27 มี.ค. 2020 เวลา 12:12 • ประวัติศาสตร์
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย
รุนแรงจนทำให้อาณาจักรโบราณล่มสลายโดยตำนานโบราณเชื่อว่าเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของพญานาค
ปลาออร์(oarfish)
มีตำนานเก่าแก่ที่เกี่ยวกับพญานาค
“เมืองหนอง หรือ เวียงหนอง” หรือบ้างก็เรียกว่า “เวียงหนองหล่ม ” เกี่ยวกับอาณาจักรโบราณโยนกนาคพันธุ์
เมืองโยนกนาคพันธ์ตามตำนานนั้น มีความเชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่ได้รับความช่วยเหลือจากพญานาคในการสร้างเมือง ชาวเมืองแห่งนี้จึงบูชาพญานาคและเปรียบให้ผู้คนคือพงษ์พันธุ์ของพญานาค
เมืองโยนกได้เจริญรุ่งเรืองมีกษัตริย์ครองเมืองต่อมาหลายพระองค์จนถึงสมัยพระองค์มหาไชยชนะ ได้เกิดเหตุการณ์ประหลาด เมื่อชาวเมืองจับปลาไหลเผือกยักษ์จากแม่น้ำกกได้ จึงนำมาถวายให้กษัตริย์ พระองค์ได้ละเมิดกฎของบรรพกาล พระองค์สั่งให้นำเนื้อของปลาไหลไปแบ่งให้ทั้งเมืองได้กินและในคืนนั้นเองเมืองโยนกก็ล่มสลายลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพญานาคผู้ช่วยสร้างเมือง
ตำนานเล่าว่าเหตุจากคนทั้งเมืองกินปลาไหลเผือก ซึ่งถือว่าปลาไหลเผือกเป็นลูกหลานของพญานาค ซึ่งกฎข้อห้ามโบราณที่ชาวโยนกปฎิบัติสืบต่อกันมา คือ ห้ามบริโภคสัตว์จำพวกงูและปลาไหล เพราะเชื่อว่าสัตว์พวกนี้คือต้นตระกูลของพญานาคที่เคยช่วยสร้างเมืองเมื่อครั้งก่อน
ปลาไหลเผือก ภาพจาก:chiangraifocus.com
สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับตำนานโยนกจมใต้บาดาล
จากตำนานโบราณนี้ มีนักประวัติศาสตร์พยายามแกะรอยจากพงศาวดาร จนสันนิฐานได้ว่า เหตุแท้จริงอาจมาจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในยุคนั้น
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ อาณาจักรโยนกเชียงแสน" หรือ "โยนกไชยบุรีศรีช้างแส่น" แคว้นโบราณที่ครองอาณาเขตไม่ไกลจากแม่น้ำโขงนัก ในจังหวัดเชียงราย
มีจุดศูนย์กลางการปกครองคือเมืองโยนกนาคพันธุ์ หรือ (นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร) ที่ว่ากันว่าก่อกำเนิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และสิ้นสุดจากเหตุน้ำท่วมเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 จนกลายเป็น "เวียงหนองหล่ม" ในปัจจุบัน แต่ข้อมูลล่าสุดของนักธรณีวิทยาพบว่า พื้นที่แห่งนี้อาจมีอายุมากกว่า 1,800 ปีที่แล้ว
บันทึกประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตได้กล่าวถึง อาณาจักรโยนก ปัจจุบันคือที่พื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ว่าเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยหนึ่ง
โดยพงศาวดารโยนกบันทึกว่า ในคืนวันเสาร์ เดือน 7 แรม 7 ค่ำ พ.ศ.1003
“...สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียง เหมือนตั้งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวประดุจว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง
ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ดังซ้ำเข้ามาเป็นคำรบสอง แล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลง เกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้นคน ทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น...”
จนเมื่อไม่นานมานี้มีนักโบราณคดีของกรมศิลปากร รวมทั้งนักธรณีวิทยาของกระทรวงทรัพยากร ลงสำรวจพื้นที่ดังกล่าว เพื่อค้นหาหลักฐานที่สามารถเชื่อมโยงให้เห็นว่าอาณาจักรโยนกหรือ “โยนกนาคพันธุ์” ล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำด้วยภัยพิบัติแผ่นดินไหว จะมีความสมเหตุสมผลประการใด ซึ่งในอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยมีการสำรวจในเชิงลึกเช่นนี้มาก่อน
ภาพจาก: https://www.geothai.net/how-to-be-a-geologist/
การลงพื้นที่สำรวจได้พบหลักฐานทางโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งในบริเวณหนองน้ำ นักธรณีวิทยาได้ทำการตรวจสอบซากอิฐโบราณ และใช้เครื่องมือวัดรังสีแบบ (Optically Stimulated Luminescence)
จนได้ข้อมูลว่าวัตถุโบราณที่พบมีอายุกว่า 1,800 ปีสอดคล้องกับเอกสารโบราณที่ปรากฏบนพงศาวดารเก่าแก่และหลักฐานแนวรอยเลื่อนทางธรณีวิทยา
รวมทั้งรอยเลื่อนน้ำมาของฝั่งพม่า วางตัวขนานกับรอยเลื่อนแม่จันและรอยเลื่อนเชียงแสน คือพื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร ช่วงรอยต่อระหว่าง อ.แม่จัน กับ อ.เชียงแสน หรือชาวบ้านเรียกว่า “เวียงหนองหล่ม” ดังนั้งจึงยืนยันได้ว่าบริเวณนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวจริง
แต่ปัญหาเนื่องจากในประเทศไทยข้อมูลเรื่องของการบันทึกทางประวัติศาสตร์มันค่อนข้างมีน้อย จึงต้องศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และทางประวัติศาสตร์มาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นแนวทางที่สามารถนำไปศึกษาต่อไป
อย่างไรก็ตามในช่วงหมื่นปีหรือหลายพันปีที่ผ่านมา มีหลายอารยธรรมได้เกิดขึ้นและก็สิ้นสุดลงไปด้วยหลากหลายสาเหตุ และนี่คือหนึ่งหลักฐานที่ทำให้ทราบถึงอดีต ครั้งหนึ่งเคยมีอาณาจักรถูกภัยพิบัติจากธรรมชาติเล่นงานจนสิ้นสุดลง
🙏กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจ❤️
ขอบพระคุณครับ
ยูทูป ชาแนล: ช่องส่องผี
โฆษณา