Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PASSIO
•
ติดตาม
7 มี.ค. 2020 เวลา 14:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
🌤SOLAR CELLที่รัก ep.3
ตื่นขึ้นมาพร้อมสูดอากาศยามเช้าแล้วลุกไปตลาดกับคุณพ่อแอด นานแล้วเนอะที่ไม่ได้กลับบ้าน ไม่ได้ใช้เวลาร่วมกับพ่อและพี่สาว ไม่ได้นั่งดูทีวีเฉยๆ หรือนั่งเล่นเกมอยู่บ้าน😊
ที่มา: Faifasolar (ม.ป.ป.)
อีกประมาณ 3 เดือนข้างหน้าแอดก็จะจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี รู้สึกหวิวๆข้างในแปลกๆเพราะแอดกำลังจะเริ่มสร้างชีวิตด้วยกำลังของตนเอง
แต่นั่นจะเกิดขึ้นได้ถ้าProjectแอดผ่านนะคะ 55😅
วันนี้มาต่อกันในเรื่องประเภทของแผงโซล่าเซลล์
แอดขอดึงข้อมูลจากเล่มโครงงานพิเศษของแอดมาใช้บางส่วนนะคะเพราะมี Referece ครบถ้วนในเนื้อหา และแอดเป็นผู้เขียนและเรียบเรียงด้วยตนเอง ภาษาจะใช้เป็นภาษาวิชาการหน่อยน้าาคะ🙏เพราะเป็นการเขียนรายงานเชิงวิชาการแต่จะมีสรุปแนบท้ายนะคะ😉
🌤ชื่อเรียกในภาษาต่างประเทศ🌤
เซลล์แสงอาทิตย์มีชื่อเรียกในภาษาต่างประเภทที่แตกต่างกัน ในงานวิจัยของ Khaenson และคณะ (2017) ใช้ชื่อเรียกว่า Solar cell, งานวิจัยของ Faircloth (2019) และMartinopoulos (2020) ใช้ชื่อเรียกว่า Photovoltaic หรือ PV, งานวิจัยของ Ramadhan, M. and Naseeb (2011) ใช้ชื่อเรียกว่า Photovoltaic solar system, งานวิจัยของ Mangiante และคณะ (2020) ใช้ชื่อเรียกว่า Rooftop solar photovoltaic, งานวิจัยของ Mateus, Silva และAlmeida (2019) ใช้ชื่อเรียกว่า Solar system และงานวิจัยของ Eskewและคณะ (2018) ใช้ชื่อเรียกว่า Rooftop solar
🌈จะพบว่าจริงๆแล้วชื่อในการเรียกเจ้าแผงโซล่าเซลล์นั้นสามารถเรียกได้หลากหลายชื่อมากและยังมีหลายประเภทด้วยนะคะ ตามแอดมาค่ะ🌈
🌤ประเภทของแผงโซล่าเซลล์🌤
เซลล์แสงอาทิตย์ในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นและสามารถแบ่งออกได้หลายประเภททั้งนี้พบว่าเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในเรื่องขององค์ประกอบของวัสดุผลิตแผงโซล่าเซลล์โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (2560) จำแนกประเภทได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึก (Crystalline Silicon Solar Cells) เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง(Thin Film) และเซลล์แสงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้นใหม่
🌈ซึ่งภายในโครงงานพิเศษของแอดใช้การวิเคราะห์แผงโซล่าเซลล์ชนิดผลึก (Crystalline Silicon Solar Cells)
และเจ้าโซล่าเซลล์ประเภทนี้ยังสามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันนะคะ ได้แก่ ชนิดผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (Mono-Si) และชนิดผลึกซิลิคอนเชิงผสม (Multi-Si หรือ Poly-Si)
โครงงานพิเศษของแอดทำการวิเคราะห์ชนิดผลึกซิลิคอนเชิงผสม มีหน้าตาเป็นแบบแผงโซล่าเซลล์แผงที่ 2 ในรูปด้านล่างนี้เลยค่ะ🌈
ที่มา: Solar2Power (ม.ป.ป.)
พอแอดได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ทำให้ต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะที่ผ่านมาแอดคิดว่าก็คงเหมือนๆกัน แต่ความจริงไม่ใช่เลยค่ะ555
เพราะว่าเมื่อเป็นแผงโซล่าเซลล์คนละประเภทคนละชนิดกัน ผลที่ตามมาคือวัตถุดิบในการผลิตแผงโซล่าเซลล์ต่างกัน ส่งผลให้กำลังในการผลิตไฟฟ้าเมกกะวัตต์(MWp)ไม่เท่ากัน และมีวิธีในการกำจัดแผงโซล่าเซลล์แตกต่างกันด้วยนะคะ
วันนี้คิดว่าเขียนไว้เพียงเท่านี้ก่อนค่ะ แล้วจะมาต่อใน ep. ถัดๆไปนะคะ
รักจาก PASSIO
To be continuous...
บันทึก
6
2
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
🌤SOLAR CELLที่รัก
6
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย