19 มี.ค. 2020 เวลา 14:36 • ข่าว
10 เคล็ดลับสังเกตุข่าวปลอม
การเสพสื่ออย่างมีสติบนโลกโซเซียลมีเดีย มีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม
ในบางครั้งเรายังไม่สามารถแยกแยะได้มากนัก ตัวผมจึงขอแนะนำทุกท่าน
ว่าจะสังเกตุข่าวปลอมตัวเองได้อย่างไรบ้าง เราต้องคิดก่อนว่าสิ่งนี้เป็นจริง
หรือไม่
ข่าวปลอม คือ ข่าวที่มีข้อมูลเป็นเท็จซึ่งก่อให้เกิดการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ เป็นเครื่องมือทางการเมือง การสร้างวาจาให้เกิดความเกลียดชังตลอดจนถึงการโฆษณาเกินจริง การเปิดรับสื่อของคนไทย ท่ามกลางความมหาศาลของข้อมูลที่เกิดขึ้นทุกๆ ปรากฏการณ์ข่าวปลอม หรือ Fake News จึงปะปนอยู่
ในคลื่นมหาศาลของข้อมูล ทำให้คนจำนวนมากหลงเชื่อข่าวปลอม หรือเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ข่าวปลอมโดยที่ไม่รู้ตัว
1. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตาดึงดูดผู้อ่าน หากหัวข้อข่าวฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นก็น่าจะเป็นข่าวปลอม
2. สังเกตที่ลิงค์ URL หาก URL หลอกลวงหรือดูคล้าย อาจเป็นสัญญาณของข่าวปลอมได้ เว็บไซด์ข่าวปลอมจำนวนมากมักเปลี่ยนแปลง URL เพียง
เล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง
3. สังเกตแหล่งที่มา ตรวจดูให้แน่ใจว่าเรื่องราวเขียนขึ้นโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และมีชื่อเสียงด้านความถูกต้อง หากมีเรื่องราวมาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ให้ตรวจสอบที่ส่วน "เกี่ยวกับ" เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
4. สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ หากคุณเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าว
อย่างระมัดระวัง
5. การพิจารณารูปภาพในข่าว ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวิดีโอที่ไม่เป็น
ความจริง บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริงแต่ไม่เกี่ยวกับบริบทของเรื่องราว
คุณสามารถค้นหาเพื่อตรวจสอบได้ว่ารูปภาพเหล่านั้นมาจากไหนมีความ
น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
6. ตรวจสอบวันเวลา เรื่องราวข่าวปลอมสวนใหญ่มักมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่
สมเหตุสมผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
7. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่า
ถูกต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง อาจจะระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม
8. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่นๆ หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานเรื่องเดียวกัน ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม ถ้าข่าวนั้นมีการรายงานจากหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือก็เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นจะเป็นข่าวจริง
9. เรื่องราวนี้เป็นเรื่องตลกหรือไม่ บางครั้งอาจแยกข่าวปลอมจากเรื่องตลก
หรือการล้อเลียนได้ยาก ตรวจสอบดูว่าแหล่งที่มาของข่าวขึ้นชื่อเรื่องการล้อเลียนหรือไม่ และรายละเอียดตลอดจนน้ำเสียงของข่าวฟังดูเป็นเรื่องตลก
หรือไม่
10. เรื่องราวบางเรื่องอาจตั้งใจเป็นข่าวปลอม ใช้วิจารณญาณเพื่อคิดวิเคราะห์เรื่องราวที่คุณอ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น
#MONTORI
19/03/2563
โฆษณา