19 มี.ค. 2020 เวลา 15:09 • ข่าว
Today Focus : ประเด็นน่าสนใจวันนี้
1. FED เคลื่อนไหวเพิ่มเติมเตรียมอัดฉีดเงินอีก 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อให้มั่นใจว่าตลาดการเงินโลกจะไม่ขาดสภาพคล่อง
FED เคลื่อนไหวฉุกเฉินครั้งที่ 3 โดยการเปิดตัวโครงการสินเชื่อ เพื่อต่อสู้กับ Coronavirus ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวคือการอัดฉีดเงิน เพื่ออุ้มเหล่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมเป็นมูลค่า 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ หากนักลงทุนมีการถอดถอนเงินทุนอย่างรวดเร็ว
มาตรการเพื่ออำนวยสะดวกสำหรับสภาพคล่องในตลาดการเงิน ได้ประกาศในวันพุธที่ผ่านมา โดยจะทำการออกสัญญากู้ยืมระยะ 1 ปีให้กับสถาบันการเงินที่มีการมัดจำด้วยสินทรัพย์คุณภาพสูงอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พวกเขาซื้อจากเหล่ากองทุนรวมในตลาด
FED สนับสนุนให้ธนาคารซื้อสินทรัพย์จากกองทุนรวมเหล่านั้น เพื่อป้องกันเงินทุนรั่วไหล จากการเทขายสินทรัพยโดยภาคครัวเรือน หรือบริษัทหุ้นส่วนทำการถอนเงินออก
กองทุนรวมทั้งหลายเหล่านี้เป็นแหล่งความเสี่ยงต่ำสำหรับภาคครัวเรือน และบริษัทที่ต้องการจะถือเงินสดไว้ และจำกัดการลงทุนของพวกเขาในเฉพาะสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการลงทุนในระยะสั้นอย่างเช่น ตราสารหนี้ภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ FED ก็ยังไม่ได้รับประกันในเรื่องของเงินฝากที่รับได้การคุ้มครองโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากสหรัฐ (FDIC) และ 1 ในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดอย่างวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 ก็เกิดขึ้นเพราะกองทุนสำรองหลักล่มสลายเนื่องจากจมปลักอยู่กับตราสารหนี้ภาคเอกชน อย่างเช่น Lehman Brothers
ในขณะที่ยังไม่มีการถอนเงินอย่างรุนแรง มูลค่าสุทธิของกองทุนรวมเพิ่มขึ้นเกือบ 9.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่านักลงทุนมีความต้องการที่จะถือเงินสดมากขึ้น
FED กล่าวว่านี่ยังไม่รวมถึงการซื้อของธนาคารเอกชนต่าง ๆ และเราจะเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อของธนาคารเอกชนหากจำเป็น โดยเบื้องต้นจะมีการออกเงินกู้ยืมจำนวน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ผ่านทางธนาคารกลางที่ Boston เพื่อรักษา Credit และเสถียรภาพทางการคลังของสหรัฐฯ
ข้อสังเกต : ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะยิ่งทำให้ฟองสบู่ในตลาดเงินเติบโตขึ้น การอัดฉีดที่รุนแรงเช่นนี้จะยิ่งสร้างความผันผวนให้กับสกุลเงินและตลาดทั่วโลก
2. นักลงทุนทั่วโลกกำลังต้องการเงินสด
เงินสดกำลังเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการกระตุ้นฉุกเฉินไม่สามารถหยุดความตื่นตระหนกของผู้คนได้
เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและทุกสิ่งปลิวหายไปในวันพฤหัสบดี เนื่องจากมาตรการฉุกเฉินของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ, ยุโรป, ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสการเทขายจากความวิตกกังวลของผู้คนได้
"ไม่มีผู้ซื้อ ไม่มีสภาพคล่อง และทุกคนก็เพิ่งออกจากตลาดไป" Chris Weston หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ Pepperstone นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในเมลเบิร์นกล่าว
Chris Weston
หุ้น, พันธบัตร, ทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์ ต่างก็ปรับตัวลดลงเนื่องจากโลกพยายามดิ้นรนเพื่อต่อสู้กับ Coronavirus และนักลงทุนและธุรกิจต่าง ๆ กำลังแย่งชิงกันถือเงินสด
ตลาดหุ้นเกือบทุกแห่งในเอเชียโดน Circuit Breaker กันเป็นแถบ และสกุลเงินทุกอย่างยกเว้นดอลลาร์และยูโรร่วงอย่างรุนแรง
แรงเทขายในช่วงเช้าทำให้ ECB ต้องออกมาพยุงตลาดให้มีเสถียรภาพ โดยประกาศคำมั่นสัญญาที่จะซื้อพันธบัตรมูลค่า 7.5 แสนล้านยูโร (820 ล้านดอลลาร์) ในปี 2563 และมีแผนจะซื้อสูงถึง 1.1 ล้านล้านยูโร
