่สูงมากโดยโรคกระดูกพรุนเป็นเหมือนภัยเงียบ เนื่องจากเราจะไม่มีทางทราบก่อนเลยว่าเรา เป็นโรคกระดูกพรุนหากเราไม่ไปตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพราะไม่มีอาการแสดงใดๆ ทำให้เราทราบได้เลยว่าเรามีมวลกระดูกที่ลดลงหรือไม่
กระดูกมีการซ่อมแซมตัวเองอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการที่ชื่อว่า Bone remodeling โดยจะมี 2 เซลล์ ทำหน้าที่หลักๆ คือ
1. เซลล์ Osteoblast ทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อกระดูก โดยการสะสม แคลเซียมเข้าสู่เนื้อกระดูกของเราให้มากขึ้น กระดูกของเราก็จะหนาแน่นขึ้น
2. เซลล์ Osteoclast ทำหน้าที่ในการสลายเนื้อกระดูก โดยการสลาย แคลเซียมออกจากเนื้อกระดูก กระดูกของเราก็จะบางลง
ซึ่งในร่างกายคนเรานั้น จะมีฮอร์โมนที่มีผลต่อมวลกระดูกอยู่ 3 ตัว ได้แก่
1. ฮอร์โมน “Calcitonin (แคลซิโตนิน)” เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อม ไทรอยด์ เมื่อร่างกายมีระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินไป ซึ่งฮอร์โมน แคลซิโตนินก็มีหน้าที่กระตุ้นการนำแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและยับยั้งการดูด กลับของแคลเซียมที่ไต ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง
2. ฮอร์โมน “Parathyroid (พาราไทรอยด์)” เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อม พาราไทรอย์ เมื่อร่างกายมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำเกินไป ซึ่งฮอร์โมน พาราไทยรอยด์ก็มีหน้าที่กระตุ้นการสลายแคลเซียมจากกระดูก, เพิ่มการดูดกลับของแคลเซียมที่ไต และเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมที่ลำไส้ ทำให้ ระดับแคลเซียมในเลือดเพิ่ม
3. ฮอร์โมนเพศ “Estrogen (เอสโตรเจน)” เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากรังไข่ ของเพศหญิง ซึ่งมีหน้าที่ยับยั้งการสลายของเนื้อกระดูกและกระตุ้นการสร้างเนื้อกระดูก โดยหากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จะทำให้ Osteoclast เพิ่มจำนวนมากขึ้นและมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้ร่างกายจะมีการสลาย กระดูกมากกว่าการสร้าง กระดูกของเราความหนาแน่นก็จะลดลง
เหตุผลว่าทำไมร่างกายจึงต้องมีการสลายแคลเซียมออกจากเนื้อกระดูก
โดยทั่วไปแคลเซียมที่อยู่ในร่างกายเรา 99% จะอยู่ในมวลกระดูกและฟัน บทบาทหลักๆก็เพื่อทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ส่วนอีก 1% อยู่ในเลือด และเนื้อเยื่อต่างๆ บทบาทหลักๆ เกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อโดย เฉพาะกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจ, การทำงานของระบบประสาท และการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นในการรักษาสมดุลแคลเซียมในเลือดและ เนื้อเยื่อต่างๆ ถ้าร่างกายเราได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะสลายแคลเซียมจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด
ปัจจัยที่มีผลต่อ “สมดุลแคลเซียมในกระแสเลือด”
1. รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เกลือ ผงชูรส เครื่องปรุงรส น้ำปลา และซีอิ๊ว (พวกอาหารเค็ม)
2. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป (ประมาณ 3 แก้ว/วัน) เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม กาแฟ และน้ำชา
3. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4. สูบบุหรี่
ก็ขอจบโพสนี้แต่เพียงเท่านี้นะครับ
ฝากติดตาม Part 2/2 ในหัวข้อ "สารอาหารหลักในการดูแลกระดูก" ว่าสาร อาหารตัวใดบ้างที่สามารถทำให้กระดูกของเราแข็งแรงและห่างไกลภาวะ โรคกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจกันนะครับ🙏🙏🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา