-ความรู้สึกที่มีต่อความสะอาด
-ความรู้สึกที่มีต่อคนแปลกหน้า
-ความใกล้ชิดจะมีระยะห่างกว่าเดิม
-การใช้จ่ายจะมีสติมากขึ้น ใช้เท่าที่จำเป็น
-ความหรูหราจะเอ็กซ์คลูซีฟขึ้นไปอีก
-ราคาถูกจะเท่ากับ "คนเยอะ"
-การเดินทางสาธารณะจะเปลี่ยนไป
-โรงหนังและโรงละครอาจต้องออกแบบใหม่
-คนอาจเปลี่ยนวิธีเสพมหรสพไปพักหนึ่ง
-คอนเสิร์ต อีเวนต์ งานรื่นเริง เปลี่ยนโฉม
-มหกรรมนานาชาติอย่างโอลิมปิก บอลยูโร มาราธอนเมเจอร์ จะต้องดูแลความปลอดภัยทางสุขภาพอย่างเคร่ดครัด
-งบเรื่องความสะอาดมากขึ้น ทำให้ค่าตั๋วต่างๆ แพงขึ้นตาม
-การเรียนการสอนอาจไม่จำเป็นต้องเข้าห้องเรียน 100% แบบเดิม
-การประชุมก็เช่นกัน นั่นอาจส่งผลต่อพื้นที่ออฟฟิศ
-การจัดโต๊ะในร้านอาหารน่าจะห่างกันมากขึ้น
-เดลิเวอรี่คงวิ่งกันไปทั่วอีกสักพัก
-ถ้าคนติดนิสัยสั่งของ-รอส่งแล้ว อาจขี้เกียจออกจากบ้านไปที่ร้าน หรือออกไปในกรณีพิเศษเท่านั้น
-เทคโนโลยีจะถูกคิดค้นเพื่อสนับสนุนให้คนรักษาระยะห่างได้สะดวกมากขึ้น
-การสื่อสารน่าจะพัฒนาไปอีกมาก และเร็วขึ้นอีก
-โฮโลแกรมอาจจะเวิร์ก หรือเจอกันแบบ virtual reality ถ้าทำได้เร็วในช่วงนี้ก็อาจสร้างนิสัยใหม่ได้
-สังคมไร้เงินสดอาจเกิดขึ้นไวกว่าเดิม เพราะคนไม่อยากจับธนบัตร รู้สึกว่ามันผ่านมือมาเยอะ
-คนจำนวนหนึ่งน่าจะนอยด์อาหารดิบไปพักใหญ่
-เกษตรน่าจะเป็นทางเลือกของคนจำนวนหนึ่ง ในแนวกินใช้ของที่ตัวเองผลิตและเพาะปลูก
-กำลังซื้อที่น้อยลงอาจต้องการกำลังผลิตที่น้อยลง อาจมีคนตกงานจำนวนมาก
-บวกกับ AI ที่ลดความต้องการแรงงานด้วย นับเป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย
-สวนสาธารณะอาจเป็นที่พึ่งของคนที่ไม่อยากใช้เงิน และไม่อยากเข้าไปอยู่ในที่ปิดกับคนอื่น
-กิจกรรมในสวนสาธารณะอาจมีมากขึ้น
-เทรนด์ใช้ของให้คุ้มค่าอาจจะมา ของเก่า ของทน อยู่นาน
-ตลาดของมือสองอาจจะมา ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
-อีเวนต์นี่น่าสนใจมากว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าคนจะเลิกนอยด์แล้วเข้าร่วมอีเวนต์ตามปกติ
-ของไซส์เล็ก ราคาต่อหน่วยถูกลง อาจมีคนซื้อมากขึ้น
-ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตน่าจะสำคัญขึ้นไปอีก
-อีกฝั่งอาจเหวี่ยงไปพึ่งพาศาสนา จากความเปลี่ยนแปลงนี้
-mindfulness การภาวนา ปฏิบัติธรรม อาจได้รับความสนใจมากขึ้นอีก
-การหย่าร้างก็เป็นไปได้ หากได้รับผลจากเศรษฐกิจ
-เทรนด์การเข้ามาทำงานในเมืองจะเปลี่ยนไหม หากเศรษฐกิจลดขนาดลง ความต้องการแรงงานอาจไม่เท่าเดิม
-อาจส่งผลต่อตลาดคอนโดฯ ราคาถูก ห้องเช่า อพาร์ตเมนต์
-หากมีคนตายเยอะจริง ความคิดเกี่ยวกับความตายอาจเปลี่ยนไป การพยายามอยู่เป็นอมตะอาจลดลง
-อีกด้านกลับคือเอ็นจอยชีวิตปัจจุบันมากขึ้น
-ซึ่งการเอ็นจอยชีวิตอาจไม่ได้หมายถึงการซื้อวัตถุสิ่งของ แต่คือความสุขในใจจากการใช้เวลากับสิ่งที่มีคุณค่าทางใจ
-อาจมีการตั้งคำถามกับการทำงานหนัก ว่าจะขยันไปทำไมในเมื่อชีวิตมันไม่แน่นอน
-จำนวนหนึ่งอาจหันไปใช้ชีวิตเรียบง่ายขึ้น ทำงานน้อยลง ใช้จ่ายน้อยลง
-ขณะที่อีกทาง เทคโนโลยีอาจช่วยขายของมากขึ้นไปอีก
-บางแห่งที่นักท่องเที่ยวลดลงแล้วสภาพแวดล้อมดีขึ้นอาจมีนโยบายบริหารการท่องเที่ยวต่างไปจากเดิม ลดจำนวนแต่เพิ่มรายได้
-การท่องเที่ยวอาจกลายเป็นของแพงกว่าเดิม สายการบินจำนวนหนึ่งอาจล้มหายตายจากไป
-เด็กรุ่นใหม่จะโตขึ้นมาในโลกที่มีโลกทัศน์ต่อสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนเดิม ความสะอาด คนแปลกหน้า กิจกรรมสาธารณะ รออีกสักพักว่าจะกลับไปเหมือนเดิมไหม
-มนุษย์เคยเปลี่ยนจากไม่ใส่รองเท้ามาสวมรองเท้า ครั้งนี้จะเปลี่ยนไปเป็นอะไรไหม
-สัดส่วนคนสูงวัยจะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน เทรนด์ ageing society จะเปลี่ยนจากเดิมไหม
-เรื่องแต่ง นิยาย หนัง จะได้แรงบันดาลใจเกี่ยวกับโรคระบาดให้ไปคิดต่อเป็นอย่างอื่นอีกเยอะมาก
-ความกังวลเรื่องความใกล้ชิด กอด จูบ สัมผัสคนที่เพิ่งเจออาจทำให้การมีเซ็กซ์แบบชั่วครั้งชั่วคราวคิดหนักขึ้นในช่วงโรคระบาด
-สบู่ล้างมือส่วนผสมใหม่ๆ ที่อ้างว่าสะอาดกว่าเดิมน่าจะถูกปล่อยออกมาขาย
-บานประตูสาธารณะถูกเปลี่ยนเป็นเปิดอัตโนมัติมากขึ้น
-ลูกบิดประตูยอดตก
-ก๊อกน้ำ ที่กดชักโครก โถฉี่ สวิตช์ไฟ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอัตโนมัติ
-ช่างตัดผม หมอนวด อาชีพให้บริการใกล้ชิดต้องปรับเปลี่ยน เหมือนสมัยเปลี่ยนใบมีดใหม่ทุกครั้งที่โกนเครา
-งบประมาณสาธารณสุขอาจถูกให้ความสำคัญมากขึ้น เฉลี่ยมาจากงบอาวุธ
-ผู้คนคงให้ความสำคัญกับการเลือกผู้นำมากยิ่งกว่าเดิม เพราะได้เห็นว่าในภาวะวิกฤตนั้นการบริหารงานและการตัดสินใจของผู้นำมาผลต่อความเป็นความตายของประชาชนจริงๆ