11 มี.ค. 2020 เวลา 05:03 • ประวัติศาสตร์
ใครอีกคนที่ไม่ใช่...ชาร์ลส์ ดาร์วิน แต่อยากให้รู้จัก..เขาคืออัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ(Alfred Russel Wallace)
เครดิตภาพ:www.New Scientist
อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ นักธรรมชาติวิทยาผู้รักการสำรวจและการผจญภัยผู้นี้ ...แม้ว่าผลงานของท่านจะไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกและได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับ....ชาร์ลส์ ดาร์วิน
แต่ท่านก็เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมคิดทฤษฎีวิวัฒนาการเช่นเดียวกับ ชาร์ลส์ ดาร์วินและมีชีวิตที่น่าสนใจ และน่าทำความรู้จักไม่น้อย
....นักธรรมชาติวิทยาท่านนี้ เป็นผู้รักการสำรวจ การสังเกตและชอบเก็บสะสมตัวอย่างสัตว์ต่างๆมากมาย ประวัติท่านก็ไม่ธรรมดาเลย เพราะเคยได้รับการยกย่องว่าเป็น " ผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายจากยุควิกตอเรีย " และยังได้รับอีกสมญาว่า เป็น " บิดาแห่งวิชาชีวภูมิศาสตร์ " จากการที่เมื่อ 166 ปีก่อนท่านออกเดินทาง เสี่ยงภัยเพื่อไปศึกษาและสำรวจยังดินแดนที่ถือว่าลึกลับและป่าเถื่อนที่สุดของโลกในขณะนั้น ซึ่งก็คือหมู่เกาะมาเลย์
ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1858 ชาร์ลส์ ดาร์วินได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง ที่ถูกส่งมาจากแถบหมู่เกาะมาเลย์ ภายในจดหมายมีรายงาน ชื่อว่า On the Tendency of Varieties to depart indefinitely from the original Type หรือแนวโน้วของสรรพชีวิตในการเปลี่ยนแปลงจากต้นแบบดั้งเดิม
......รายงานดังกล่าวเป็นการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างยาวนานของ วอลเลซ ซึ่ง ชาร์ลส์ ดาร์วิน เองก็รู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างมาก เพราะเรื่องนี้เขาเองก็ได้คิดในทำนองเดียวกันมายาวนานกว่า 20 ปีแต่มีความละเอียดและก้าวหน้ากว่า โดยยังไม่เคยได้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน
2
เดือนกรกฎาคม ในปี ค.ศ.1858 งานเขียนของวอลเลซไดรับการ เสนอต่อ สมาคม The Linnean Society of London พร้อมกับบทความที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ซึ่งเอกสารของทั้ง 2 ท่าน ต่อมารับการตีพิมพ์ลงใน Linnean society journal ในปีนั้นเอง โดยบทความของดาร์วินถูกจัดลำดับให้อยู่ก่อนบทความของ วอลเลซ ทำให้ผู้คนให้ความสนใจต่อบทความของดาร์วินมากกว่าของวอลเลซ
3
ในเวลาต่อมาดาร์วินได้รีบปรับแต่งทฤษฎีของเขาอย่างกระตือรือร้น และรีบตีพิมพ์หนังสือ On the Origin of species หรือกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รับความชื่นชมจากวอลเลซเป็นอย่างมาก
ทั้งดาร์วินและวอลเลซเองนั้นมีมิตรภาพที่ดีต่อกันมากๆ เพราะดาร์วินเองก็ให้เกียรติผลงานของนักธรรมวิทยารุ่นน้องคนนี้เป็นอย่างดี และตัวท่านวอลเลซก็นับถือชื่นชม กล่าวถึงดาร์วิน ด้วยความเคารพตลอดชีวิตของท่าน ไม่ได้ถือว่าเป็นคู่แข่งกันแต่อย่างใดเลย
อยากรู้มั้ยคะว่า ชีวิตความเป็นมาของท่านวอลเลซเป็นยังไง.....
ประวัติในวัยเด็กวัยของ ท่านอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ไม่ได้เกิดในตระกูลที่รำ่รวย มีบิดาคอยสนับสนุนการเดินทางเหมือน ชาร์ลส์ ดาร์วิน แต่ท่านเกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน จึงต้องออกจากโรงเรียนด้วยวัยแค่ 14 ปี เพื่อหางานทำ แต่ท่านเป็นคนที่ขยันศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยห้องสมุดประจำเมืองและสมาคมต่างๆ ต่อมาท่านมีความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติ ทำให้ชอบสังเกตและเรียนรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ต่างๆและการจำแนกวงศ์พืช โดยศึกษาจากตำราราคาถูกๆที่พอจะหาได้
ท่านเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รังวัดและต่อมาได้มีโอกาศเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่เมืองเลสเตอร์ ช่วงที่เป็นครูจึงมีเวลารวบรวมหนังสือหลายสาขาวิชาที่อยากอ่าน
และได้มีโอกาศได้อ่านหนังสือ ของ Alexander Von Humboldt ชื่อ Personal Narrative of travel ....ซึ่งเป็นหนังสือบอกเล่าเรื่องการเดินทางส่วนตัวของฮัมโบลดท์ และหนังสือเรื่องความเรียงว่าด้วยเรื่องหลักการประชากร(An essay on the princess of population) ของ Thomas Malthus ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มนี้ ล้วนช่วยจุดประกายแนวคิดต่อวอลเลซ(และต่อดาร์วินด้วยเช่นกัน)
(ซ้าย) 1ในหนังสือดีที่จุดประกายให้วอลเลซและทั้งดาร์วิน อยากออกสำรวจสิ่งมีชีวิตไปยังดินแดนต่างๆ/(ขวา)-รูปของผู้แต่งหนังสือ Alexander Von Humboldt นักวิทยาศาตร์และนักเดินทาง ชาวเยอรมัน(cr:wikipedia)
นอกจากนั้นยังมีหนังสืออีก 2 เล่มที่ทำให้วอลเลซค้นพบความชอบในตัวเอง คือหนังสือที่ชื่อ บันทึกการเดินทางของเรือบีเกิล(The voyage of H.M.S.Beagle)เขียนโดยชาร์ลส์ ดาร์วินและหนังร่องรอยการสรรสร้างทางธรรมชาติวิทยา(Vestiges The Natural History Creation ) โดยหนังสือทั้งสองเล่มนี้ได้นำเสนอมุมมองด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยตั้งสมมุติฐานว่าด้วยกฏแห่งการพัฒนาในสิ่งมีชีวิต
หนังสือ The voyage of H.M.S. Beagle ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน(cr:wikipedia)
หนังสือทั้งสองเล่มนี้ เป็นแรงผลักดันให้วอลเลซ ออกเดินทางไปยังป่าอเมซอน เพื่อสำรวจธรรมชาติ เก็บตัวอย่างพืชและสัตว์ โดยบันทึกและสเก็ตซ์ภาพสิ่งต่างๆที่พบเจอ
โชคร้ายที่ระหว่างเดินทางกลับ เรือของวอลเลซเกิดเหตุไฟไหม้และอับปางลง แต่วอลเลซหนีรอดมาได้ โดยอาศัยเรือชูชีพ และเป็นที่น่าเสียดาย ที่ของสะสมที่ได้จากป่าอเมซอนที่นำติดตัวมาด้วย เช่น แมลงหลายพันตัว ตัวอย่างนกอีกหลายร้อยตัว จมหายไปในน้ำหมด
หลังจากกลับจากป่าอเมซอนได้ไม่นาน วอลเลซได้วางแผนที่จะออกเดินทาง ไปยังกลุ่มหมู่เกาะมาเลย์(Malay Archipelago คือหมู่เกาะมลายู ซึ่งอยู่ระหว่างเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย) โดยออกเดินไปในช่วงที่ปี ค.ศ 1854-ค.ศ 1862
ในช่วงเวลา 8 ปี ที่หมู่เกาะมาเลย์วอลเลซได้ตั้งใจเก็บตัวอย่างเป็นอย่างมาก โดยเก็บชนิดพันธุ์ต่างๆ อย่างละ 6 ชนิด จากการศึกษาตัวอย่างที่เก็บมานั้น วอลเลซได้สังเกตและแยกแยะ จากลักษณะภายนอกของตัวอย่างที่รวบรวมมาพบว่า มีความแตกต่างในแต่ละชนิดอย่างเห็นได้ชัดและพบความแตกต่างทางพันธุ์กรรมในกลุ่มตัวอย่างชนิดพันธุ์เดียวกันนี้
รูปภาพแสดงถึงหมู่เกาะมาเลย์(ประกอบไปด้วย หมู่เกาะใน Malaysia,Singapore,IndonesiaและNew Guinea)cr:www.asiapacific.aua.eda.au
Beetles collected in the Malay Archipelago by Alfred Russel wallace(cr:www. flick.com)
These Pittas are specimens collected by Alfred Russel Wallace ,were found to the western islets like Borneo & Sumata(cr: www.Science Focus)
ซึ่งหมายถึงความได้เปรียบหรือความเสียเปรียบทางสรีระวิทยา ความเข้าใจเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการ จากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นั่นคือความแตกต่างเฉพาะตัว สะท้อนให้เห็นความผันแปรในแต่ละชนิดพันธุ์ ซึ่งช่วยให้กระบวนการคัดเลือกดำเนินไปได้
นอกจากนี้วอลเลซยังศึกษา รูปแบบการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดทั้งในแง่ของพื้นที่และช่วงเวลา พบว่าสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จะปรากฏให้เห็นในบริเวณที่เฉพาะเท่านั้น และเมื่อผนวกแนวคิดนี้เข้ากับงานเขียนว่าด้วยธรณีวิทยาและหลักฐานฟอสซิลจำนวน 3 เล่มของ Charles Lyell ที่เสนอว่าสิ่งมีชีวิตจะสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นตามห้วงเวลาทำให้ วอลเลซ สร้างกฏแห่งการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต(Alfred Russel wallace Law)นั่นคือสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงกันจะปรากฏอยู่ใกล้กัน ทั้งในมิติเชิงภูมิศาสตร์และเชิงธรณีกาลเพราะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
วอลเลซส่งรายงานอีกชิ้นหนึ่ง ชื่อสัตวภูมิศาสตร์แห่งกลุ่มเกาะมาเลย์ ไปที่ลอนดอนเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมลินเนียน ในรายงานอธิบายถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับการแพร่กระจายของสัตว์ เพื่อชี้ให้เห็นถึง เขตชีวภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 เขต ได้แก่เขตเอเชีย และออสเตรเลีย โดยลากเส้นผ่านช่องแคบระหว่างเกาะเบอร์เนียวและเกาะเซเลบีสไล่ลงมาทางใต้ระหว่างเกาะบาหลี(Bali)กับลอมบอก (Lombok) แม้ว่าทั้งสองเขตนี้ จะมีสภาพอากาศและสภาพถิ่นอาศัยคล้ายคลึงกัน แต่กลับมีชนิดพันธุ์ของสัตว์ที่แตกต้างกันอย่างสิ้นเชิง เส้นที่ลากแบ่งเขตตะวันออกและตะวันตกนี้ เป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า "The Wallace Line " หรือเส้นวอลเลซ
รูปภาพแสดงเส้น wallace's Line(cr:www.reddit.com)
ช่วงที่วอลเลซยังมีชีวิตอยู่ เขาเป็นที่รู้จักในฐานะเพื่อนร่วมงานที่เป็นรุ่นน้องของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน และจากคุณูปการด้านๆอื่นของเขาที่มีต่อวงการวิทยาศาสตร์และแนวคิดทางสังคม หลังจากเสียชีวิตในปี ค.ศ.1913 (อายุ 90 ปี) ชื่อของเขาก็ถูกลืมเลือนไป แต่ในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ชื่อเสียงของเขาก็ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้ภาพของเขาแขวนอยู่คู่กับภาพของดาร์วิน ในห้องประชุมของสมาคมลินเนียส ซึ่งเป็นสมาคมวิทยาศาสตร์เดียวกันกับที่ได้ฟังการค้นพบร่วมกันกับของดาร์วินและวอลเลซ
(Cr:www.seasia.co)
ต่อๆมางานเขียนของเขา ในหัวข้อต่างๆได้รับการตีพิมพ์ใหม่ และปรากฏอยู่บนสื่อต่างๆและได้รับการยกย่องว่าเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่สำคัญ ของการศึกษาด้านวิวัฒนาการ
หนังสือผลงานต่างๆของ Alfred Russel Wallace(cr:www.google.com)
The Darwin-Wallace Medal(by The Linnean sociey on the 50th anniversary of the Darwin&Wallace's paper on natural selection(cr:wikiwand.com)
😊ขอขอบพระคุณที่ติดตามอ่านค่ะ🙏🏼🙏🏼
หากชอบความรู้และสาระดีๆ ❤️❤️ฝากกด like & share และ ติดตามด้วยนะค🙏🏼🙏🏼🙏🏼
Dent-jasmine เรียบเรียง
โฆษณา