17 มี.ค. 2020 เวลา 02:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในช่วงที่ช้างชนช้าง อาจจะสามเชือก (ซาอุในนาม OPEC//รัสเซีย พันธมิตรนอกโอเปกที่ไม่กลัวใค // อเมริกาที่พัฒนาล้ำหน้าแล้วชอบเบียดเบียน)
กลุ่มช้างๆ ถล่มราคาน้ำมันในตลาดโลกให้จมดิ่ง (นอกจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและไวรัส)
ประเทศผู้นำเข้าน้ำมันอย่างในบ้านเรา ฟังดูในตอนแรกเหมือนจะโชคดี ได้ของราคาถูก
ในขณะที่โรงกลั่นบ้านเราถือว่าเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ จากสต๊อกน้ำมันที่เคยจัดหามาในราคาสูง (ราว 55-60$/bbl)
เด้งที่สองที่ดูน่าเป็นห่วงคือ ปั๊มขายปลีก จากการต้องซับราคาน้ำมันต้นทุนที่สูงจากโรงกลั่น และจะต้องทะยอยปรับลดราคาหน้าปั๊ม เพราะกระแสที่บอกเรื่องราคาต้องลดตามตลาดโลก
เด้งเบื้องหลัง คือกลุ่มผู้ผลิตปิโตรเลียมในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มที่ผลิตได้เฉพาะน้ำมันดิบ ราคากระทบเต็มๆ เนื่องจากปริมาณที่ผลิตได้น้อยนิด ด้วยต้นทุนที่สูงกว่าในกลุ่มประเทศช้างๆ
ส่วนราคาก๊าซที่ผลิตได้ คงจะมีผลตามมาในภายหลังราว 6- 12 เดือนแล้วแต่สัญญา ที่มีสูตรราคาผูกกับน้ำมันเอาไว้
กลับมาที่ภาพ เป็นโครางสร้างราคาอ้างอิง ที่รัฐได้แสดงที่เวปไซด์ เป็นรายวัน ในการติดตามราคา/ค่าการตลาด (Marketing Margin) สำหรับการบริหารจัดการของปั๊มน้ำมันเอง ซึ่งในอดีต พยามยามให้อยู่ในช่วง 1.6-1.8 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นตัววัดในการประกาศปรับราคาลด/เพิ่ม ที่ปั๊มน้ำมัน
ซึ่งการปรับราคามักจะมีเสียงสะท้อนตามมาเสมอ
อย่างไรก็ตาม ปั๊มคงไม่สามารถปรับราคาเป็นรายวันได้ เนื่องจากหลายเหตุผล ทั้งการสต๊อกน้ำมันของปั๊ม / ปริมาณ
ดังนั้นบ่อยครัยจึงติดตามค่าการตลาดแบบถัวเฉลี่ย ราว 3 - 7 วัน เพื่อช่วยรักษาสมดุลราคาที่ผันผวนตรงนี้
ประเด็นราคายังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกพอสมควร ที่หากนั่งติดตามดูจะเข้าใจมากขึ้น หรืออาจจะมีข้อสงสัย และเสนอแนะมากมาย
ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว การที่ปั๊มจะอยู่รอดได้ ต้องพึ่งธุรกิจอื่นๆ ในปั๊มมาช่วยเสริมนั่นเอง
(ในใจแอบขอให้ปรับราคาหน้าปั๊มลงอีกนะ 😅😁)
ref. pic: EPPO.go.th
โฆษณา