Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นายช่างมาแชร์
•
ติดตาม
10 มี.ค. 2020 เวลา 00:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Pump Principle 1: ประวัติ และชนิดของปั้มแต่ละแบบ
สวัสดีครับ วันนี้ Blog: นายช่างมาแชร์ ขอมาเล่าเรื่องของปั้มสำหรับงานอุตสาห์กรรมกันนะครับ โดยปั้มในงานอุตสาห์กรรมถือว่าเป็นเครื่องจักรที่มีความสำคัญมากๆครับ ซึ่งหน้าที่หลักๆของปั้มคือส่งของเหลวจากจุดๆนึง หรือเพิ่มความดันให้กับระบบครับ
ดังนั้นผู้ที่ทำงานไม่ว่าจะเป็น ผู้ปฏิบัติการ, ช่าง หรือวิศวกรในโรงงานอุตสาห์กรรม จะต้องได้มีโอาส และทำงานกับปั้มแน่นอนครับ
ประวัติของปั้ม (Pump history)
ก่อนอื่นขอเล่าเรื่องของประวัติของปั้มกันก่อนนะครับ โดยขอย้อนยุคไปสมัยยุคอียิปต์ (ราวๆ 2000 ปีก่อนคริสตศักราช) ปั้มตัวแรกถูกประดิษฐ์ไว้สำหรับใช้ตักน้ำจากแหล่งน้ำไปใช้ในงานเกษตรกรรม และอุปโภคบริโภค
โดยจะถูกเรียกว่า “ชาดูฟ” ( Shadoof) เป็นลักษณะเหมือนคานถ่วงน้ำหนัก ฝั่งนึงไว้ติดถังตักน้ำสำหรับตักน้ำ และอีกฝั่งไว้ใส่น้ำหนักถ่วงเพื่อยกน้ำมาจากแหล่งน้ำ
“ชาดูฟ” ( Shadoof) ปั้มแบบแรกของโลก
youtube.com
The Shaduf (1940-1949)
British Instructional Films Ltd presents a Classroom Film. Men at work using a Shaduf (or Shadoof) to lift water from the river up a slope. Water is poured f...
ในยุคต่อมา เป็นยุครุ่งเรืองของกรีก-โรมัน (ประมาณ 100 ปีก่อนคริสตศักราช ) ปั้มได้ถูกพัฒนาเป็นแบบสกูรปั้ม (Screw pump) และโดยนักปราญช์ชาวกรีกนามว่า อาร์คิมิดีส และปั้มที่เค้าพัฒนาจะถูกเรียกว่า “อาร์คิมิดิสปั้ม”ลักษณะเป็นทรงกระบอก และมีเกลียวอยู่ด้านใน โดยการใช้งานเกลียวจะถูกหมุนด้วยแรงคนครับ โดยปั้มอาร์คิมิดีสของสามารถสูบน้ำ รวมถึงข้าวและเมล็ดธัญพืชต่างๆได้ ทำให้ทำงานรวดเร็วกว่าเดิมมาก
สกูรปั้ม (Screw pump) แบบโบราณ
อาร์คิมิดิส นักปราญช์ชาวกรีก ผู้คิดค้นต้นแบบสกรูปั้ม
ก้าวข้ามมายุคอุตสาห์กรรม หรือยุค 3.0 ยุคศตวรรษที่ 15 วิศวกรชาวเยอร์มัน เพพเพนไฮม์ (Pappenheim) ได้ประดิษฐ์ Rotary gear pump ไว้สำหรับใช้ในระบบน้ำมันหล่อลื่น (และยังใช้มาจนทุกวันนี้ครับ)
และเป็นต้นแบบของ Positive displacement pump ทุกประเภทครับ
ต่อมายุคศตวรรษที่ 17 โดยปั้มที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ Centrifugal pump หรือปั้มหอยโข่ง คิดค้นโดยวิศวกรและนักประดิษฐ ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า เดนนิส ปาปิน (Denis Papin)
โดยใบพัดปั้มเป็นลักษณะใบตรง และถูกขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยสามารถสร้างแรงดัน และอัตราการไหลได้มาก
และนี้ถือว่าเป็นต้นแบบของปั้มหลายๆปั้มเช่น Axial flow pump, submersible pump, magnetic drive pump เป็นต้น และถือเป็นปั้มต้นแบบจนถึงทุกวันนี้ครับ
