10 มี.ค. 2020 เวลา 15:17 • ธุรกิจ
"Tsukiji Wonderland (2016) ภาพยนตร์สารคดีที่คนทำธุรกิจต้องดู"
ได้มีโอกาสไปดูเรื่อง Tsuiji Wonderland มาหลายปีแล้ว ได้หยิบ Documentary movie นี้มาดูอีกครั้ง ก็ยังคงชอบและได้ข้อคิดดีๆ อีกครั้งที่ดู เลยอยากแนะนำให้หามาดูโดยเฉพาะคนที่ทำงานสร้างธุรกิจ สร้างผลิตภัณฑ์หรือการนำเสนอคุณค่าให้ลูกค้าครับ
ข้อคิดจากตลาดแห่งนี้อาจจะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เหมือนโบราณและเก่าแก่ในแบบภาพธุรกิจเก่าๆ แต่สิ่งที่ล้ำสมัยเสมอ คือวิธีคิด และวิธีปฏิบัติของธุรกิจที่นี่ ตัวอย่าง 5 ข้อคิดที่ผมอยากสรุปให้ฟังจาก documentary นี้ดังนี้ครับ
1. "ทุกสิ่งเริ่มจากใจที่รัก" (Passion for something and very focus to do it with best)
“ใจที่รักแบบขั้นหลงใหล ย่อมสร้างมาตรฐานในระดับที่ประนีประนอมไม่ได้ เพื่อ Customer experience ที่ดีที่สุด ดังพ่อค้าปลาที่อยู่ในตลาด”
2. การเพิ่มคุณค่าของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Value) คือ เป็นสิ่งที่ทุกหน้าทีในวงจรธุรกิจต้องตระหนัก (ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของคนที่ดูแล เช่น marketing or UX เป็นต้น)
คนในวงจรของธุรกิจนี้ตั้งแต่ชาวประมง > ผู้ค้าส่ง > พ่อค้าคนกลาง > พ่อครัว ทุกคนไม่มีใครสักแค่ส่งต่อสินค้าหรือทำตนเองเป็นแค่ Messenger
“แต่ทุกคนเพิ่ม Value ในระดับสูงสุด และที่สำคัญเคารพต่ออาชีพตัวเองมากๆ จะมีคนสักกี่คน หรือธุรกิจเท่าไรในโลกที่ซื่อสัตย์กับลูกค้า บอกว่าปลานี้อย่าเอาเลยจับมาสองวันแล้วถ้าจะให้เด็กกินไม่ดีหรอกบ้าง บอกแม้กระทั่งวิธีการจับปลามาด้วยอะไร ทะเลไหน…”
ทุกคนมีมาตรฐานสูงสุดก่อนส่งต่อสายโซ่คุณค่านี้ ทำให้สุดท้ายลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
3. ทำธุรกิจแบบ Data-Driven Business ไม่ใช่ทำแบบใช้สัญชาตญาณ หรือตัดสินว่าใครเป็นผู้รู้บอกมา
1
Data สำหรับการทำธุรกิจ ที่เราพูดถึงกันยุคนี้ที่ Tsukiji มีมานานแสนนานแล้ว และมากกว่า Data พ่อค้าทุกคน คือการเอา data เกี่ยวกับปลาที่ตัวเองรู้จัก มาวิเคราะห์ และให้ข้อมูลกับลูกค้า ขนาดในหนัง เชฟฝรั่งเศสบางคนยังบอกเลยว่ากลับมาซื้อเพราะเชื่อใจพ่อค้าคนกลางมากๆ เพราะรู้จริง
1
“ดังนั้น ธุรกิจเราไม่ใช่มัวแต่หา data แต่เพิ่มมูลค่า Data อย่างไร? นำ Data ไปสู่ข้อมูลให้ลูกค้ามีทางเลือกและได้ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร? และที่สำคัญทำให้เกิด Trust ในใจลูกค้าจนกลับมาซื้อซ้ำแล้วซ้ำอีกนับสิบๆ ปีทำได้อย่างไร คือ กุญแจสำคัญ”
1
ในหนังนี้ฉายภาพ Data-Driven Business ที่มีอยู่จริงและมีมานานนับทศวรรษแล้ว โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีเหนือชั้นอะไรเลย
1
4. Community ของผู้ค้าคือเรื่องสำคัญ
แม้ทุกคนในเรื่องพ่อค้าในทางธุรกิจ อาจจะมีการบลัฟกันในตอนประมูลสินค้า แต่ก็ทำเพื่อให้ลูกค้าตัวเองได้ของที่ดีที่สุด เป็น End in mind และที่สำคัญชุมชนเหนียวแน่น มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าด้วยกันอย่างดีในยามปกติอาจเป็นคู่แข่ง แต่ในยามที่มีธุรกิจนึงในชุมชนมีปัญหา เช่น ขาดของ ก็มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ชุมชนอยู่กันอย่างเหนียวแน่นด้วยหลักพื้นฐานของการทำงานให้ดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าพอใจ
“ภาพของ Compete and Collaborate ใน Community เด่นชัดมากที่ Tsukiji ซึ่งทำให้ตลาดพัฒนาและเป็นศูนย์กลางด้วยความเข้มแข็งของชุมชน”
5.การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด (อย่าหยุดเรียนรู้ในทุกวัน)
Tsukiji ไม่ใช้เพียงแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ (เงินหมุนเวียน 3,000 ล้านเยนต่อวัน คนเข้ามาที่นี่พ่อค้ากว่า 60,000 คนต่อวัน) Tsukiji สอนให้ลูกค้ารู้จักเรียนรู้วัฒนธรรมการกินปลา หรือที่เรียกว่ารู้จักว่าสินค้าที่ดีเป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าวัฏนธรรมญี่ปุ่นในยุค 10–20 ปีหลังคนรุ่นใหม่เริ่มพึ่งอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น พอโตมาเป็นพ่อแม่คนก็ส่งต่อความคิดนั้นไปที่เด็กอีก แต่ Tsukiji ยังรักษาวัฏนธรรมการกิน พ่อค้าทุกคนตระหนักเสมอถึงการให้ข้อคิด เกร็ดของอาหาร ผ่านการซื้อขายเสมอ (ลองดูในหนังได้ครับ)
“การ Educate ลูกค้าไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ส่งต่อความรู้ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง”
ลองไปดูกันครับ เป็นภาพยนตร์ที่ดี ที่ให้แง่คิดดีมาก ดูจบเหมือนผ่านวิชานึงในการเรียนมหาวิทยาลัยแบบ Intensive course ได้เลย :)
โฆษณา