14 มี.ค. 2020 เวลา 08:54 • สุขภาพ
อันตราย!!สารเคมีจากผักเเละผลไม้ที่เรารับประทานกัน
ปัญหาสุขภาพนั้นควรดูเเลตั้งเเต่ต้นเหตุ
จากปี 2562 ผักเเละผลไม้ที่เรากำลังรับกำลังรับประทาน ล้วนเเต่ปะปนไปด้วยสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืช
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แถลงผลตรวจผักและผลไม้ประจำปี 2562 โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 286 ตัวอย่างจากห้างค้าปลีก ตลาดสดทั่วไปในกรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, ขอนแก่น, ยโสธร, สระแก้ว, จันทบุรี, ราชบุรี และสงขลา ครอบคลุมผัก 15 ชนิด และผลไม้ 9 ชนิด ที่นิยมบริโภคทั่วไป โดยส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO-17025 ในสหราชอาณาจักร พบว่าผักและผลไม้ที่ส่งตรวจมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึง 41%
 
โดยผักที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานเยอะที่สุดคือ กวางตุ้ง พบมากถึง 10 ตัวอย่างจากทั้งหมด 12 ตัวอย่าง รองลงมาคือ คะน้า (9 ตัวอย่าง), กะเพรา (8 ตัวอย่าง), พริก (7 ตัวอย่าง), กะหล่ำดอก (7 ตัวอย่าง) และผักชี (7 ตัวอย่าง) ส่วนที่พบน้อยมากหรือแทบไม่เกินค่ามาตรฐานเลยคือ กระเทียมจีน (ไม่พบสารพิษตกค้าง) กะหล่ำปลี (2 ตัวอย่างมีสารพิษตกค้างต่ำกว่าค่ามาตรฐาน) และมะละกอดิบ (3 ตัวอย่างมีสารพิษตกค้างต่ำกว่าค่ามาตรฐาน)
 
ด้านผลไม้ที่พบการตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุดคือ ส้ม ที่พบมากถึง 12 ตัวอย่าง จากการสุ่มตรวจทั้งหมด 12 ตัวอย่าง รองลงมาคือ ชมพู่ (11 ตัวอย่าง), ฝรั่ง (7 ตัวอย่าง), องุ่น (7 ตัวอย่าง) และผลไม้ที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานน้อยที่สุดคือ กล้วยหอม, มะม่วงสุก และแอปเปิ้ล (1 ตัวอย่าง)
 
ทำให้ผลการตรวจภาพรวมพบว่า มีสารพิษตกค้างในตัวอย่างผักและผลไม้ที่สุ่มตรวจ 118 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 286 ตัวอย่าง คิดเป็น 41.3%
 
อีกข้อมูลที่เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชพบคือ จำนวนชนิดของสารพิษตกค้างในผักและผลไม้แต่ละชนิด โดยพบว่าคะน้ามีจำนวนชนิดของสารพิษตกค้างมากที่สุดถึง 27 ชนิด รองลงมาคือผักชี 25 ชนิด, พริก 23 ชนิด, มะเขือเทศ 22 ชนิด, กวางตุ้ง 18 ชนิด ส่วนผลไม้ที่มีจำนวนชนิดสารพิษมากที่สุดคือ ส้มแมนดาริน 32 ชนิด, องุ่น 31 ชนิด, ชมพู่ 18 ชนิด, ฝรั่ง 14 ชนิด
credit-the standard
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และเป็นช่วงฤดูการเพาะปลูก ซึ่งเกษตรกรมักใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และใช้มากในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมของทุกปี ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2561 มีรายงานผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดทั้งหมด 6,079 คน คิดเป็นอัตราป่วย 12.95 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดแมลง 2,956 คน คิดเป็นอัตราป่วย 6.3 ต่อแสนประชากร
สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช สามารถเกิดพิษได้ 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นทันที เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า แสบตา และแบบเรื้อรัง เกิดจากการสัมผัสเป็นเวลานาน และเกิดพิษสะสมจนก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาต่อสุขภาพ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด การสูญเสียการได้ยิน และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
ดังนั้นวิธีที่คดว่าน่าจะปลอดภัยที่สุดคือการปลูกแปลงผักกินอยู่ที่บ้านในที่อากาศนั้นอยู่ห่างจากมลพิษ อย่างพื้นที่ต่างจังหวัดเเต่หลายๆคนคงไม่มีเวลาว่างที่จะดูเเล เเละพื้นที่ในสำหรับปลูกแปลงผัก
ดังนั้นวิธีที่ดีคือการเลือกซื้อผักเเละการล้างผักให้ถูกต้อง เเละเหมาะสมโดยมีวิธีดังนี้
วิธีเลือกซื้อผักผลไม้ที่ปลอดภัย
1. เลือกผักผลไม้ที่ไม่มีคราบดิน หรือคราบขาวของสารเคมีตามซอกและก้านใบ
2. เลือกซื้อผักที่ใบมีร่องรอยหรือรูพรุนจากการกัดแทะของแมลงอยู่บ้าง ไม่ควร
เลือกแต่ผัก ที่มีลักษณะใบสวยงามเพียงอย่างเดียว
3. เลือกซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้ขายที่รู้จักคุ้นเคยไว้วางใจได้
วิธีล้างผักสดและผลไม้
1. ล้างผัก เด็ดเป็นใบ แล้วแช่น้ านาน 15 นาที จะลดสารพิษได้ 7-33% ถ้าล้างผ่าน
น้ าไหลจะ ช่วยลดสารพิษได้ประมาณ 54 – 63 %
2. การลวกด้วยน้ำร้อน จะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ 50% แต่ถ้าล้างไม่สะอาดแล้ว
นำไปต้ม ทำแกงจืด สารพิษก็จะเจือปนอยู่ในน้ำแกงนั่นเอง
สุขภาพของเราควรดูเเลตั้งเเต่ต้น ฝึกเเละหมั่นควรทำให้เป็นประจำให้เป็นนิสัย จนเกิดนิสัยเพราะถ้าเกิดสะสมจากสารเคมีมากเข้า สิ่งที่จะต้องเสียคือ เวลา สุขภาพ รวมไปถึงเงิน คงไม่อยากมีใครอยากป่วยเเละต้องมานอนเสียเวลาอยู่ที่โรงพยาบาล พร้อมทั้งต้องเสียเวลาในการพักฟื้น เฉพาะฉะนั้นสุขภาพที่ดีเริ่มได้ด้วยตัวเรา การมีสุขภาพที่ดีจึงเป็นลาภอันประเสริฐ
โฆษณา