8 มี.ค. 2020 เวลา 16:24 • การศึกษา
จดโน้ตแบบนี้สมองชอบจัง#8
เทคนิคการจดโน้ตเพื่อถ่ายทอด
เทคนิคแรก "หัวเรื่อง"
การนำโน้ตของเราถ่ายทอดให้ผู้อื่นอ่านต่อ หัวเรื่อง เป็นสิ่งสำคัญครับ
หลักการเหมือนพาดหัวข่าว หัวเรื่อง ที่ดีจะต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความอยากรู้เนื้อหาข้างใน
การใส่ หัวเรื่อง แบบง่ายๆ คือ
O วันเดือนปี / ชื่อบริษัทที่ประชุมและเนื้อหา / ผู้เข้าร่วมประชุม
- 8 มีนาคม 2563 / บริษัท ABC วัคซีน COVID19 / หัวหน้าฝ่าย xx หัวหน้าแผนก xx
การเห็นหัวเรื่องนี้ทำให้ท่านๆ พอจะทราบเนื้อหาและผู้เกี่ยวข้องแล้ว แต่หากต้องการให้มีความรู้สึกร่วมมากขึ้น สามารถใส่คำพูดจริงๆ ลงไปได้ครับ
- 8 มีนาคม 2563 / บริษัท ABC วัคซีน COVID19 / หัวหน้าฝ่าย xx หัวหน้าแผนก xx / ต้องขายวัคซีนให้ได้เป็นรายแรก!!!
เทคนิคที่สอง "แผนภูมิ"
แผนภูมิทำให้เข้าใจข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ปัจจุบันนิยมทำกันให้มีรูปแบบสวยงามครับ เรียกว่า Infographic จะเห็นได้ตาม Social network
ซึ่งมีลักษณะพื้นฐานก็มาจากแผนภูมิทั่วๆ ไป เช่น แผนภูมิแท่งแนวนอน/แนวตั้ง แผนภูมิวงกลม
เทคนิคที่สาม "จดโน้ตเพื่อนำเสนอ"
ในการนำเสนองานต่างๆ ทุกท่านคงเคยเห็นว่า Slide ของผู้นำเสนอจะไม่มีเนื้อหามากนักเป็นเพียวหัวข้อสั้นๆ เท่านั้น
การโน้ตใน Slide ข้างต้นทำให้ผู้นำเสนอจำเนื้อหาที่จะพูดได้แทบทั้งหมดน่ะครับ และเราสามารถดึงดูดความสนใจของผู้รับการนำเสนอได้ด้วย เทคนิค ต่อไปนี้ครับ
O ใช้คำว่า "ทำไม"
"ทำไม COVID19 จึงเริ่มต้นที่ประเทศจีน"
O "ตัวเลข" ดึงดูดความสนใจ
"10 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติด COVID19"
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมประชุมได้ และทำให้ผู้นำเสนอนึกเนื้อหาได้ง่ายครับ
ติดตามเรื่องราวสำหรับการจดโน้ตกันต่อได้ในโพสหน้าน่ะครับ
สำหรับโพสนี้ลาไปก่อนครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา