Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มุมมอง...ชาวบ้าน🌱🌱
•
ติดตาม
9 มี.ค. 2020 เวลา 00:08 • สุขภาพ
เปิดความลับ!! กระดาษทิชชูที่คุณใช้ สะอาดจริงหรือ??‼️
พี่ๆน้องๆเอ๋ย
กระดาษชำระ (Toilet paper)
ที่เห็นเป็นม้วนๆ
ไม่ควรนำไปเช็ดหน้าเช็ดตา
ไม่ควรนำไปห่ออาหาร
ไม่ควรใช้รองอาหารหรือใช้ซับน้ำมัน
เพราะในกระบวนการผลิต
มีการใช้สารจำพวกสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟ) และ
สารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
และยังคงอยู่ในเนื้อกระดาษ
เรื่องใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม
2
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตประจำวันต้องพบเจอกับเจ้ากระดาษชำระ หรือ “กระดาษทิชชู” หลากสีสัน อย่างสีขาว สีชมพู สีน้ำตาล ในหลายขนาด หนาบ้าง บางบ้าง ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่แค่เห็นว่าเป็นกระดาษทิชชูก็ใช้มันเช็ด ใช้มันสัมผัสไปตามร่างกาย ใบหน้า ปาก ตามภาชนะ ช้อน ส้อม หรือซับไปบนอาหารเลยก็มี ซึ่งจริง ๆ แล้วกระดาษทิชชูที่เห็นมีหลากชนิด หลายคุณสมบัติ รวมถึงวัสดุที่ใช้ทำกระดาษทิชชูแต่ละชนิดก็แตกต่างกัน บางอย่างไม่สามารถใช้แทนกันได้ และวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกระดาษทิชชูกับสิ่งที่คุณอาจมองข้ามไป
กระดาษทิชชูทำมาจากอะไร?
กระดาษทิชชูมีทั้งที่ทำจากเยื่อบริสุทธิ์ 100% (เยื่อกระดาษจากต้นไม้)ไปจนถึงกระดาษทิชชูที่ใช้เยื่อเวียนใหม่ 100% โดยกระดาษทิชชูเยื่อเวียนใหม่ก็คือ กระดาษที่ใช้แล้ว (เปื้อนหมึกพิมพ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร) ทิชชูที่ได้จากเยื่อเวียนใหม่จึงมีสีขาวขุ่น รวมถึงมีความขรุขระ ไม่ค่อยเรียบร่วมด้วย เป็นกระดาษทิชชูที่มีคุณภาพต่ำ ราคาถูก บางแห่งจึงต้องใส่สีสันลงไป เช่น สีชมพู หรือสีน้ำตาล เพื่อปกปิด ให้ผู้ใช้งานมองข้ามไป
จริง ๆ แล้วทิชชูที่ใช้มีอันตรายไหม?
คงมีคนไม่น้อยที่เคยตั้งคำถามนี้ว่าเจ้าทิชชูที่ใช้ตกลงมันสะอาด หรือสกปรกกันแน่ ยิ่งเป็นกระดาษที่ได้จากเยื่อเวียนใหม่ยิ่งน่าคิด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้มันจริง ๆ จะดีหรือ?
สารคดี วิศวกรรมน่าทึ่ง สารคดีเพื่อการเรียนรู้ Documentary ได้จัดทำสารคดีการผลิตกระดาษชำระขึ้นซึ่งได้ไปถ่ายทำในบริษัท Green Forest ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตกระดาษทิชชูแบบรีไซเคิล 100% จึงทำให้ได้รู้ว่าแท้จริงแล้วขั้นตอนการทำกระดาษทิชชูไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่าย ๆ ต้องนำกระดาษมาผ่านเครื่องย่อยกระดาษ และบดกระดาษชนิดต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างละเอียดจนออกมาเป็นเยื่อกระดาษ ไหลผ่านตัวกรองหลายสิบตัวผ่านเครื่องร่อน และตัวทำความสะอาดเพื่อเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกไป อีกทั้งยังต้องผ่านความร้อนถึง 200 องศาเซลเซียส เพื่อดูดหมึก (“ดี-อิงก์”) ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเท่ากับการสเตอริไรซ์ฆ่าเชื้อโรคนั่นเอง
ด้าน ดร.ภูวดี ตู้จินดา นักวิทยาศาสตร์กลุ่มเยื่อและกระดาษ โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้พูดถึงขั้นตอนการทำกระดาษทิชชูว่า “เริ่มจากนำเยื่อกระดาษจากต้นไม้หรือกระดาษที่ใช้แล้วมาบดเข้าด้วยกัน และผ่านการฟอกเยื่อ (การกำจัดสารลิกนิน) เพื่อให้เยื่อกระดาษมีความขาว ที่จะนำไปใช้ผลิตกระดาษทิชชู ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นทิชชูเกรดไหน ก็ใช้วัตถุดิบเดียวกันนี้ สำหรับทิชชูรีไซเคิล ก็มีวัตถุดิบเป็นกระดาษที่เคยใช้แล้ว เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษพิมพ์เขียน นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมและนำเยื่อกระดาษเวียนไปใช้ใหม่ กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับโรงงานว่า ทำอย่างละเอียดและมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน”
อย่างไรก็ตามไม่สามารถให้คำตอบได้แน่ชัดว่าทิชชูที่เราใช้มันจะสะอาด ปลอดภัยหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องจักร ขึ้นอยู่กับโรงงานนั้น ๆ ว่าจะมีคุณภาพ น่าเชื่อถือในการผลิตแค่ไหน อย่างไร แต่การที่ได้ผ่านความร้อนถึง 200 องศาเซลเซียส ก็อาจทำให้เชื้อโรค สารเคมีต่างๆ สูญสลายไปบ้างไม่มากก็น้อย
กระดาษทิชชูมีกี่แบบกันนะ?