ในช่วงบ่าย FED ได้ทำสัญญาอำนวยความสะดวกด้านสภาพคล่องสำหรับกองทุนรวมตลาดเงิน ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำการซื้อพันธบัตรที่ไม่มีกำหนดเวลาสองครั้งรวมมูลค่า 1.3 ล้านล้านเยน (1.2 หมื่นล้านดอลลาร์)
แต่เช่นเดียวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ก่อนหน้านี้ที่ประกาศโดยธนาคารกลางทั่วโลก แต่มันก็ช่วยบรรเทาความเชื่อมั่นได้เล็กน้อย
"ฉันมองว่าตลาดไม่สามารถลงทุนได้ในตอนนี้” Daniel Cuthbertson กรรมการผู้จัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ Value Point ในซิดนีย์กล่าว "จนกว่าเราจะควบคุมการแพร่ระบาดทั่วโลกได้ ตลาดก็จะไร้ทิศทาง"
1
นักเศรษฐศาสตร์ของ JP Morgan คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัว 14% ในไตรมาสถัดไปและเศรษฐกิจจีนจะสูญเสียมากกว่า 40% เมื่อเทียบเป็นรายปีในปัจจุบัน
Luca Paolini หัวหน้านักยุทธศาสตร์จาก Pictet Asset กล่าวว่า "ไม่เพียงแต่ธนาคารกลาง แต่รัฐบาลกำลังทิ้งทุกอย่างไว้ในระบบเศรษฐกิจ แต่ตลาดไม่ตอบสนอง"
"สิ่งนี้คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการเงินโลก เมื่อนักลงทุนกังวลถึงขนาดขายสิ่งที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย อย่างทองคำ" Junichi Ishikawa นักยุทธศาสตร์การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของ IG Securities ในโตเกียวกล่าว
"ตรรกะพื้นฐานที่สุดในการป้องกันความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุด คือการถือเงินของคุณเป็นเงินสด ดังนั้นเงินดอลลาร์จึงถูกซื้อ ความไม่แน่นอนของนักลงทุนนั้นสูงมากเท่าที่จะเป็นไปได้"
เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับปอนด์ (GBP) ที่ระดับ 1.1497 ใกล้ถึงจุดแข็งที่สุดตั้งแต่ในปี 1985 และพุ่งขึ้น 3% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) และเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) สู่ระดับสูงสุดในรอบ 17 ปี
ราคาน้ำมันทรงตัวหลังจากร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 18 ปี ในการค้าขายในภูมิภาคเอเชียโดยน้ำมันดิบ CLc1 ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 12% สู่ 22.77 ดอลลาร์และ Brent LCOc1 เพิ่มขึ้น 1.15 ดอลลาร์สู่ 26.03 ดอลลาร์ (ถือว่ายังต่ำมาก ๆ)
ในหลายกรณีขณะนี้ นักลงทุนกำลังขนถ่ายคลังและพันธบัตรรัฐบาลอื่น ๆ รวมทั้งทองคำเพื่อเก็บเงินเป็นดอลลาร์
ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการใช้มาตรฉุกเฉิน และการอัดฉีดเงินสดที่มากที่สุดตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นนักลงทุนทิ้งกลยุทธ์การซื้อขายแบบดั้งเดิม เพื่อขายทุกสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อเก็บเงินเป็นดอลลาร์
ในขณะเดียวกันการระบาดของไวรัสได้ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้กลุ่มบริษัทผู้ค้าพูดถึงการปิดกั้นทางการเงินในตลาดการเงินโลก
วิเคราะห์และสรุปโดย World Maker
การอัดฉีดเงินของสถาบันการเงินทั่วโลกนั้นสวนทางและขัดกับสิ่งที่นักลงทุนตอบสนองต่อตลาดยิ่งนัก แต่มันกลับช่วยส่งเสริมในแง่ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คุณผู้อ่านลองคิดดูสิครับ เมื่อผู้คนต่างก็ไปถือเงินดอลลาร์และไม่ใช้จ่าย ยิ่งทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นไปอย่างมาก แต่ในขณะที่นโยบายของธนาคารกลางต้องการให้ผู้คนกล้าใช้จ่าย กล้าลงทุน โดยการอัดฉีดเงินเข้ามาพยุงราคาหุ้นไว้ไม่ให้ตก (ขนาดมันตกมาถูก ๆ แล้วคนยังไม่อยากซื้อเลย แล้วนี่ไปอุ้มมันไว้อีก) และแน่นอนว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ต่อไป การแข็งค่าของเงินดอลลาร์จะทำให้เกิด "เงินเฟ้อจากภายใน" ราคาของสินค้าทุกอย่างจะต้องพุ่งสูงขึ้นตามค่าเงินดอลลาร์ที่เฟ้อขึ้นไป รวมถึงตลาดหุ้นที่ราคายังคงสูงเนื่องจากการอัดฉีดเงิน แต่ด้วยอำนาจในการซื้อและความน่าเชื่อถือที่ลดลงเรื่อย ๆ ของเงินดอลลาร์ จะไม่สามารถขับเคลื่อนตลาดได้อีกต่อไปในอนาคต และสุดท้ายมันจะอัดแน่นจนทำให้ฟองสบู่ระเบิดออกมา
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา