Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2020 เวลา 07:30 • สุขภาพ
“เชื้อโรค”...ทำไมพวกมันต้อง”กลายพันธ์ุ”!
พวกมันกลายพันธุ์เพื่อทำลายมนุษย์หรือไม่?
คำตอบนั้น แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง...
ความจริงแล้ว การกลายพันธ์ุนั้นไม่ใช่ความสามารถของพวกมัน แต่คือความบกพร่องของพวกมันต่างหาก!
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมี”รหัสพันธุกรรม”
โดยสารพันธุกรรมเหล่านี้อยู่ในเซลล์ทุกๆเซลล์ โดยเวลาที่เซลล์จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน สารพันธุกรรมเหล่านี้ต้องมีการ “Copy&Paste” ตัวเอง เพื่อเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมเข้าไปสู่เซลล์ใหม่
แต่คุณรู้ไหมว่า... การ “Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย
โคโรน่าไวรัสมีรหัสพันธุกรรมยาวประมาณ 30,000 หลัก หรือ
มนุษย์มีรหัสพันธุกรรมยาวประมาณ 3,000 ล้านหลัก
ด้วยความยาวรหัสที่มากมายมหาศาลแบบนี้ จึงทำให้การ “Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมเหล่านี้ให้ถูกต้องหมดทุกหลักนั้น เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
Human genome 3,000 ล้านหลัก
“การกลายพันธ์ุ” ก็คือการ “Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมแล้วเกิดข้อผิดพลาดนั่นเอง!
การ “Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมนั้นต้องมี 2 กระบวนการหลักที่มีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ “ขั้นตอนการคัดลอก” และ “ขั้นตอนการตรวจสอบและแก้ไข”
ทั้ง 2 กระบวนการนี้ต้องมีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อทำให้การ “Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมถูกต้องทั้งหมด
ยกตัวอย่าง มนุษย์มี 2 กระบวนนี้ที่มีประสิทธิภาพมากๆ มนุษย์จึงคัดลอกรหัสพันธุกรรมได้ถูกเกือบทั้งหมด แต่ก็อาจมีบ้างที่รหัสพันธุกรรมผิดพลาดแล้วกลายพันธุ์จนเกิดโรคต่างๆ
แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการต่ำอย่างไวรัสนั้น พวกมันแทบไม่มีความสามารถใน 2 กระบวนการนี้เลย พวกมันจึงสามารถสร้างเซลล์ใหม่ๆ ที่มีรหัสพันธุกรรมเพี้ยนไปจากเดิมได้ตลอดเวลา
ทีนี้ เมื่อมีการกลายพันธุ์ครั้งหนึ่ง พวกมันก็อาจต้องสูญเสียความสามารถบางอย่างที่เคยมีไป แต่ในบางครั้งการที่รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไป... ก็อาจทำให้พวกมันได้”ความสามารถใหม่”ที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน!
ยกตัวอย่างเช่น ไวรัสชนิดหนึ่งที่ติดเชื้ออยู่แค่ในหมู่ประชากร”ค้างคาว” พวกมันมีความสามารถในการเจาะรูเข้าสู่เซลล์ของค้างคาวเท่านั้น แต่ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้ พอไวรัสตัวนี้เพิ่มจำนวนแล้วดันสร้างรหัสพันธุกรรมเพี้ยนไป บางทีพวกมันอาจได้รหัสพันธุกรรมชุดใหม่ที่เป็นเหมือนกุญแจที่สามารถเปิดประตูเข้าสู่เซลล์ของ”มนุษย์”ได้
ดังนั้น ไวรัสตัวนี้จึงสามารถติดเชื้อในมนุษย์ได้ในเวลาต่อมา และด้วยความที่ร่างกายมนุษย์ทุกคนบนโลกอาจไม่เคยเจอไวรัสตัวนี้มาก่อน มันจึงสามารถเกิดโรคระบาดได้
และนี่ก็น่าจะเป็นจุดกำเนิดของ”โคโรน่าไวรัสสายพันธ์ุใหม่ 2019” ที่ทำให้เกิดโรค “COVID-19”
แต่อย่างไรก็ตาม การกลายพันธ์ุไม่ได้จำเป็นต้องทำให้ไวรัสเก่งขึ้นเสมอไป เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว การกลายพันธ์ุของพวกมัน ไม่ได้ทำให้พวกมันเก่งขึ้นหรืออ่อนลง หรือเรียกว่า ”Neutral mutation”
การกลายพันธ์ุโดยส่วนใหญ่แต่ละครั้งนั้น ทำให้โครงสร้างไวรัสเปลี่ยนไปเพียงนิดเดียวเท่านั้น อย่างเช่น เปลี่ยนไป 0.001% เป็นต้น
ยกตัวอย่างง่ายๆในมนุษย์ มนุษย์อาจกลายพันธ์ุแล้วมีผิวสีเข้มขึ้น จมูกใหญ่ขึ้น ตัวสูงขึ้น แต่ก็แค่นั้น ไม่ได้ทำให้มนุษย์เก่งกาจขึ้นเเต่อย่างใด และหลายครั้งก็ทำให้มนุษย์เป็นโรคด้วยซ้ำไป ซึ่งไวรัสเองก็เช่นเดียวกัน การกลายพันธุ์สามารถทำให้มันทั้งเก่งขึ้น อ่อนแอลง หรือก็เท่าๆเดิม
การกลายพันธ์ุแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่นั้น จำเป็นต้องกลายพันธ์ุในรหัสส่วนที่เป็น”กุญแจสำคัญ” หรือ “Key mutation” เท่านั้น
ซึ่งรหัสพันธุกรรมตัวนี้ ก็จะซ่อนอยู่ในรหัสพันธุกรรม 30,000 รหัสในไวรัส หรือ 3,000 ล้านรหัสในมนุษย์
ซึ่งการกลายพันธุ์นั้นมันเป็นไปอย่าง”สุ่ม”
พวกมันไม่สามารถกำหนดได้หรอกว่าจะไป “Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมให้เพี้ยนที่ตรงไหนได้
ดังนั้น ไวรัสสายพันธ์ุใหม่นั้นจึงเกิดขึ้นอยู่แล้ว"ตลอดเวลา” แต่สายพันธ์ุที่เก่งขึ้นมากจริงๆนั้นจะเกิดขึ้นเพียงนานๆครั้งเท่านั้น เมื่อบังเอิญไป“Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมเพี้ยนตรงกุญแจสำคัญพอดี
สรุปแล้ว เมื่อถามว่า ”เชื้อโรค”...ทำไมพวกมันต้อง”กลายพันธ์ุ”!
ก็ต้องบอกว่าพวกมันไม่ได้อยากกลายพันธ์ุหรอก เพียงแต่พวกมันไม่เก่งพอที่จะ “Copy&Paste” รหัสพันธุกรรมให้เหมือนเดิมได้เท่านั้นเอง!...
📥Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว
อย่าลืมกดLike&Shareด้วยนะครับ^^
#นพ.เวชกร รัตนนิธิกุล
📥ติดตามเรื่องราวสุขภาพดีๆจากปากหมออีกได้ที่
Blockdit :
www.blockdit.com/healthstory
Facebook :
www.facebook.com/HealthstoryThailand
19 บันทึก
78
18
18
19
78
18
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย