12 มี.ค. 2020 เวลา 16:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธ์ุใหม่ใต้ท้องทะเลลึก 😔
แต่ที่น่าเศร้าคือนักวิทยาศาสตร์ยังพบเศษเส้นใย "ไมโครพลาสติก" ในตัวมันด้วย
ที่เห็นเป็นเส้นนี่คือเส้นใยไมโครพลาสติกที่เข้าไปอยู่ในตัวของสัตว์ทะเลตัวนี้
โดยเจ้าสัตว์ทะเลสายพันธ์ุใหม่นี้ถูกค้นพบอยู่ใต้ทะเลลึกในบริเวณที่เรียกว่าร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench) ซึ่งเป็นร่องลึกยาวกว่า 2,500 กิโลเมตรทอดตัวยาวอยู่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค
บริเวณที่เรียกว่าร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา
ซึ่งเจ้าร่องสมุทรมาเรียนานี้มีความลึกมากสุดถึง 11,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลยทีเดียว
เกิดจากแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิคมุดตัวลงจากความหนาแน่นที่สูงกว่าเมื่อชนกับแผ่นมาเรียนา
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้ค้นพบสัตว์ทะเลสายพันธ์ุใหม่นี้ที่ความลึกประมาณ 6,000 เมตรในร่องสมุทรมาเรียนา โดยเจ้าสัตว์ทะเลหน้าใหม่ตัวนี้จัดอยู่ในประเภทหมัดทะเล หรือ amphipod
และนักวิทยาศาสตร์ยังส่องพบเศษเส้นใยไมโครพลาสติกประเภท PET หรือ polyethylene terephthalate ที่มักใช้ทำขวดน้ำและภาชนะใส่อาหารนั่นเอง
หมัดทะเล หรือ amphipod
ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อเจ้าหมัดทะเลสายพันธ์ุใหม่นี้ว่า "Eurythenes plasticus" เสียเลย
เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักว่ามลพิษที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์นั้นได้เข้าไปปนเปื้อนอยู่ในทุกชีวิตบนโลกแล้ว แม้แต่สิ่งมีชีวิตที่เราไม่เคยรู้จักก็ตาม 😔
1
"คือนี่เราเพิ่งค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ แต่มันก็ถูกปนเปื้อนด้วยมลพิษจากน้ำมือนุษย์เสียแล้ว นั่นทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้ทำความรู้จักพวกมันอย่างที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติไปเสียแล้ว"
Alan Jamieson นิเวศน์วิทยาใต้ทะเลหัวหน้าทีมวิจัยกล่าว
ขนาดที่ว่าอยู่ลึกกว่า 6 กิโลเมตรลงไปใต้ทะเล ขยะไมโครพลาสติกก็ยังตามไปปนเปื้อนสัตว์ทะเลเหล่านี้ได้
ปัจจุบันมีงานวิจัยว่าขยะไมโครพลาสติกนั้นได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งผืนดินผืนน้ำหรือแม้แต่บนยอดเขาสูงชั้น และวันนี้แม้แต่ใต้ทะเลลึกสุดดิ่ง ไมโครพลาสติกก็ได้แพร่กระจายไปถึงแล้ว
ก็เป็นที่เริ่องน่าเศร้านะครับ ค้นพบชีวิตสายพันธ์ุใหม่แต่เราก็ทำมันปนเปื้อนมลพิษไปซะแล้ว 😔
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา