12 มี.ค. 2020 เวลา 13:16 • ประวัติศาสตร์
“ปลอมพระองค์ลงเปรียบมวย”
‘สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ’ กษัตริย์ผู้พระราชทานปรัชญาแห่งมวยไทย
‘เจาะเวลาหาอดีต’พาท่านผู้อ่านขึ้นสังเวียนไปชม ‘พระเจ้าแผ่นดิน’ ขึ้นเปรียบมวยไทย
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
(สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อปีขาล พ.ศ.2205 สวรรคต พ.ศ. 2251 เป็นพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีความสามารถเกี่ยวกับมวยไทย ความเสียสละ และความกตัญญูรู้คุณ
ได้ทรงฝึกหัดมวยไทยภายในพระราชสำนักและได้เสด็จพระราชดำเนินทรงฝึกมวยไทยตามสำนักมวยต่างๆ อีกหลายสำนัก เช่น
ครูตั้ง ตาแดง แม้พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ยังโปรดทอดพระเนตรการชกมวยไทยและทรงฝึกซ้อมมวยไทยอยู่ประจำมิได้ขาด
ข้อความปรากฏในจดหมายเหตุของ
‘เทเลอร์ แรนดัล’ ว่า
“สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือทรงมีฝีมือการชกมวยไทยทรงเคยใช้ศิลปะมวยไทยชกเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ซึ่งเป็นชาวกรีกที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดปรานมากโดยวิธีการเตะต่อยแล้วลงเข่า จนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้รับบาดเจ็บบอบช้ำเป็นอันมาก”
ภาพจากละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส
สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือทรงมุ่งมั่นกระทำการทุกอย่างเพื่อต่อต้านการล่าอาณานิคมของชาวต่างชาติ ซึ่งเข้ามามีบทบาททั้งทางการทูตและทางการทหาร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้แต่การทำร้ายเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ด้วยมวยไทยก็ทรงกระทำด้วยความรักชาติรักแผ่นดิน ไม่ต้องการเห็นสยามประเทศสูญเสียเอกราช ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติใด
1
บันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุด้วยว่า ระหว่าง
ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระประชวรใกล้เสด็จสวรรคต มีข่าวว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติคิดการกบฏ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือทรงดำรงพระยศ
’ขุนหลวงสรศักดิ์’ ได้ใช้ **ทนายเลือก**
ที่มีความสนิทสนมล่อลวงให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เข้ามาในพระราชวังโดยบอกว่าพระเจ้าแผ่นดินรับสั่ง
ภาพจากละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส
ขุนหลวงสรศักดิ์ ได้ใช้ ’ทนายเลือก’ ที่มีความสนิทสนมล่อลวงให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เข้ามาในพระราชวังโดยบอกว่าพระเจ้าแผ่นดินรับสั่งแล้วให้ทนายเลือกคอยอยู่สองข้างทางเมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั่งเสลี่ยงคานหามเข้ามาทนายเลือกจึงจัดการด้วยไม้พลองแล้วลงมือฆ่า
1
**ทนายเลือก**
บางครั้งก็เรียกตำรวจหลวงทนายตำรวจ ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในพระราชวัง มีการตั้งเป็นกรมทนายเลือก โดยจะคัดเอาจากผู้มีฝีมือมวยไทยอย่างดีเยี่ยม แข็งแรง ล่ำสัน ทรหด อดทน มีไหวพริบ สติปัญญาดีแล้ว จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
เมื่อจุลศักราช 1065 ปีมะมีย จัตวาศก ตรงกับ พ.ศ.2245 บันทึกไว้ตอนหนึ่ง เกี่ยวกับการปลอมตัวทรงเสด็จพระราชดำเนินเปรียบมวยนอกวังกับชาวบ้าน
ภาพจากละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส
สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือโปรดการชกมวยมากถึงขั้นครั้งหนึ่งทรงปลอมพระองค์ออกไปชกมวยกับชาวบ้าน โดยตั้งแต่ขึ้นครองราชย์มาช้านาน ก็มิได้เล่นมวย เลยรู้สึกมือก็หนักเหนื่อยเลื่อยล้ำซ้ำอ่อนแรง พระองค์ท่านจึงสั่งแก่บรรดาข้าหลวง พรุ่งนี้จะเสด็จออกไปเล่นสนุกชกมวยลองฝีมือให้สบายใจสักหน่อย
1
เมื่อรุ่งขึ้นจึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมข้าหลวง
ปลอมพระองค์ปะปนไปกับชาวบ้านมากมายที่กำลังเที่ยวดูงานนั้น ขณะนั้นพอเจ้างานให้เปรียบมวย จึงมีพระราชดำรัสใช้ข้าหลวงไปบอกแก่ผู้เป็นนายสนามว่าบัดนี้ มีมวยในกรุงมาคนหนึ่งอยากจะเข้ามาเปรียบหาคู่ชกมวยในสนาม
นายสนามได้ยินดังนั้นก็ดีใจ จึงให้พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปลอมพระองค์เข้ามาเปรียบมวยดู โดยนายสนามก็จัดหาคนมวยมีฝีมือจะมาให้เปรียบด้วย
ภาพเก่าการเปรียบมวย
นายสนามให้นักมวยแต่งตัวและเข้าสนามทั้งสองฝ่ายโดยให้ชกกันในกลางสนาม
พระเจ้าแผ่นดินและคนมวยผู้นั้นก็เข้าชกซึ่งกันและกัน ฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดี ผลัดกันรุกรับพอแลกลำกันได้ มิได้เพลี่ยงพล้ำแก่กัน ส่วนทางด้านพละกำลังนั้นก็พอสมน้ำสมเนื้อกันอยู่
คนทั้งหลายที่ชมการเปรียบมวย ต่างสรรเสริญฝีมือทั้งสองฝ่าย คนทั้งหลายต่างไม่รู้ว่ากำลังชมพระเจ้าแผ่นดินลงสังเวียนกับนักมวยชาวบ้าน
เมื่อสู้กันไปได้ประมาณครึ่งยก ฝ่ายนักมวยชาวบ้านก็หย่อนกำลังลงจึงเสียท่าเพลี่ยงพล้ำถูกพระเจ้าแผ่นดินชกเข้าที่สำคัญเจ็บป่วยถึงสาหัสจึงแพ้ในยกนั้น นายสนามก็ตกรางวัลแก่ผู้ชนะนั้นบาทหนึ่ง ให้ผู้แพ้สองสลึง
เหล่าข้าหลวงรับเอาเงินรางวัล พระเจ้าแผ่นดินจึงดำรัสให้ข้าหลวงไปบอกแก่นายสนามให้จัดหาคู่มาเปรียบอีก และนายสนามก็จัดหาคู่มาได้อีก แล้วก็ให้ชกกัน
ภาพเก่า:กีฬามวย
นักมวยคนต่อมาก็ทานฝีมือสู้มิได้ จึงแพ้ไปในอีกครึ่งยก คนทั้งหลายที่กำลังชมอยู่ต่างชื่นชมในฝีมือของนักมวยกรุงผู้นี้เป็นการใหญ่
1
ในการปลอมพระองค์ไปชกคราวนั้น สมเด็จ
พระพุทธเจ้าเสือทรงชกกับนักมวยเอกถึง 3 คน มีนายกลางหมัดตาย นายใหญ่หมัดเหล็ก และนายเล็กหมัดหนักแต่ละคนมีฝีมือดีเยี่ยม การต่อสู้เป็นไปอย่างน่าดูด้วยฝีมือเก่งพอๆ กัน แต่ด้วยความฉลาดและความชำนาญในศิลปะมวยไทยจึงทำให้พระองค์ทรงสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทั้งสามคนได้ โดยที่คู่ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำถูกที่สำคัญ และเจ็บป่วยถึงขั้นสาหัส
สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงนำศิลปศาสตร์มวยไทยออกจากสนามรบเข้าสู่ลานการละเล่นและแข่งซัน เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการมวยไทยที่มีการจัดการแข่งขันอยู่แล้วในสมัยนั้น ให้ได้รับการยอมรับในเชิงกีฬาอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น
ภาพจากวิกิพีเดีย
ปรัชญาของสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือที่ให้ผู้ฝึกมวยไทยมีความอดทนอคกลั้นต่อสิ่งกระทบกระเทือนทั้งทางกายและทางใจ ตั้งสติให้มั่นคงอยู่เสมอ และสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความอกทนได้นั้นคือกำลังกายและใจนั่นเอง
เมื่อกำลังกายและใจเข้มแข็งก็ย่อมมีสติคอยระงับและบังคับให้อดทนต่อสิ่งที่จะมากระทบกระเทือน เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ไม่ว่าดีหรือร้าย พึงตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหวและให้มีปฏิภาณไหวพริบในการป้องกันตัวโดยให้นึกรู้ขึ้นมาทันทีทันใด
1
ให้รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือนว่าเมื่อมีเหตุเช่นนั้นๆ จะต้องปฏิบัติอย่างไร ซึ่งไหวพริบนั้นเป็นสิ่งที่บังเกิดมีขึ้นในนิสัย
การฝึกมวยไทยจะต้องหมั่นฝึกหมั่นซ้อมและ
จดจำลูกไม้ แม่ไม้ ให้มากเท่าที่จะมากได้ เพื่อเป็นบ่อเกิดของปฏิภาณไหวพริบในเวลาต่อสู้ โดยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือพระราชทานเคล็ดลับมวยที่สำคัญว่า
ภาพจากละครเรื่อง บุพเพ
"จงรวดเร็วกว่าฝ่ายตรงข้าม อย่าให้ฝ่ายตรงข้ามเร็วกว่าเราเป็นอันขาด"
เพราะฉะนั้นนักมวยที่ดีต้องฝึกความรวดเร็ว
ด้วย ในเวลาต่อสู้นั้นต้องมีความฉับไวแบบสายฟ้าแลบ การเคลื่อนไหวของร่างกายทุกอิริยาบท ต้องรวดเร็วกว่าคู่ต่อสู้เสมอ
1
จึงสามารถเป็นผู้พิชิตได้โดยราบคาบตาม
ตำรามวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ นับเป็นมรดกตกทอดให้ชนรุ่นลูกหลานได้ศึกษาและฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักมวยที่ดีต่อไป
สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือยังทรงกำหนดท่าแม่ไม้มวยไทยและกลมวยไทยไว้ในตำรามวยไทยตำรับพระเจ้าเสือสืบทอดเป็นมรดกภูมิปัญญาของชาติตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน
❤️กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจ❤️
ขอบคุณนะครับ🙏🙏❤️❤️
เครดิตภาพ: ละครบุพเพสันนิวาส
อ้างอิง:
- จดหมายเหตุเทเลอร์ แรนคัล
- พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา