28 เม.ย. 2020 เวลา 01:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Aero L-39 Albatros นกทะเลผู้สร้าง"นักบินรบ"
ที่มารูปภาพ: https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:L-39ZA_Albatros_(cropped).jpg#mw-jump-to-license
เมื่อพูดถึงเครื่องบินรบแล้ว หลายๆคนคงคุ้นกับชื่อของเครื่องบินรบยอดฮิตอย่าง F-16 Viper, F-22 Raptor หรือ F-18 Hornet
แต่คงมีจำนวนน้อยเท่านั้นที่เคยได้ยินชื่อของเจ้า Aero L-39 Albatros
Aero L-39 เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึกหัด
ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Aero Vodochody จากประเทศเช็คโกสโลวาเกีย
ที่มารูปภาพ: https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:Aero_(Unternehmen)_Logo.svg
ตัวโปรเจคถือกำเนิดขึ้นในช่วงปี1970 ภายใต้การนำทีมของวิศวกรชาวเช็คที่มีชื่อว่า Jan Vlček
ที่มารูปภาพ: https://live.staticflickr.com/8870/18042052101_9d8bf479c2_b.jpg
โดยเครื่องบิน L-39 ลำแรก(รุ่นต้นแบบ)ได้บินขึ้นครั้งแรกในวันที่ 4 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1969
เมื่อถึงปี ค.ศ.1972 เครื่องบินรุ่น L-39 ก็ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในกลุ่ม Warsaw Pact ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างได้เลือกซื้อเจ้า L-39 ไปใช้ในฐานะของเครื่องบินฝึกหัด
ที่มารูปภาพ: http://airforcephotos.blogspot.com/2011/12/l-59-super-albatros_9202.html
ตลอดจนถึงปลายปี ค.ศ.1980 มีการคาดการณ์ว่าในทุกๆปี L-39 ถูกขายไปเป็นจำนวนถึงปีละ 200 ลำ
ในช่วงทศวรรษที่1990 ภายหลังจาการสลายตัวของสหภาพโซเวียตได้ไม่นาน Aero Vodochody ซึ่งเป็นผู้ผลิต ก็ได้ตัดสินใจที่จะปรับปรุงเครื่อง L-39 ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
โดยการปรับปรุงดังกล่าว จะทำการเลือกใช้เครื่องยนต์, ระบบภายในเครื่องบิน และระบบอาวุธ จากกลุ่มประเทศตะวันตก แทนระบบเดิมที่เคยใช้กับกลุ่มประเทศของสหภาพโซเวียต
ภายในห้องนักบินของ L-39 ที่มารูปภาพ: http://www.warbirdalley.com/articles/l39pr.htm
ซึ่งช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ที่บริษัท Aero Vodochody ได้ทำการเซ็นสัญญากับบริษัทจากประเทศอิสราเอล ชื่อว่า Elbit Systems ในการส่งออกเครื่องบิน L-39 ที่ได้รับการปรับปรุงในด้านของระบบต่างๆบนเครื่อง และระบบไฟฟ้า ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นอีก หลังจากนั้นไม่นาน L-39ZA/ART รุ่นนี้เองก็ได้เข้าประจำการกับกองทัพอากาศไทย
L-39 ของกองทัพอากาศไทย ที่มารูปภาพ: https://www.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5FZXBunKZHmJzqg7usTIgzbJukRYy2YW9G9xTfNojhogEsb2AarYED.jpg
แต่เมื่อมีขึ้นก็ย่อมมีลง ยอดขายของ L-39 ค่อยๆลดลง,ปัญหาทางด้านเงินทุนของรัฐบาลที่ไม่เพียงพอจะสนับสนุน ผนวกกับข้อกังขาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของตัวเครื่องบินเอง
ปัญหาที่รัดตัวเหล่านี้ทำให้สายการผลิต L-39 ต้องปิดไปในปีค.ศ.1996
ต่อจากประวัติแล้ว เรามาดูที่สเปคของเครื่อง L-39 กันบ้างครับ
เครื่อง L-39 ได้รับการออกแบบมาให้เป็น เครื่องบินฝึกหัดเครื่องยนต์ไอพ่นเดี่ยว ซึ่งมีความสามารถในการทำการโจมตีจากอากาศสู่ภาคพื้นได้เช่นกัน
L-39 รุ่นแรกๆจะมีการใช้เครื่องยนต์ไอพ่น Ivchenko AI-25TL ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยสหภาพโซเวียต ก่อนที่ภายหลังจะได้มีการเปลี่ยนรุ่นของเครื่องยนต์ใหม่
เครื่องยนต์ Ivchenko AI-25TL ที่มารูปภาพ: https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:Ivchenko_AI-25TL_Hu_Szolnok_01.jpg
สำหรับความโดดเด่นของ L-39, สิ่งที่จะต้องพูดถึงเลยคือ ความคุ้มค่า,ความเรียบง่าย และความหลากหลายของมัน อีกทั้งยังสามารถซ่อมบำรุงได้ง่ายเมื่อเทียบกับเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ที่ทำภารกิจคล้ายๆกัน
ที่มารูปภาพ: https://www.airforce-technology.com/projects/aerol39trainer/
และในปัจจุบัน หลังจากที่L-39ได้ประจำการกับกองทัพอากาศไทยมาเป็นเวลานาน ทางกองทัพอากาศได้มีแผนการในการจัดหาเครื่องบิน ฝึก/โจมตีเบา รุ่นใหม่เข้ามาทดแทน เพื่อลดภาระในเรื่องของอะไหล่และการซ่อมแซม รวมไปถึงการเสริมให้เครื่องบินฝึกมีความสามารถที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
และสุดท้ายขอจากกันไปด้วย ข้อมูลสมรรถภาพของเครื่องบิน L-39 ครับ
ที่มารูปภาพ: https://www.militaryfactory.com/aircraft/detail.asp?aircraft_id=436
ความยาว :12.13 เมตร
ความกว้างปีก: 9.46 เมตร
เครื่องยนต์: Ivchenko AI-25TL ให้แรงขับ 16.87 กิโลนิวตัน
ความเร็วสูงสุด: 750 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ระยะบิน: 1,100 กิโลเมตร
เพดานบิน: 11,000 เมตร (36,000 ฟุต)
น้ำหนักของอาวุธที่บรรทุกได้: 284 กิโลกรัม
ขอบคุณที่อ่านบทความของผมนะครับ ถ้ามีเรื่องใดที่สงสัยและอยากเสนอ สามารถแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างได้เลยนะครับ :)
ถ้าชื่นชอบติดตามกันได้ที่
แล้วเจอกันในบทความหน้านะครับ
โฆษณา