กระดาษทิชชูที่เราเห็นกันอยู่แท้จริงแล้วมันมีด้วยกันถึง 4 แบบ ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งเราจะพาไปรู้จักกันนะคะ
1. กระดาษชำระ (Bathroom tissue) เป็นกระดาษทิชชูแบบม้วนที่เราเห็นกันเป็นประจำวันซึ่งอยู่ในห้องน้ำนั่นเอง โดยจะออกแบบไว้สำหรับใช้ในห้องน้ำ แต่เรามักจะเห็นปรากฏอยู่ในกล่องพลาสติกกลมบนโต๊ะอาหารตามภัตตาคารทั่วไปในบ้านเราเพราะมีราคาถูก
คุณสมบัติ : ต้องมีความอ่อนนุ่มพอสมควร บาง และย่อยสลายน้ำได้ดี
2
เครดิตภาพ:จากอินเตอร์เน็ต
2. กระดาษเช็ดหน้า (Facial tissue) มีลักษณะเป็นแผ่น บรรจุในกล่องกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สำหรับเช็ดหน้า เช็ดเครื่องสำอาง
คุณสมบัติ : ต้องมีความนุ่มนวล เรียบเนียน ปราศจากฝุ่นละออง และต้องเหนียวพอที่จะไม่ยุ่ยง่ายเมื่อเปียกน้ำ
เครดิตภาพ:จากอินเตอร์เน็ต
3. กระดาษเช็ดปาก (Napkin) พบบ่อยตามร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โดยทั่วไป
คุณสมบัติ : ต้องเหนียว ไม่ยุ่ยน้ำ และซึมซับได้ดี ไม่เน้นที่ความนุ่มนวลเหมือนกระดาษเช็ดหน้า
4.โดยทิชชูอีกตัวหนึ่งที่ควรจะกล่าวถึง แม้จะยังไม่มีการใช้มากนัก คือ กระดาษอเนกประสงค์ (Kitchen towel) โดยทั่วไปผลิตออกมาในรูปแบบม้วน แต่มีความกว้างของแผ่นประมาณ 9 - 10 นิ้ว และเนื้อกระดาษมีความเหนียวเพื่อใช้ทำความสะอาด และใช้งานทั่วไป ใช้เช็ดสิ่งสกปรกในครัว ส่วนกระดาษซับน้ำมันจากการทอดอาหารนั้นเป็นกระดาษอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่กระดาษทิชชู
ผ้ากระดาษเป็นผ้าที่ใช้แล้วทิ้งซึ่งทำจากกระดาษ สำหรับใช้ในห้องครัว การใช้งานภายในบ้านมักขายในแบบแผ่นพรุน
1
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ควรเลือกใช้กระดาษทิชชูให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ตามการใช้งาน และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ควรใช้ทิชชูแค่ภายนอกร่างกายเท่านั้น โดยเฉพาะเด็ก ๆ ไม่ควรนำเข้าปาก หรือกลืนลงคอไป เพราะอาจได้รับสารเคมี เช่น สารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ก็เป็นได้
ที่มา :
makemai.blogspot.com
,
thaieditorial.com
,
sharelnw.com
, FB : ดร. ภูวดี ตู้จินดา, Youtube Channal : Dale Lyles (สารคดีวิศวกรรมน่าทึ่ง ตอนที่ 9)
รูปภาพ :
anoceanview.com
,
toiletpapertissue.com
,
limpen.com
,
spi0n.com
,
glamour.com
https://www.js100.com/en/site/post_share/infilter/75
ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ กด Like กด Share
เป็นกำลังใจให้ 🌱🌱มุมมอง...ชาวบ้าน 🌱🌱
ด้วยนะคร่า❤️
ขอบคุณมากๆ ค่ะ🙏
4 บันทึก
49
57
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องเล่าจากข่าว
4
49
57
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย