Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คนเล่าประวัติศาสตร์ (komkid)
•
ติดตาม
16 มี.ค. 2020 เวลา 08:51 • ประวัติศาสตร์
โรคระบาดแห่งเอเธนส์
เมื่อครั้งพระเจ้าเซอร์เซสแห่งเปอร์เซียทรงยกทัพรุกรานดินแดนกรีก เอเธนส์และนครรัฐอื่นๆ ได้รวมกันเป็น สมาพันธ์เดลอส (Confederacy of Delos)โดยมีเอเธนส์เป็นผู้นำเพื่อสู้ศึก ซึ่งหลังสงครามสิ้นสุด โดยเปอร์เซียต้องล่าถอยกลับไปแล้ว สมาพันธ์ดังกล่าวก็ยังดำรงอยู่ โดยสมาชิกต้องส่งเงินบำรุงสมาพันธ์ไปยังเอเธนส์ ซึ่งเอเธนส์จะมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการใช้จ่ายเงินดังกล่าว
การได้เป็นผู้นำสมาพันธ์เดลอส ประกอบกับการประสบความสำเร็จในการค้าทางทะลทำให้อำนาจของเอเธนส์ในดินแดนกรีกเพิ่มมากขึ้น จนสปาตาร์ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในสงครามเปอร์เซีย เริ่มไม่ไว้ใจ
1
เพื่อคานอำนาจกับเอเธนส์ สปาตาร์จึงตั้งสมาพันธ์เพโลปอนเนเชียน (Confederacy of Peloponnesian) ขึ้น โดยมีตนเป็นผู้นำ และการแข่งขันระหว่างสองฝ่ายก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
1
ต่อมา คอรินธ์ก็เกิดข้อพิพาทกับนครคอร์ซิราซึ่งอยู่ในสมาพันธ์เดลอส เอเธนส์ในฐานะผู้นำสมาพันธ์ จึงเข้ามาช่วยคอร์ซิรา ขณะที่คอรินธ์ขอความช่วยเหลือไปยังสปาตาร์ จนในที่สุดก็เกิดเป็นสงครามระหว่าง เอเธนส์กับสปาตาร์ โดยเรียกว่า สงคราม เพโลปอนเนเชียน
1
สงครามเริ่มขึ้นใน ปีที่ 431ก่อน ค.ศ. ซึ่งสองฝ่ายต่างก็มีกำลังรบเข้มแข็งพอๆกัน โดยฝ่ายเอเธนส์มีกองเรือที่แข็งแกร่ง ส่วนสปาตาร์มีกองทัพบกที่ไร้ผู้ต้านทาน จึงทำให้ช่วงแรกของสงคราม ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบ เสียเปรียบกัน
เนื่องจากทัพบกสปาตาร์ แข็งแกร่งเกินกว่าที่เอเธนส์จะรับมือได้ เพริคลีส ผู้นำคนสำคัญของนครเอเธนส์จึงให้ถอยทัพเข้าไปตั้งรับในเมือง ซึ่งเอเธนส์นั้น มีปราการที่แข็งแกร่งจนทัพสปาตาร์ไม่อาจบุกได้ ส่วนเรื่องเสบียงอาหารนั้น ส่งเข้ามาทางทะเล ขึ้นที่ท่าเรือพีเอรุส ซึ่งการที่เอเธนส์มีทัพเรือที่แข็งแกร่ง ทำให้การขนส่งทางทะเลไม่มีปัญหา
3
ทว่าในปีที่429 ก่อน ค.ศ. หายนะก็มาเยือนนครเอเธนส์ในรูปของโรคระบาด
นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า โรคระบาดนี้เข้ามาในกรุงเอเธนส์ผ่านทางท่าเรือพีเอรุส โดยอาจจะติดมากับเสบียงอาหารที่ขนมาทางเรือ ซึ่งเวลานั้น ในเอเธนส์มีประชากรมากกว่าปกติถึงสามเท่า สภาพแออัดในเมืองทำให้สุขอนามัยย่ำแย่ลง จนเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
2
ผู้ป่วยในวิหารเทพซุส
ธูไคดิเดส นายพลและนักประวัติศาสตร์ชาวเอเธนส์ ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้บันทึกไว้ว่า โรคนี้ มา จากอาฟริกาโดยเกิดขึ้นในเอธิโอเปีย แล้วไปยังลิเบียและอียิปต์ ก่อนจะเข้าสู่ดินแดนกรีก
อาการของโรคจะเริ่มแสดงที่ศีรษะ ก่อนไปยังส่วนอื่นของร่างกาย โดยผู้ป่วย จะมีอาการ ตาแดง เจ็บคอ หายใจติดขัด จาม ปวดศีรษะ เสียงแหบแห้ง อาเจียน ไอ มีตุ่มหนองและฝีขึ้นตามร่างกาย กระหายน้ำ นอนไม่หลับและท้องร่วงรุนแรง อีกทั้ง เขายังเล่าด้วยว่า เมื่อเริ่มมีผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้น จนจัดการกับศพไม่ทัน นกแร้งและนกกินซากอื่นๆ ได้ลงมาจิกทิ้งกินศพเป็นจำนวนมาก จนท้องฟ้าเหนือกรุงเอเธนส์ เต็มไปด้วยฝูงนกกินซากจนดูมืดครึ้ม ทว่าไม่นาน แร้งและนกกินศพอื่นๆ กลับหายไปจนหมด พวกชาวเมืองเชื่อกันว่า นกพวกนั้นตายจนหมด หลังกินศพที่คนป่วยตายเนื่องจากศพมีพิษ จึงทำให้ชาวเมืองจำนวนมาก หวาดกลัว ไม่กล้าเข้าใกล้คนที่ตาย ทำให้ศพจำนวนมากถูกทิ้งไว้ทั่วเมืองจนเริ่มเน่า สุดท้าย จึงมีพวกที่ใจกล้าเอาศพเกล่านั้นมากองรวมกันแล้วเผา
2
โรคระบาดในเอเธนส์เกิดขึ้นในปีที่ 429 ก่อน ค.ศ. และกลับมาอีกครั้งในปีที่ 427 ถึง 426 ก่อน ค.ศ.ซึ่งทำให้มีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 75,000 คน ถึง 100,000 คน คิดเป็นร้อยละ25 ของประชากรเอเธนส์ทั้งหมด ซึ่งในบรรดาผู้เสียชีวิตมี เพริคลีส ผู้นำของเอเธนส์ รวมอยู่ด้วย ซึ่งความตายของเขาได้ทำให้การเมืองในเอเธนส์เกิดความวุ่นวาย ส่งผลให้กองทัพอ่อนแอลง
4
เพริคลีส
ทว่าโรคระบาด ก็ทำให้กองทัพสปาตาร์ไม่กล้าบุกเข้าตีเมือง เพราะเกรงจะติดโรคไปด้วย จึงถอยทัพกลับ
อย่างไรก็ตาม โรคระบาดได้ทำให้เอเธนส์สูญเสียกำลังคนและบุคลากรที่มีความสามารถไปเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เอเธนส์ต้องพ่ายแพ้ต่อสปาตาร์อย่างสิ้นเชิง ในปีที่ 404 ก่อน ค.ศ.
1
ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่า โรคระบาดเอเธนส์เป็นโรคอะไร เนื่องจากชาวเอเธนส์ได้เผาศพผู้เสียชีวิต ทำ ให้การตรวจการร่องรอยดีเอ็นเอของเชื้อโรคทำได้ยาก จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานจากบันทึกโบราณร่วมสมัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า โรคระบาดเอเธนส์ อาจจะเป็น ไทฟอยด์ ไข้ทรพิษ ไข้หวัดใหญ่ อหิวาต์ และกาฬโรค
การเผาศพผู้ป่วย
แต่ไม่ว่าแท้จริง มันจะเป็นโรคอะไร แต่โรคระบาดครั้งนั้นก็ได้ปิดฉากความรุ่งเรืองของเอเธนส์ไปตลอดกาล
11 บันทึก
56
13
5
11
56
13
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย