- การตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย (Policy Makers) ในการปิดสถานที่ ปิดพื้นที่ หรือจำกัดการเดินทาง เคลื่อนย้ายของประชาชน เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมในวันนี้อย่างกว้างขวาง
- แต่การถกเถียงของผู้คนส่วนใหญ่ เป็นการให้เหตุผลตามความรู้สึกของตน (Subjective reasoning) ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ ควรจะต้องให้เหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์
- เมื่อ 16 มี.ค. 63 ได้มีการเผยแพร่งานวิจัยของสถาบัน Imperial College ที่ศึกษาผลกระทบจากมาตรการของรัฐต่อการจัดการการแพร่กระจายโรคติดเชื้อ COVID-19 โดยใช้กรณีศึกษาในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
- ผลวิจัยสรุป 2 ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลควรดำเนินการกำหนดเป็นมาตรการของรัฐ
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 ได้แก่ Mitigation ซึ่งเป็นมาตรการในการชะลอการแพร่กระจายของโรค ไม่ใช่หยุดการแพร่กระจาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลดความต้องการทางสาธารณสุขได้ 2/3 และลดอัตราผู้เสียชีวิตถึงครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ Mitigation อาจส่งผมให้มีคนตายเป็นพัน และยังมีความต้องการทางสาธารณสุขในจำนวนที่สูง
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ได้แก่ Suppression ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับมาตรการอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ Social Distancing, Home Isolation of cases, Household quarantine ทั้งครอบครัว รวมถึงการปิดสถานศึกษา
- ความท้าทายในยุทธศาสตร์ที่ 2 คือการระยะเวลาในการดำเนินยุทธศาสตร์ Suppression จนกว่าจะมีการคิดค้นวัคซีน ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 18 เดือน และอยู่บนสมมุติฐานว่าถ้ารับบาลผ่อนปรนมาตรการ จะส่งผลให้อัตราการติดเชื้อกลับมาเพิ่มขึ้น (Rebound)
- กรณีศึกษาที่จีน กล.ต. แสดงให้เห็นถึงการใช้มาตรการ Suppression ใน short term แต่ยังไม่มีหลักฐานอื่นใด้ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้มาตรการใน Long Term คงต้องรอกรณีในประเทศยุโรป