20 มี.ค. 2020 เวลา 10:30 • ความคิดเห็น
จะเป็นอย่างไร ถ้าสหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกที่ญี่ปุ่น
แทนที่จะทิ้งระเบิดปรมาณู เพื่อจบสงคราม ?
การทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่า และนางาซากิ เป็นเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์โลกไปตลอดกาล
ตามมาด้วยการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของญี่ปุ่น ต่อทหารฝ่ายสัมพันธมิตร ปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2
การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของญี่ปุ่น
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีเกียรติในตนเองสูงมาก ไม่มีใครคาดคิดว่าแค่ระเบิดปรมาณูเพียง 2 ลูกจะทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ได้ ทุกอย่างจึงล้วนต้องมี “แผนสำรองเสมอ”
จริง ๆ แล้ว สหรัฐอเมริกาได้วางแผนสำหรับการยกพลขึ้นบกที่แผ่นดินญี่ปุ่นเอาไว้แล้ว นั่นก็คือ Operation Downfall
แผนปฏิบัติการณ์ Operation Downfall
โดยการใช้กำลังทหารอเมริกันกว่า 5,000,000 นาย และทหารสหราชอาณาจักรอีก 1,000,000 นาย เตรียมพร้อมปฏิบัติการในเดือนกันยายน 1945 (พ.ศ. 2488)
แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นทหาร หรือประชาชนญี่ปุ่น ยังไงก็ยอมสู้ตายเพื่อปกป้องแผ่นดินของพวกเขาอย่างแน่นอน
โดยคาดการณ์ไว้ว่า ทหารญี่ปุ่นกว่า 4,300,000 นาย พร้อมด้วยประชาชนอีกกว่า 28,000,000 คนพร้อมจะสู้กับทหารสัมพันธมิตรอย่างแน่นอน
อาสาสมัครปกป้องดินแดนของญี่ปุ่น
ต่างกับการยกพลขึ้นบกใน Operation Overlord หรือวันดีเดย์ ในเวลานั้น เมื่อทหารฝ่ายสัมพันธมิตรขึ้นฝั่งที่ประเทศฝรั่งเศส ประชาชนทุกคนต่างต้อนรับทหารที่มาช่วยปลดแอคพวกเขา
แต่ในกรณีญี่ปุ่นนี้ การยกพลขึ้นบก จะเป็นไปอย่างทุลักทุเลยิ่งกว่านั้นหลายเท่า จะมีการฆ่าตัวตายของทหารและประชาชนอีกหลากหลายรูปแบบ
2
รวมไปถึงการทำ Kamikaze จากเครื่องบินกว่า 10,000 ลำ และเรือบรรทุกตอร์ปิโดกว่า 2,500 ลำอีกด้วย
คาดการณ์ว่า หากเหตุการณ์นี้เป็นจริง ทหารสัมพันธมิตรจะเสียชีวิตกว่า 500,000 - 1,000,000 นาย และประเทศญี่ปุ่นจะเหลือประชากรน้อยลงกว่าในช่วงก่อนสงครามเสียอีก
ตามมาด้วยการยอมจำนนของญี่ปุ่น ในสภาพประเทศที่ย่ำแย่กว่าในประวัติศาสตร์จริง ๆ มาก เพราะทั้งประเทศย่อยยับอย่างไม่เหลือชิ้นดี
การทิ้งระเบิดที่กรุงโตเกียวในวันที่ 10 มีนาคม 1945 (พ.ศ. 2488)
ปฏิบัติการณ์ทั้งหมด ถูกคาดการณ์ว่า จะเสร็จสมบูรณ์ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 1946 (พ.ศ. 2489) ใช้เวลาปฏิบัติการณ์ทั้งหมดประมาณ 6 เดือน
ทุกวันนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจที่เติบโตเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เพราะได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ในการวางรากฐานการปกครอง ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่ง และอื่น ๆ อีกมากมาย
จำนวนผู้เสียชีวิตและความเสียหายต่าง ๆ อาจบานปลายไปมากกว่านี้ ถ้าหากในวันนั้น ระเบิดปรมาณูไม่ถูกนำมาใช้เพื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 2 จริง ๆ
โฆษณา