14 มี.ค. 2020 เวลา 02:50 • ปรัชญา
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
ที่จริงควรถูกเรียกว่าตำรา
หลีกเลี่ยงการทำสงคราม
บทต้นของตำรา เน้นให้เห็นชัดว่า
สงครามเป็นความเป็นตายของประเทศ
การไม่พิจารณาให้ดีอาจทำให้สิ้นชาติ
แม้จำเป็นต้องทำสงคราม
ยังมีปัจจัยต้องพิจารณา
ทั้งฟ้า ดิน มนุษย์ สภาพแวดล้อม
แม้เหตุปัจจัยล้วนพร้อมข้างฝ่ายเรา
ก็ยังมิสามารถออกรบจนกว่า
แม่ทัพนายกองแลพลทหาร
มีความกระตือรือล้นอยากออกรบ
ต้องปั้นเติมเสริมแต่งเหตุการณ์
จนกว่าทหารรักบ้านเมือง กลัวสูญเสีย
ครอบครัวอันเป็นที่รัก สิ่งศักดิ์สิทธิ์
อันเป็นที่นับถือ ล้วนต่างอาสา
ไปพลีชีพด้วยความเต็มใจ
กระนั้นการเข้าสู่สงคราม
ยังไม่เน้นการโจมตีซึ่งหน้า
แม่ทัพผู้เชี่ยวชาญเกรียงไกร
สยบทั่วทิศจะไม่เป็นที่รู้จัก
เหตุที่ไม่เป็นที่รู้จัก เพราะ
ได้วางแผนเจรจาให้ข้าศึก
ศิโรราบตั้งแต่ชั้นการฑูต
แม้จำเป็นต้องทำสงคราม
ยังจักต้องรู้จักใช้จารชน
เพื่อให้รูัชัดถึงปัจจัยฝั่งข้าศึก
ดั่งคำพูด "รู้เขา รู้เรา
รบร้อยก็ชนะร้อย"
การศึกคือการเอาชนะโดยง่าย
การมีชัยชนะเป็นเรื่องของศัตรู
เรามิอาจกำหนดได้
แต่การจะไม่แพ้
เป็นสิ่งที่กำหนดโดยเรา
ให้หลังสองพันปี
รูปแบบการทำสงครามเปลี่ยนไปแล้ว
ความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีอาวุธ
ทำให้ประเทศใหญ่ก่อสงคราม
กับประเทศเล็กโดยง่าย
บังคับเอาค่าปฏิกรรมสงคราม
มาชดเชยได้
มาสมัยปัจจุบัน ก็เปลี่ยนรูปแบบไปอีก
ไม่จำเป็นต้องยึดประเทศฆ่าคนอีกต่อไป
เพียงแค่ยึดครองเศรษฐกิจฆ่าน้ำใจคน
อาศัยข่าวสารข้อมูลกึ่งจริงกึ่งเท็จ
ให้ใต้ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ปั่นป่วน
บ้านเล็กเมืองน้อยก็โกลาหล
ชัยชนะก็ไม่แตกต่างจากอดีต
ตำราของซุนวู
กลายเป็นแค่บันทึกประวัติศาสตร์
ให้หนอนตำราเพ้อฝัน
ถึงภูมิปัญญาคนโบราณ
แลนักวาทะวิทยาไปใช้
ประยุกต์หากินกับเรื่องอื่น
โหราทาส 14 มีนาคม 2563

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา