25 มี.ค. 2020 เวลา 11:46 • ธุรกิจ
กับดักเศรษฐกิจ
ที่ไทยก้าวไม่ข้าม
ดูจากในชาร์ทแล้วจะเห็นได้ว่าประเทศไทยเหงาอยู่คนเดียวตรงมุมซ้ายล่างเป็นประเทศเดี๋ยวในภูมิภาคที่ทั้งอัตราเติบโตจีดีพีและจีดีพีต่อหัวต่ำ
1
ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างสิงคโปร์ ไต้หวันเกาหลีใต้ หรือแม่กระทั่งญี่ปุ่น แม้ว่าตอนนี้ได้สูญเสียโมเมนตัมการโตเศรษฐกิจไปแล้วก็จริง แต่ประเทศที่เจริญแล้วพวกนี้ได้ชะลอตัวตอนที่รายได้ต่อหัวนั้นอยู่ในระดับที่สูงแล้ว ในทางกลับกันประเทศไทยดูเหมือนว่ากำลังเจอการชะลอตัวเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยที่ระดับรายได้ยังต่ำอยู่และความไม่เท่าเทียมของรายได้ยังสูง สาเหตุที่ประเทศเราติดอยู่ในจุดนี้เป็นเพราะอะไร?
มองย้อนกลับไปตอนก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 ระหว่างปี 1985 ถึง 1995 ไทยเราโตจีดีพีในอัตรา 9% ต่อปี ช่วงเวลา 10 ปีนี้บางคนอาจจำได้ว่าเป็นช่วงที่ธุรกิจลงทุนหนักแล้วถือหนี้เยอะ เป็นเหตุให้เจอบทเรียนเป็นครั้งใหญ่เมื่อวิกฤตต้มยำกุ้งมาเยือน ในช่วงนั้นนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่หวังว่าหลังวิกฤตผ่านพ้นไปประเทศไทยก็จะกลับมาเริ่มลงทุนใหม่และสืบสานการพัฒนาศักยภาพประเทศต่อไป
สุดท้ายแล้วความหวังนี้ก็ไม่บังเกิดโดยเศรษฐกิจได้มีการชะลอตัวจากระดับช่วงก่อนวิกฤติ 10 ปีที่ผ่านมานี้อัตราเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ 3% นิดๆเท่านั้นเอง
โลกปัจจุบันเป็นโลกที่ทุกประเทศต้องเลือกระหว่างอัตราการเติบโตและความมั่นคง
เศรษฐกิจ จะขอทั้งสองอย่างนั้นเป็นไปได้ยาก สำหรับประเทศไทยนั้นดูเหมือนว่ากว่า 20 ปีที่ผ่านมา เราได้เลือกความมั่นคงและเสียสละการเติบโต
รอยแผลเป็นของวิกฤตต้มยำกุ้งนั้นทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนระมัดระวัง(เกินไป) :
(1) หนี้ต่อจีดีพีของภาคเอกชน (ครัวเรือนและบริษัท) อยู่ที่ประมาณ 120% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำ
(2) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure spending) ต่อจีดีพีของไทยนั้นไม่ถึง 2% เป็นระดับที่ต่ำเกือบที่สุดในภูมิภาค
(3) การสะสมทุนเบื้องต้น (fixed capital formation) ของประเทศอยู่ที่ประมาณ 23% ของจีดีพีเทียบกับจีนที่มากกว่า 40% และน้อยกว่าประเทศที่เจริญแล้วอย่างเกาหลีเสียอีก
(4) บริษัทไทยเป็นที่รู้กันว่ามีแนวโน้มถือเงินสดหรือใช้ทุนไปลงต่างประเทศแทนที่จะใช้ลงทุนในประเทศ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศก็คือการลงทุนโดยตรงสุทธิ (net FDI) ซึ่งในสามปีที่ผ่านมาติดลบอยู่ประมาณ 2% ของจีดีพี
สรุปแล้วช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดจากตัวเลขพวกนี้ว่าประเทศไทยลงทุนไม่พอ
ประเทศเรามีข้อดีอยู่หลายประการ (1) มีดุลบัญชีเดินสะพัด(current account surplus) ที่สูง (2) หนี้สกุลเงินต่างประเทศต่ำ (3) การขาดดุลบัญชีคลัง (fiscal deficit) ที่ควบคุมได้ดี (4) ภาคธนาคารที่ปล่อยกู้อย่างรอบคอบและบริษัทภาคเอกชนที่ปรับมัดระวังในการกู้ยืม ปัจจัยพวกนี้ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความมั่นคงสูง นักลงทุนต่างชาติมองว่าไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตามความมั่นคงนี้เราไม่ได้ได้มาฟรีแต่จำเป็นต้องเอาอัตราการเติบโตและการยกระดัศักยภาพเศรษฐกิจมาเป็นตัวแลก
โลกปัจจุบันเป็นโลกที่ไดนามิค เป็นโลกที่สนับสนุนผู้ที่ยอมพัฒนาและลงทุนอย่างมี
ประสิทธิภาพ ถ้าไทยเรายังคงพอใจกับการ “play it safe” สักวันเราอาจตื่นมาเห็นประเทศเพื่อนบ้านแซงเราไปหมดก็ได้
โฆษณา