24 มี.ค. 2020 เวลา 14:24 • ประวัติศาสตร์
สีโบราณในงานจิตรกรรมไทย
สีไทยเป็นสีที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว เป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนาน
แต่เดิมนั้น สีส่วนใหญ่ได้จากวัตถุดิบที่หาได้ในธรรมชาติ ทั้งจากพืช สัตว์ ดิน หินและแร่ธาตุต่างๆ
แต่ด้วยกรรมวิธีผลิตสีโบราณที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ทำให้บางสีมีราคาสูง ทำให้มีสีสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาทดแทน ทำให้ ความรู้เรื่องสีไทยโบราณ ค่อยๆเลือนหายและกำลังจะหายไปจากสังคม ไทย
มาทำความรู้จักกับที่มาที่ไปของสีโบราณของไทยบางสี ซึ่งได้จาก ธรรมชาติทั้งจากพืช สัตว์ ดิน หินและแร่ธาตุต่างๆกันเถืด
สีเหลือง ได้จากยางไม้ต้นรงทอง เรียกว่า gamboge ให้สีเหลืองรง
สีน้ำเงินเข้ม ได้จากการหมักต้นคราม Indigofera tinctoria
คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำคราม เมื่อได้น้ำครามแล้วจึงจะนำมาย้อมผ้า การหมักนั้นมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก เรียกว่าการ ‘เลี้ยงคราม‘ ซึ่งต้องทำให้ถูกวิธีจึงจะได้สีคราม
สีเขียวแก่ ได้จากการนำใบแคที่แก่จัดๆ มาบดหรือตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาหมักและตากให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด จะได้เนื้อสีเขียวเข้ม
หรือสีเขียวใบแค
สีแดง ได้จากแร่ “ซินนาบาร์” (Cinnabar) HgS ให้สีแดงชาด
สีเขียวอมฟ้า(เทอควอยซ์) ได้จากสนิมทองแดง ให้สีเขียวตั้งแช
สีขาว ได้มาจากเปลือกหอยแม่น้ำผุ เช่นหอยกาบ หอยแครง ที่ต้องรอให้ผุโดยการปล่อยตากแดดตากฝนตากลมไว้เป็นเวลานานเผื่อให้ส่วนที่เป็นคราบดำๆหลุดร่วงออก แล้วจึงนำมาฝนและนำมาบดในโกร่งให้ละเอียด ให้สีขาวผ่อง
สีที่ได้จากธรรมชาติสามารถนำมาผสมเกิดเป็นสีต่างๆได้มากมาย และมีวิธีเรียกชื่อแบบไทยๆ ทำให้เกิดอัตลักษณ์ในสีแบบไทยๆ
เช่น หงเสน (สีแดงเสนผสมสีขาว) น้ำไหล (สีคราม+สีขาวเจือเหลืองรง) ควายเผือก ( สีแดงลิ้นจี่+สีขาวผ่องเจือรง)
นับเป็นเรื่องดีที่ปัจจุบันได้มีการตื่นตัว สืบสานต่อยอด เป็นการต่อลม หายใจภูมิปัญญาครูช่างแต่โบราณ ในเรื่องสีโบราณของไทย โดยนำกลับมาผลิตใหม่ ทำให้สีไทยแต่โบราณซึ่งมีขั้นตอนผลิตที่ซับซ้อนและยุ่ง ยาก ได้กลับฟื้นคืนชีพมามีลมหายใจอีกครั้ง
โฆษณา