18 มี.ค. 2020 เวลา 07:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เผยภาพหายากของฮาชิโกะ สุนัขผู้ซื่อสัตย์ที่รอเจ้าของจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ผู้ที่เคยไปเยือนกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น คงมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนรูปปั้นของฮาชิโกะมาบ้างแล้ว มันคือสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์และความรักที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย
ฮาชิโกะคือสุนัขพันธ์อาคิตะที่มีสีทองอมน้ำตาล เรื่องราวของฮาชิโกะโด่งดังไปไกลทั่วโลกมาอย่างยาวนานแม้แต่ฮอลลีวูดยังนำเรื่องของมันไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในเวอร์ชั่นของชาว
ตะวันออก แม้เรื่องราวของฮาชิโกะจะโด่งดังอย่างมาก แต่น้อยคนนักที่ได้เห็นรูปของยอดสุนัขตัวนี้ วันนี้เรามารับชมเรื่องราวของฮาชิโกะและรูปถ่ายที่หาดูได้ยากกัน
เรื่องราวของฮาชิโกะย้อนไปในปี 1923 ในเมืองอคิตะที่ซึ่งฮาชิโกะถือกำเนิดขึ้น หนึ่งปีต่อมาศาสตราจารย์ฮิเดะซาบุโระ อุเอโนะรับอุปการะมันและนำกลับไปเลี้ยงดูที่ชิบูย่า
ในเขตโตเกียว ศาสตราจารย์อุเอโนะทำงานในภาควิชาเกษตรกรรมในมหาวิทยาลัยหลวงแห่งโตเกียว ซึ่งในปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยโตเกียว
เขาต้องนั่งรถไฟไปทำงานเป็นประจำทุกวัน และในตอนที่เขากลับมาจากทำงาน ฮาชิโกะจะมารอรับเขาที่สถานีชิบูย่าทุกวัน
น่าเศร้าที่ความสุขไม่อาจคงอยู่ได้ตลอดไป ในวันที่ 21 พฤษภาคม 1925
ศาสตราจารย์อุเอโนะเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตกขณะทำการสอน ทำให้เขาเสียชีวิตโดยไม่อาจกลับได้กลับไปพบฮาชิโกะที่รอเขาที่สถานีอีกต่อไป
แต่เมื่อฮาชิโกะไม่รู้เรื่องนี้ มันก็เอาแต่รอที่สถานีรถไฟชิบูย่าเป็นเวลานานกว่า 9 ปี 9 เดือนและ 15 วัน
ฮาชิโกะเฝ้ารอการกลับมาของเจ้าของทุกวันไม่มีวันหยุด ช่างเป็นภาพที่เศร้าของคนที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อมีคนได้ยินเรื่องฮาชิโกะที่แสดงความจงรักภักดีต่อเจ้าของอย่างไม่ย่อท้อมากขึ้น
ทำให้มีข่าวของฮาชิโกะเผยแพร่เป็นครั้งแรกในวันที่ 4 ตุลาคม 1932 จนทำให้ผู้คนทั่วทั้งประเทศต่างจับตามองและให้ความสนใจสุนัขตัวนี้อย่างล้นหลาม
โดยนำเสนอว่าเป็นยอดสุนัขที่ซื่อสัตย์แห่งยุค
บทความถูกเขียนโดยหนึ่งในนักเรียนของศาสตราจารย์อุเอโนะ
ซึ่งผู้เขียนกำลังทำวิทยานิพนธ์ในการเรื่องสายพันธ์สุนัขอาคิตะและได้พบเห็นพฤติกรรมของฮาชิโกะที่สถานีรถไฟ เขาติดตามฮาชิโกะไปกลับที่บ้านและสถานีรถไฟ
ภายหลังเขาได้นำเสนอเอกสารเกี่ยวกับจำนวนประชากรของสุนัขพันธ์อาคิตะในญี่ปุ่น และการวิจัยบ่งบอกว่า มีสุนัขพันธ์อาคิตะสายพันธ์แท้เพียง 30 ตัวเท่านั้นในญี่ปุ่น
และหนึ่งในนั้นคือฮาชิโกะ
เมื่อเรื่องราวได้รับความสนใจอย่างมากจากการตีพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์
ไม่นานนักทั่วทั้งประเทศก็รู้สึกประทับใจและซาบซึ้งในความภักดีและความรักที่ฮาชิโกะมีต่อเจ้าของ ผู้คนต่างพามาชื่นชมและให้อาหารฮาชิโกะกันอย่างไม่ขาดสาย
ฮาชิโกะกลายเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีในครอบครัวที่ถูกนำมาใช้สอนเด็กโดยพ่อแม่หรือแม้แต่ในโรงเรียน
ในปี 1934 ความภักดีของฮาชิโกะก็ได้รับการยกย่องอย่างสูงสุด เมื่อมีการสร้างรูปปั้นทองแดงไว้โดยศิลปินชาวญี่ปุ่นที่ชื่อเทรุ อันโด
น่าเศร้าที่ในตอนนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีการระดมโลหะทุกชนิดไปใช้ในสงคราม รวมถึงรูปปั้นของฮาชิโกะด้วย อย่างไรก็ตาม
ในปี 1948 บุตรชายของนักปั้นคนเดิมก็ได้สร้างรูปปั้นชิ้นที่สองของฮาชิโกะขึ้นและยังคงตั้งอยู่จนทุกวันนี้หน้าทางเข้าสถานีรถไฟชิบูย่า
หลังเฝ้ารอการกลับมาของเจ้าของผู้เป็นที่รักมานานนับสิบปี ในที่สุดฮาชิโกะก็สิ้นลมหายใจในวันที่ 8 มีนาคม 1935 โดยมีอายุเพียง 11 ปีเท่านั้น
สาเหตุการเสียชีวิตของฮาชิโกะถูกวิเคราะห์โดยนักวิทยาศาสตร์ในปี 2011 ว่าเกิดจากมะเร็งระยะสุดท้ายและการติดเชื้อฟิลาริเอซิส
หลังการเสียชีวิต ร่างของฮาชิโกะถูกฌาปนกิจและนำเถ้าถ่านไปฝังไว้ที่สุสานอาโอยามา กรุงโตเกียว
โดยฝังไว้ข้างสุสานของศาสตราจารย์อุเอโนะผู้เป็นเจ้าของที่ฮาชิโกะรัก ขนของฮาชิโกะถูกเก็บรักษาไว้และนำไปบรรจุไว้ในหุ่นจำลองที่แสดงในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติในอุเอโนะ กรุงโตเกียว
เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมเรื่องราวของฮาชิโกะตลอดไป
อย่าลืมกดติดตามเพจเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
อ้างอิงจาก
ห้ามคัดลอกทุกกรณี
โฆษณา