24 มี.ค. 2020 เวลา 14:19 • ความคิดเห็น
┏━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┓
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่คือชนะใจตนเอง
┗━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┛
ช่วงนี้ยอมรับว่า อุปสรรคหลายอย่าง
เข้ามาสุมอยู่ในจิตใจของเพื่อนๆ
จนบางครั้งก็รู้สึกหนักใจมิใช้น้อย
เล่าหุ้นนึกถึงพุทธชาดก ที่เป็นการเล่า
เรื่อง สิบชาติ ก่อนจะ ประสูติ เป็น
เจ้าชาย สิทธัตถะ ของพระพุทธเจ้า
เล่าหุ้นจะเล่าให้ฟังครับ
เป็นเรื่องราวของ พระมหาชนก
1 ใน 10 ชาติ ก่อนที่พระพุทธเจ้า
จะประสูติ เป็น เจ้าชายสิทธัตถะ
มีเรื่องราวดังนี้
พระเจ้ามหาชนกกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา
มีพระราชโอรสสองพระองค์ องค์โต พระนามว่า ...อริฏฐชนก...
มี อุปนิสัยเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ
เชี่ยวชาญในการรบ
และ องค์เล็ก ชื่อว่าพระโปลชนก
มีจิตใจอารี สุขุม รอบคอบ เฉลียวฉลาด
เมื่อพระเจ้ามหาชนกสวรรคตแล้ว
พระอริฏฐชนกได้ครองราชสมบัติ
และทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช
ปกครองบ้านเมืองสงบสุขสืบมา
.
.
.
แต่ด้วยอมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่า
พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ
พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ
.
.
.
สั่งจองจำพระโปลชนก
แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานว่า
.
.
.
"หากข้าพเจ้านั้นไม่ได้คิดคดทรยศ
ขอให้เครื่องจองจำจงหลุดจากมือ
และเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงเปิดออก"
ด้วยบุญญาบารมีก็ได้หนีออกจากที่คุมขังได้สำเร็จ ภายหลังได้รวบรวมพลมาท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด
พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ
.
.
.
ก่อนสิ้นใจได้ปรับความเข้าใจกันและฝากดูแลบ้านเมืองและดูแลพระมเหสีกับลูกด้วย
.
ด้วยการเกรงว่าจะอันตรายเกิดกับลูกในครรภ์ พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีไปจนถึงเมืองกาลจัมปากะ โดยมีท้าวสักกเทวราช ได้แปลงเป็นชายชราขับเกวียน จึงทำให้การเดินทาง
เป็นไปด้วยความสะดวกขึ้น
.
.
.
ณ นครกาลจัมปากะ อุทิจพราหมณ์มหาศาล
ได้ช่วยเหลืออุปการะในฐานะน้องสาว
.
.
.
ต่อมามีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "มหาชนก" เมื่อเจริญวัยขึ้นพระองค์ได้ทราบความจริง จึงตั้งใจศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิชาทุกแขนง
จนเติบโตพระชนมายุ 16 พรรษา
.
.
.
จึงคิดทำการค้า เพื่อสะสมทุนทรัพย์
เพื่อชิงราชบันลังก์ กลับคืนมา
จึงขอสมบัติส่วนหนึ่งจากพระมารดา
แปลงเป็นเงินเพื่อนำสินค้าออกไปค้าขาย
.
.
.
ระหว่างเดินทางในมหาสมุทร เรือเจอพายุจนล่มลง ลูกเรือตายหมดเหลือแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว
ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน
.
.
.
นางมณีเมขลาผู้ดูแลมหาสมุทรได้เห็น
พระมหาชนก ได้ว่ายมา 7 วัน 7 คืน
ก็เกิดความอัศจรรย์
จึงได้ไปลองใจ พระมหาชนก
.
.
.
จึงได้ลงไปพบพระมหาชนก
แล้วกล่าวกับพระมหาชนกว่า
.
.
.
"ฝั่งมหาสมุทร ลึกจนประมาณมิได้
ความพยายามของท่านจะเปล่าประโยชน์
ไม่ทันถึงฝั่งท่านก็จะตาย"
.
.
.
พระมหาชนกตอบกลับไปว่า
.
.
.
"ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการทำงานที่ทำ
จะไม่ลุล่วงไปได้จริงๆ และผู้นั้นละความเพียร
พยายามเช่นนั้นเสีย ก็จะเกียจคร้าน
หากเรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นไม่สำเร็จ
ก็คงเกียจคร้านที่จะทำตั้งแต่แรกเริ่ม"
.
.
.
นางมณีเมขลา คิดในใจว่า
จริงอย่างที่พระมหาชนกกล่าว
หากใครรู้แต่แรกว่างานที่ทำนั้นจะไม่สำเร็จ
ก็จะล้มเลิกความตั้งใจ
และไม่พยายามทำการงานนั้นต่อไป
.
พระมหาชนกกล่าวต่อว่า : "เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งมหาสมุทร"
.
.
.
นางมณีเมขลา ได้กล่าวว่า "วาจาท่านนั้นชั่งมั่นคงยิ่งนัก ท่านจงไปสถานที่ที่ใจท่านยินดีนั้นเถิด"
.
.
.
จิตของพระมหาชนก นึกถึงเมืองมิถิลานคร
.
.
.
นางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร
ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้สวรรคตเหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป
.
.
.
แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอมาตย์จึงเชิญ
พระมหาชนก ไขปริศนาต่างๆ ได้
ทรงอภิเษกกับพระมเหสีสีวลีเทวี
และครองราชสมบัติโดยธรรมสืบไป
เราได้อะไรจากเรื่องพระมหาชนกบ้าง
1. ความเพียรพยายาม เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน
ให้สำเร็จ หากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน
เราจะตั้งมั่นที่จะทำมันให้สำเร็จ
.
.
.
แม้มันจะยากลำบากก็ตามที่
เหมือนที่พระมหาชนก ว่ายน้ำ 7 วัน 7 คืน
อย่างไม่ย่อท้อ จนนางมณีเมขลา
มาช่วยเหลือ พาไปที่เมือง มิถิลานคร
เหมือนช่วงนี้ ที่เราต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อให้เชื้อโควิด19 ไม่แพร่กระจายตัวไปในวงกว้าง
เราต้องใช้ความพยายามที่จะทำในสิ่งที่ยาก
และฝืนจิตใจตนเอง อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน
แต่เพื่อส่วนรวม ถ้าเราสามัคคี ทำพร้อมกัน การงานที่ทำครั้งนี้ ก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีครับ
2.มีกำลัง ความเพียรหากปราศจากร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ย่อมที่จะไม่สามารถทำได้ดั่งใจนึก เราจึงต้องหมั่นเพียร เสริมสร้างพละกำลังให้แข็งแรง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพจิตใจของเราครับ
3.มีสติปัญญา ครั้นเมื่อพระมหาชนกรู้ว่าจะมีพายุมาได้เตรียมตัวทาน้ำมัน เพื่อป้องกัน เหล่าสัตว์ร้ายในทะเล มีสติกระโดดจากกระโด่ง เรือไปให้ไกลที่สุด เพื่อให้พ้นการอับปางของเรือ และก่อนว่ายกำหนดทิศทางไปที่เมืองมิถิลา
วันนี้เรามีทิศทางที่ชัดเจนคือการกักตัว 14 วัน เพื่อให้คนที่ติดเชื้อ ได้แสดงอาการ ออกมาแล้วเราจะทราบว่าจะจัดการกันอย่างไร ถ้าทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน ไปกับทิศทางนี้ย่อมลดการแพร่เชื้อและความสูญเสียได้ครับ
เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
หากบทความนี้มีประโยชน์
สัมผัสเบา ๆ จากปลายนิ้วท่าน
สามารถให้กำลังใจเล่าหุ้นได้ง่าย ๆ
โดยการ
กดไลค์ = ชอบ
กดแชร์ = เห็นว่ามีประโยชน์
คอมเม้นต์ = เพื่อติชม และเป็นกำลังใจ
🔜 วันนี้ติดตามเพื่อรับข่าวสารหรือพูดคุยกัน
ได้แล้วทาง line open chat เล่าหุ้นให้มันง่าย
ขอบคุณภาพสวยๆจาก
-mthai
เรียบเรียงและวิเคราะห์
เล่าหุ้นให้มันง่าย
โฆษณา