18 มี.ค. 2020 เวลา 09:30 • บันเทิง
➡️นโปเลียน โบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส 3
ช่วงแรกของการก้าวเข้าสู่อำนาจ
นายพลโปนา ปาร์ต
การปราบจลาจลในปารีส
เมื่อพระเจ้านโปเลียนยังเป็นนายพลทหารเหล่าปืนใหญ่นาม นโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งวันหนึ่งได้มาพบและหลงรักกับหญิงหม้ายนาม โฌเซฟิน (Josephine de Beauharnais) ในปี 1795 (พ.ศ.2338) ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสโค่นล้มราชวงศ์บูร์บองไปแล้ว แต่ยังเกิดความวุ่นวายอยู่เนืองๆ จากผู้นิยมระบบกษัตริย์ (Royalist) ที่กำลังรวมพลทั้งหญิงชายกว่า 40,000 คน เข้ามาในกรุงปารีส ขณะที่ทางฝ่ายรัฐบาลสาธารณรัฐมีทหารราว 25,000 คนเท่านั้น
แต่จากการขันอาสาของนาพลโบนาปาร์ต ในการวางแผนการป้องกันกรุงปารีส พร้อมด้วยความร่วมมือจากลูกน้องมือดีคือ มูราต์ (Marechal Joachim Murat)ทำให้กองกำลังรัฐบาลสาธารณรัฐสามารถปราบการจลาจลได้อย่างราบคาบ ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1795 ปอล ฟรองซัวส์ ฌอง นิโกลาส์ บาร์ราส ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจสาธารณรัฐกลุ่มเก่าได้ บาร์ราสสนิทกับนโปเลียนมาตั้งแต่สงครามตูล็อง เรียกตัวเขากลับมาประจำการที่ปารีส พร้อมตำแหน่งผู้บัญชาการทหารรักษาความสงบภายในเทียบเท่ารัฐมนตรีกลาโหม
นโปเลียนแสดงความเฉียบขาดทางการทหารในการปราบปรามกลุ่มนิยมระบอบกษัตริย์ ที่ลุกฮือเป็นกบฏต่อสาธารณรัฐ
ครั้งหนึ่งที่เขตุซังต์โรช์ในปารีส เขาสั่งนายทหารม้าหนุ่มคนสนิท โจอาคิม มูราห์ ตั้งปืนใหญ่ล้อมประชาชนกลุ่มลุกฮือ นโปเลียนประกาศให้สลายตัว โดยจะยิงปืนใหญ่ถล่มหลังจากการนับถอยหลัง กลุ่มต่อต้านคิดว่าเป็นเพียงคำขู่ เพราะทหารฝรั่งเศสจะสังหารคนฝรั่งเศสแบบนองเลือดเช่นนี้ได้อย่างไร
แต่ปรากฏว่า เมื่อสิ้นเสียงนับถอยหลัง นโปเลียนก็ยกมือสลัดลงให้มูราห์ประกาศยิงปืนใหญ่ถล่มทันที ประชาชนหนึ่งพันสี่ร้อยคนตายเกลื่อนเลือดนองจัตุรัส
ปราบจราจลในปารีส
นโปเลียนได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์หลังจากนั้นว่า มันเป็นความขมขื่นที่เขาต้องสั่งยิง หากนี่คือวิถีของทหาร เลือดที่นองผืนดินเป็นเลือดฝรั่งเศสที่จำต้องเสียสละเพื่อความสงบโดยรวมของประเทศ มิใช่เลือดของศัตรู จากนั้นเป็นต้นมา การชุมนุมต่อต้านก็ลดจำนวนลงไปอย่างรวดเร็ว
นโปเลียนเป็นผู้ที่มีความคิดกว้างไกลในทุกด้าน เมื่อเขากลับมาได้รับตำแหน่งสูงสุดทางการทหารของฝรั่งเศส เขาก็จัดการปูมบำเหน็จนายทหารที่ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ เลื่อนยศและตำแหน่งขึ้นเป็นนายพลคุมกำลังหลัก นายทหารคนสนิทอย่าง โจอาคิม มาราห์ นอกจากได้เป็นนายพลแล้วยังเป็นน้องเขยด้วย นโปเลียนยกน้องสาวให้เป็นดองกัน เขายังก่อตั้งหนังสือพิมพ์สองฉบับ ฉบับหนึ่งเน้นการทหารอีกฉบับหนึ่งเน้นข่าวสารการเมืองและประชาชน นโปเลียนเขียนบทความด้วยตัวเองอย่างเข้มข้น ทำให้เขามีอิทธิพลอย่างสูงในแง่ศรัทธามหาชน
การเข้าไปสนิทกับ ปอล บาร์ราส มากขึ้นก็ทำให้ นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้พบผู้หญิงที่เขาเรียกว่า..ยอดรัก..คือ โฌเซฟีน
1
นโปเลียนโบนาปาร์ตกับโฌเซฟินภาพจากแผ่นฟิมล์ภาพยนต์
โฌเซฟีน จากเมียเก็บสู่จักรพรรดินี
เส้นทางชีวิตของโฌเซฟีน ก็นับว่าเข้มข้นยิ่งนัก ไม่แพ้ นโปเลียน โบนาปาร์ต
โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน มีชื่อเดิมว่า มารี โฌแซฟ โรซ ตาเช เดอ ลา ปาเฌอรี หากถูกเรียกสั้นๆ ว่า โรซ เกิด 23 มิ.ย. ค.ศ. บนเกาะมาร์ตินีก อาณานิคมฝรั่งเศสในทะเลแคริบเบียน เธอเกิดในครอบครัวครีโอผิวขาว (ครีโอ-คนที่อยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวยุโรป) บิดาชื่อ โฌแซฟ กัสปาร์ ดาเช เดอ ลา ปาเฌอรี มารดาของเธอชื่อ โรซ-แกลร์ เด แวร์เฌ เดอ ซานัว บิดาเป็นอดีตนายทหารฝรั่งเศสที่ไปตั้งรกรากทำไร่อ้อยทำน้ำตาลที่เกาะมาร์ตินีก แต่เคราะห์ร้าย สูญเสียสมบัติทั้งหมดจากพายุเฮอร์ริเคนถล่ม ครอบครัว เดอ ลา ปาเฌอรี ตกสภาพสิ้นเนื้อประดาตัวที่เกาะมาร์ตินีก
น้องสาวของ โฌแซฟ กัสปาร์ ชื่อเอมีลี ซึ่งเป็นเมียเก็บของขุนนางมั่งคั่ง ฟรองซัวส์ วิกงต์ เดอ โบอาร์แน จึงพยายามช่วยหลานสาวและครอบครัว โฌแซฟ กัสปาร์ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากเงินทองของตระกูลโบอาร์แน โดยการประสานให้ กาเตอรีน เดซิเร หลานสาวคนกลางแต่งงานกับ อเล็กซานเดร บุตรชายของฟรองซัวส์ ขุนนางเฒ่า หากทว่า กาเตอรีน เดซิเร ซึ่งอายุเพียงสิบสองขวบป่วยเสียชีวิตที่เกาะมาร์ตินีกก่อนมาฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1777
ถึงแม้ว่า นโปเลียนจะมีการศึกเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดชีวิต แต่เรื่องความรัก ของนโปเลียนก็หาได้จืดชืดไม่ กลับมีเรื่องราวที่น่าติดตามและค่อนข้าง เป็นเรื่องโรแมนติกพอดู และไม่น่าเชื่อว่าความรักของนโปเลียนจะรุนแรง ได้เพียงนี้
"โฌเซฟีน"หญิงหม้ายเจ้าเสน่ห์แห่งปารีส คือหญิงสาวที่นโปเลียนรักและ เทิดทูน แรกพบ โฌเซฟีนก็อาศัยอุบายให้ลูกชาย ซึ่งมีอายุเพียง 12 ปี เข้าพบ นโปเลียนถึงกองบัญชาการเพื่อขอให้นโปเลียนคืนดาบของบิดาตนที่ตายลงในขณะเกิดกบฎ จลาจลและเจ้าหน้าที่ริบดาบนั้นไป นโปเลียนซึ่ง ขณะนั้นเป็นถึงผู้รักษาความสงบเรียบร้อยภายในก็ได้สั่งคืนดาบให้แก่ลูกชาย ของโฌเซฟีนไป โฌเซฟีนก็เข้ามาทำทีขอบใจนโปเลียน และนั้นคือบันได ขั้นแรกที่นำไปสู่ความรักอันดูดดื่มเป็นอมตะ ระหว่างหญิงหม้ายและขุนศึก แห่งปารีส
ติดตามตอนต่อไป
Cr.หนังสือชีวะประวัตินโบเลียน โบนา ปาร์ต Jean Tulard, Napoléon ou le Mythe du Sauveur
Cr.บันทึกประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หอสมุดแห่งชาติ
ชอบกดแชร์กดติดตามกดไลท์
ฝากเพจเจเจ้มีสาระด้วยนะคะขอบคุณค่ะ
โฆษณา