14 มี.ค. 2020 เวลา 04:41 • ไลฟ์สไตล์
Spoon Class Society : ผลกรรมที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้ก่อ ..
มีสำนวนภาษาอังกฤษหนึ่งกล่าวว่า “born with a silver spoon in one’s mouth” มาจากช่วงสมัยหนึ่งในอังกฤษ เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มั่งคั่งร่ำรวย มักจะได้รับการป้อนอาหารโดยใช้ช้อนเงิน
ในไทยยืมมาใช้ว่า “คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด”
ในเกาหลีก็เช่นกัน แบ่งคนมาเกิดเป็นสองจำพวก geumsujeo พวกช้อนทองคำ
และ heuksujeo “dirt spoons” พวกช้อนฝุ่น , เศษดิน
เมื่อก่อนมีแค่นี้ช้อนทองคือพวกขุนนาง กษัตริย์
ที่เหลือคือ Dirt Spoons ชาวบ้านทั่วไป
ปัจจุบัน Spoon Class ของเกาหลี แบ่งเป็น 4 ชนิด
1. พวกช้อนทอง พวกในตระกูลร่ำรวย มี 1% ของประเทศ
2. พวกช้อนเงิน เงินเดือน 2 แสนขึ้นไป มี 3% ของประเทศ
3. พวกช้อนทองแดง เงินเดือน 150000 มี 7% ของประเทศ
4. พวกช้อนฝุ่น, เศษดิน 89% ของประเทศ
แล้วไงต่อ ? แบ่ง Class ด้วยช้อนแล้วยังไง
ในการศึกษาพบข้อมูลสำคัญว่า รายได้ และช่องว่างระหว่างรายได้ของแต่ละ Class ต่างกันมาก เริ่มที่ 5-20 เท่า และพบว่า เมื่อเราเกิด Class ไหนแล้ว
โอกาสเปลี่ยน Class มีน้อยลงไปทุกที ทุกที
โดยเขาได้ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบพ่อกับลูกชาย
ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันของสังคมเกาหลี
พบว่าชาติกำเนิดเริ่มมีผลมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ถ้าเป็นสมัยก่อนพ่อแม่เรียนน้อยส่งลูกเรียนสูงยังพอมีได้
แต่ในปัจจุบันอัตราแบบนี้ลดลง คือจาก 30% ลดลงเหลือเพียง 11%
และโอกาสที่พ่อเป็นคนจนแล้วลูกต้องจน
โอกาสจาก 1/3 เพิ่มขึ้นเป็น 1/2 ซึ่งถือว่ามาก
จากตัวเลขพบว่าเพราะค่าใช้จ่าย ที่สูงขึ้น ช่องว่างที่ห่างขึ้น และราคาอุปโภคบริโภคพื้นฐานถีบตัวสูงขึ้น
ครอบครัวที่มีเงิน ทรัพย์สินก็เติบโตขึ้น
ส่วนครอบครัวยากจนไม่มีเหมือนเดิม แต่ต้องใช้จ่ายมากขึ้น จากทั้งเงินเฟ้อและราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
เด็กจบใหม่ในเกาหลี เมื่อเข้าทำงานแล้ว แทบไม่สามารถซื้อบ้านอยู่อาศัยได้ บ้างก็ต้องไปเช่าห้องเช่าราคาประหยัด อยู่แทน
ซึ่ง Gen Y ที่กำลังเข้าทำงาน ได้เข้ามาสู่สังคมที่มีช่องว่างขนาดใหญ่ และไม่เอื้อให้เค้าเติบโต จนวันรุ่นและวัยทำงาน Gen Y ของเกาหลี หันมาใช้เงิน ที่เรียกว่า “shibal biyong” แปลว่า “fuck-it expense” รายจ่ายสนองนี๊ด ที่เป็นกลไกทางจิตวิทยาเพื่อระบายความเครียด
จนมีบทความชื่อ Why Young Koreans Love to Splurge
Sometimes blowing your paycheck can be a rational choice. ออกมาอธิบาย
สรุปสั้นๆ ได้ว่า รายจ่ายพวกนี้มันช่วยให้คนเกาหลี โดยเฉพาะคน Gen Y มีความผ่านไปได้ในแต่ละวัน
หลังทำงานหนัก Starbucks สักแก้ว เบียร์สักขวด Sushi ดีๆ สักร้าน Shopping Online บำรุงใจตัวเอง แม้แต่นั่ง Taxi แทนที่จะเป็นรถเมล์หรือรถไฟฟ้าหลายต่อ
(สาบานว่าบทความเกาหลี แต่คุ้นเหลือเกินกับบ้านเรา)
เพราะความสุข ณ ตอนนี้ มันดีกว่าฝันเลือนรางที่ไม่เป็นจริง
อีกบทความชื่อ “No money, no hope: South Korea's 'dirt spoons' turn against President Moon Jae-in”
ได้สัมภาษณ์ Dirt Spoon หนุ่มเพิ่งจบ ที่เช่าห้องขนาด 6 ตรม อยู่ เดือนละ 9000 บาท มีตอนหนึ่งที่เป็นตัวแทนความคิดของคน Gen Y ว่า
“If I try hard enough and get a good job, will I ever be able to afford a house?”
“Will I ever be able to narrow the gap that’s already so big?”
ในเมื่อคำนวนกับเงินเดือนที่ได้ผ่อนจนตายก็ได้ห้องแคบๆ มาเพียงหนึ่งห้องเท่านั้น ต้องขยันแค่ไหนถึงพอ
Gen Y กำลังสับสน และ โกรธ และความโกรธทั้งหมดก็พุ่งเป้าไปที่ครอบครัว และสังคม
สังคมที่มีคนกลุ่มหนึ่งกวาดเอาทุกอย่างไป
ในเกาหลีเรียกคนกลุ่มนี้ว่า chaebol (giant family-owned conglomerates) เช่น ตระกูล ซัมซุง ฮุนได ล๊อตเต้ เป็นต้น
แน่นอน Gen Y ต้องการเปลี่ยนแปลงมัน แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะระบบมันเข้มแข็งไปหมดแล้ว
สาเหตุการตายในเกาหลีสำหรับคนช่วงอายุ 20-30 ปี
ตอนนี้พบว่า 50% มาจากการฆ่าตัวตาย จากความเครียด
และอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
และแน่นอน “shibal biyong” (fuck-it expense)
ก็โด่งดังในหมู่ Gold Spoon ด้วย เพราะ #shibalbiyong กลายเป็น Hashtag อวดของหรูหรา
1
เช่น ลูกคนซื้อรถใหม่ เฟอรารี่ ก็ติด #shibalbiyong เครียดจังทำงานหนัก เลยไปกินโอมากาเซะหัวเป็นหมื่น ก็ติด #shibalbiyong กลายเป็นเพิ่มความกดดัน และ Gen Y ยิ่งเห็นความต่างกันของฐานะและรายได้หนักขึ้นไปอีกจาก Social Media
(บ้านเราก็น่าจะเป็น #ของมันต้องมี)
ไม่ใช่แค่เกาหลี ปรากฎการณ์นี้กำลังขยายตัวไปทั่วโลก
ในรายการ 60 minutes ของออสเตรเลีย Tim Gurner มหาเศรษฐีด้านอสังหา พูดประโยคที่จุดกระแสความไม่พอใจว่า “ตอนผมจะซื้อบ้านหลังแรก ผมเลิกกินขนมปังทาอะโวคาโด(19 เหรียญ) และเลิกกินกาแฟ (4 เหรียญ)”
กลายเป็นกระแสความไม่พอใจของเหล่า Gen Y
เพราะ 24 เหรียญ ออสเตรเลีย ในสมัยก่อนถ้าประหยัด คงซื้อบ้านได้ แต่สมัยนี้ต่อให้ไม่กินอะไรเลย เงินเดือนก็ไม่พอซื้อบ้านอยู่ดี
(ถ้าเป็นบ้านเราจะบอกให้เลิกกิน Starbucks แล้วมาออม)
สุดท้ายบทความนี้ไม่มีคำตอบอะไร แค่จะบอกอีกมุมหนึ่ง
ว่าทำไมคน Gen Y จึงใช้เงินซื้อความสุขระยะสั้น
Buy that nice coat, because you’ll never get on the housing ladder. Eat that steak, because you’ll never save up enough to retire.
เพราะ ซื้อโค้ทสวยๆ สักตัว ถึงยังไงก็ไม่มีเงินพอผ่อนบ้านอยู่แล้ว กินซูชิดี สเต็กอร่อยๆ เพราะยังไงเงินบำนาน มันก็ไม่พออยู่ดี
I Want to Die, but I Want to Eat Tteokbokki
อยากตายเหลือเกิน แต่ชั้นก็ยังอยากกินอาหารอร่อยๆ
นี่คือความโกรธ กลัว คับแค้นและสับสนของ Gen Y
แต่หวังว่ามันจะเป็นแค่ที่เกาหลี ส่วนบ้านเราขอให้มันอย่าไปถึงขั้นนั้นเลย
โฆษณา