ชนิดของปั้ม (Type of Pumps)
ชนิดของปั้มแต่ละแบบ
ถ้าแบ่งตามลักษณะการทำงาน จะแบ่งปั้มเป็น 2 แบบใหญ่ๆคือ
1.Dynamic pump
ใช้หลักการแรงเหวี่ยงหนีศูนย์จากใบพัดไปหาของเหลว โดยลักษณะการทำงานคือ ความสัมพันธ์ของ Flow-Head จะแปรผกผันกัน โดยยิ่ง Head สูง Flow จะต่ำ แต่หาก Head ต่ำๆ Flow จะสูง โดย Dynamic pump แบ่งออกเป็นหลักๆคือ
เป็นปั้มหอยโข่ง หรือ Centrifufal pump ที่นิยมที่สุดและราคาค่อนข้างไม่แพง และ Reliability ค่อนข้างสูงสำหรับในงานอุตสาห์กรรม
โดยหลักการทำงานคือ ของเหลวจะวิ่งเข้ามาตามท่อขาดูด (Suction line) และวิ่งตรงไปที่ Suction eye และถูกเหวี่ยงออกไปด้วยใบพัดออกไปทางท่อขาออก โดยของไหลจะถูกเพิ่มพลังงานจลน์และกลายเป็นความดัน (Pressure) และอัตราการไหลที่เพิ่มขึ้น (flow)
youtube.com
Centrifugal Pumps
Visit https://goo.gl/oRSdyR to view the full video and purchase access to our other Industrial Maintenance courses. Pumps are used to move liquids from one p...
2.Positive displacement pump
โดยลักษณะการทำงานจะไม่เหมือน centrifugal pump เลย ใช้หลักการอัด และบีบตัวของเหลวไปเรื่อยๆ โดย Flow จะคงที่ตลอด
(ด้วยหลักการนี้มักจำไปใช้เป็น dosing pump , lube oil pump เป็นต้น)
เมื่อ flow คงที่ แต่ Pressure จะขึ้นเรื่อยๆตามการอัดแต่ละครั้ง หากมีใครไปปิดวาล์วขาออก ปั้มจะทำ pressure สูงขึ้นเรื่อยๆ จน PSV เปิด
หรือไม่ก็มีชิ้นส่วนเสียหายครับ
โดยหากได้ flow เพิ่มเราต้องเพิ่มรอบของปั้มเอาครับ โดยปรับจากชุดปรับ stoke ของ pump ยกตัวอย่างเช่น Diaphragm pump, Gear pump และ Screw pump
youtube.com
Function of a Plunger Pump - URACA 3D Pumpen-Animation
Funktionsweise einer Hochdruck Plungerpumpe Einblicke in die Mechanik und Hydraulik einer Verdrängerpumpe
วีดีโอแสดงการทำงานของ Positive displacement pump
มาตราฐานของปั้ม
ในอุตสาห์กรรมที่หลากหลาย ก็จะมีมาตราฐานต่างๆของปั้มที่หลากหลายเช่น
ISO – International Standards Organizations
API – American Petroleum Institute
ANSI – American National Standards Institute
DIN – Deutsches Institut für Normung
NPFA – National Fire Protection Agency
BSi – British Standards institute
ซึ่งการออกแบบ หรือการดูแลอำนวยการใช้งานก็จะแตกต่างๆกัน ห้ามข้าม standard เด็ดขาดนะครับ ยกตัวอย่างเช่น Fire pump ที่ใช้ standard NFPA ก็จะมีการดูแล และออกแบบที่เข้มงวดกว่าปกติมาก หากนำปั้มน้ำธรรมดาที่เป็นมาตราฐาน ANSI ไปใช้แล้ว ก็จะไม่ถูกต้อง แถมผิดกฏหมายอีกครับ
แล้วติดตามตอนต่อไปของ Pump principle และสาระดีๆต่อที่ Blog: นายช่างมาแชร์กันนะครับ หรือ Facebook: นายช่างมาแชร์
#นายช่างมาแชร์
2 บันทึก
4
1
2
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย