27 มี.ค. 2020 เวลา 08:43 • ธุรกิจ
Update สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทย EP.1 (27/03/63)
โดยพื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
สถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันกับโรคระบาดที่โลกเรากำลังเจออยู่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและบริโภคโดยรวมของโลกโดยตรง
*บทความนี้เนื้อหาค่อนข้างหนักมาก
กรุณาเตรียมใจก่อนอ่านครับ
การส่งออกของประเทศไทยมีสัดส่วนประมาณ​ 68 - 70% ในส่วนของการคำนวณ GDP
จากสมการ
GDP = C + I + G + (X - M)
โดยที่ X = การส่งออก
และ M = Import
ส่วนตัวแปรอื่นๆนั้นเราค่อยไปว่ากัน อีกครั้ง
ประเด็นคือ ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับภาคบริการ
นั่นทำให้เมื่อการส่งออกของเราได้รับผลกระทบ จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของเราสะเทือนไปทั้งระบบ!
ในปี 2561 เมื่อเรามองการส่งออกเป็น 100%
จะสามารถแบ่งสัดส่วนได้ดังภายด้านล่างนี้ครับ
เช่นเดียวกันในปี 2562 เมื่อเรามองการส่งออกเป็น 100% เราจะพบว่ามันมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย ดังภาพด้านล่าง
ทุกท่านจะสังเกตได้ว่า สินค้าเกษตรกรรมที่เกี่ยวพันกับ "ผู้คน" จำนวนมาก มีสัดส่วนการส่งออกที่ลดลง
ในขณะเดียวกัน สินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ "เม็ดเงิน" จำนวนมากนั้นมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น
สิ่งนี้สะท้อนให้เราเห็นอะไรหลายๆอย่างครับว่า.....อันที่จริงแล้ว ประเทศเราไม่ได้เป็นประเทศเกษตรกรรม (มานานแล้ว)
แต่เป็นประเทศอุตสาหกรรมต่างหาก
*เราเป็นแบบนี้ด้วยโครงสร้าง ดังนั้นเวลาที่มีงบประมาณอะไรลงมา เราจะเห็นได้ว่า
ฝั่งอุตสาหกรรมมันจะพัฒนาได้อย่างเป็นระบบ
และไปได้ไกลกว่าภาคเกษตรกรรม
เมื่อเราดูศักยภาพด้านการส่งออกในปี 2562 เทียบกับ ปี 61
เราจะพบว่า ปี 62 เม็ดเงินด้านการส่งออกเราหายไปประมาณ 480,000 ล้านบาท นั่นคือการส่งออก ของปี 62 มีอัตราการขยายตัวติดลบ 5.93%
GDP growth -5.93% เมื่อเทียบกับปี 61
จุดนี้ผมเคยเขียนไปแล้วว่ามีความเกี่ยวข้องโดยตรงจาก "สงครามการค้า"
และ ใน ปี 2563 นี้สถานการณ์ด้านการส่งออก จะเลวร้ายยิ่งไปกว่านั้นอีกแน่นอนครับ!
โดยปัจจัยหลักคือ "COVID-19"
ทำให้ห่วงโซ่การผลิต และ การบริโภคทั่วโลกหยุดชะงักไป
ผมขอยกตัวอย่างด้านอุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งประเทศเราเป็นฐานการผลิตและมีสัดส่วนเม็ดเงินที่ค่อนข้างสูง
หลายๆบริษัทได้มีการพิจารณาเรื่องการหยุดพักไลน์การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กันมาบ้างแล้ว ไม่นับฟอร์ดเมื่อตอนต้นปีนะครับ แม้แต่
มาสด้า และ ฮอนด้าก็เตรียมปิดโรงงาน
ในระยะเวลาหนึ่งเพื่อลดผลกระทบจาก COVID-19
ซึ่งจุดนี้เกี่ยวพันกับการจ้างงานเป็นจำนวนมากครับ...
ย้อนกลับมาดูสถานการณ์การส่งออก
ในระยะ 2 เดือนแรกของปี 2563 กันครับว่า
สถานการณ์เรื่อง COVID-19 มันส่งผลกระทบ
กับการส่งออกของเราจริงๆรึเปล่า
เราจะมาดูรายละเอียดกันทีละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ครับ
1.สินค้าเกษตรกรรม
2.สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
3.สินค้าอุตสาหกรรม
4.แร่และเชื้อเพลิง
วันนี้เรามาดูในส่วนของสินค้าเกษตรกรรมกันครับ
ขออ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากบทความชิ้นเก่าของผม ในส่วนของซีรีย์เจาะลึกโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทยครับ
โครงสร้างการส่งออกของกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมเป็นดังนี้
*หากท่านใดอยากอ่านเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ลิ้งด้านล่างนี้ครับ
1. สินค้าเกษตรกรรม
1.1 สินค้ากสิกรรม
สินค้ากลุ่มนี้มีปัญหาเกิดขึ้นครับ นอกจากที่เราจะส่งออกได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแล้ว......
สาเหตุที่มันลดลงมาขนาดนี้ เพราะผลผลิตเราลดลงเนื่องจากภัยแล้งด้วย
*ใครที่ยังไม่ได้อ่านเรื่องภัยแล้ง
สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่บทความตามลิ้งนี้ครับ
ทำไมผมถึงมั่นใจว่ามันเกิดจากภัยแล้ง
นั่นเพราะมูลค่าส่งออก "ข้าว" ของเราลดลงไปประมาณ 9,400 ล้านบาท
การที่ส่งออกลดลงระดับหมื่นล้านเป็นนั่นแสดงว่าเรามีปัญหาใหญ่ในเรื่องของการผลิตครับ
*ทำไมผมถึงไม่สรุปว่า ปัญหาเรื่องข้าวมาจาก COVID-19 ตรงๆ นั่นก็เป็นเพราะว่า ลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อข้าวเราในปริมาณมากไม่ได้มาจากจีน
แต่มาจากฝั่ง "อเมริกา" ครับ
อ้างอิงข้อมูลจากปี 2562 ดังภาพด้านล่าง
http://tradereport.moc.go.th/DashBoard/Default.aspx
สถานการณ์เรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มเมื่อประมาณปลายเดือนธันวาคม 2562 และเริ่มแสดงผลของมันออกมาราวๆ กลางเดือน มกราคม 2563
ระหว่างนั้น อเมริกา ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเรายังไม่มีการปิดประเทศหรือระงับการส่งออก นำเข้า
ดังนั้นผมจึงสรุปว่า
"ปัญหาเรื่องการส่งออกข้าวมาจากเรื่องภัยแล้งโดยตรง"
ดังนั้นมันจะส่งผลให้ Sector นี้มีปัญหาลากยาวไปทั้งปี
.
สินค้าหลักอีกตัวหนึ่งของ Sector เกษตรกรรมคือ
"ยางพารา"
ซึ่งความน่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่า
เราส่งออกยางพาราได้ เพิ่มขึ้น 2.57% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
เมื่อได้ดูส่วนนี้ผมค่อนข้างแปลกใจ
ดังนั้นผมเลยเจาะลึกลงไปอีกว่าเราส่งออกจากเพิ่มขึ้นจากไหน ปรากฏว่าเราส่งออก "ยางแผ่น" และ "น้ำยางข้น" เพิ่มขึ้นครับ
**หลังจากบรรทัดนี้เป็นการตั้งสมมติฐานของผมนะครับ
ผมตั้งสมมติฐานว่า การที่ไทยเราส่งออก "ยางแผ่น" และ "น้ำยางข้น" เพิ่มขึ้นนั้นมาจากความต้องการในส่วนของเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย Personal Protective Equipment (PPE)
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการรับมือเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยตรง
.
1.2 สินค้าประมง
บอกได้คำเดียวว่า ผมสงสารชาวประมงจริงๆ...
ณ เวลานี้เหมือนกับว่า ประเทศเราได้ทอดทิ้งคนกลุ่มนี้ไปแล้ว
การส่งออกในเดือน ม.ค. - ก.พ. 63 ก็ลดลง
ในระดับ -11.23% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า(63 เทียบ 62) ครับ
และปีก่อนหน้า ก็ลดลง -12.09% ของปีก่อนหน้า(62 เทียบ 61) อีกที
เศร้า...
.
1.3 ปศุสัตว์
ฝั่งปศุสัตว์เรานับว่า "เป็นหน้าเป็นตาของประเทศ" จริงๆครับ
การส่งออกในเดือน ม.ค. - ก.พ. 63
ส่งออกได้มากกว่าเดิมถึง +11.61%
จาก 20,196 ล้าน เพิ่มขึ้นมาที่ 22,541 ล้านบาท
อิ อิ
วันนี้พกพาสาระดีๆมาให้ทุกท่านได้บันเทิงกันถึงที่ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ
ฝากกด like กด share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ
คิดถึงเสมอ
หมูน้อย
**มี tag COVID ด้วยนะครับ 5555
หลังๆมานี้ เข้ามา Blockdit นึกว่า
เป็นดินแดนแห่ง COVID ไปเสียแล้ว โถ่เอ๋ย
***EP 2 กำลังตามมา อดใจรอสักหน่อยนะครับ
reference
แถมหนึ่งในเพลงโปรดของหมูน้อย ให้ทุกท่านฟังเพื่อผ่อนคลายกันครับ
โดย Take Me Home, Country Roads by เฮียจอห์น
คนอะไรจ๊าบสุดๆ
คิดถึงเฮียเสมอ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา