9 มี.ค. 2020 เวลา 23:30 • ธุรกิจ
ต้นทุนทางการเงินถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก คืออะไร และมีสูตรในการคำนวณอย่างไร ?
ต้นทุนทางการเงินถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Cost of Capital: WACC) เป็นต้นทุนของบริษัท ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของต้นทุนของหนี้ Kd (Cost of Debt) คือต้นทุนในการกู้ยืมของบริษัท ซึ่งถ้ามีค่ามากหมายความว่าบริษัท มีต้นทุนของหนี้สินระยะยาวมาก และต้นทุนของทุน Ke (Cost of Equity) ซึ่งสามารถคำนวณได้หลายวิธีเช่น Gordon Growth Model หรือ CAPM
WACC สามารถคำนวณได้ดังนี้
WACC = Ke * E / (D+E) + Kd * (1-T) * D / (D+E)
Ke = ต้นทุนของทุน หรืออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการ (Re)
Kd = ต้นทุนของหนี้ หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัท
T = อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
E = ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือเงินลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น
D = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย
ต้นทุนของทุน Ke หรืออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการ คํานวณได้จาก Capital Asset Pricing Model (CAPM) ดังนี้
Ke = Rf + β(Rm - Rf)
Risk Free Rate (Rf) = อ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปีซึ่งเป็นระยะเวลาเหมาะสมเพื่อ
สะท้อนถึงความเสี่ยงในระยะยาว (www.thaibma.or.th)
Beta = เป็นค่าสัมประสิทธิ์ที่เปรียบเทียบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นตัววัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเทียบกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี
Market Risk (Rm) = อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯถัวเฉลี่ยรายเดือนย้อนหลัง 30 ปี
D/E Ratio = อัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
1
T = อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งปกติในปะรเทศไทยใช้กันที่ ร้อยละ 20 ต่อปี
ซึ่งเราสามารถใช้ WACC เป็นตัววัดความได้เปรียบของบริษัท ซึ่ง WACC ต่ำหมายถึงบริษัทมีต้นทุนในการทำธุรกิจที่ต่ำ และบริษัทมี WACC สูงต้นทุนในการทำธุรกิจก็สูงตาม และเราสามารใช้ WACC เป็น Discount rate ในการประเมินมูลค่ากิจการ หรือมูลค่าหุ้นได้
โฆษณา