Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รวมเนื้อหาสงครามโลก เเละ ปรัชญา คำสอนต่างๆ
•
ติดตาม
27 มี.ค. 2020 เวลา 15:53 • ประวัติศาสตร์
ยุทธการยึดปราสาทอิทเทอร์ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
Battle for Castle Itter 5 May 1945
สมรภูมิรบที่สำคัญแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม...
ภาพถ่าย ประสาทอิทเทอร์ในปี ค.ศ.1979
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ.1945 ไม่กี่วันก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะสิ้นสุดลง
ในทวีปยุโรป ณ หมู่บ้านอิทเทอร์ รัฐทีโรล ประเทศออสเตรีย
ได้เกิดเหตุการ์ณประหลาดที่น่าเหลือเชื่อขึ้นและไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ในช่วงเวลาแบบนั้น เมื่อกองทหารอเมริกัน และ กองทหารเยอรมัน ( Wehrmacht ) แวร์มัคท์ ต่างร่วมกันรบกับกองกำลัง Waffen SS Panzergrenadier Division 17 ( วาฟเฟิน เอสเอส แพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 17 )
การที่กองทัพบกเยอรมันและกองทัพอเมริกาจับมมือร่วมกันนั้นเพื่อช่วยเหลือเชลยนักโทษ เเละ บุคคลสำคัญที่ถูกกักขังตัวอยู่ในเรื่อนจำปราสาทอิทเทอร์แห่งนี้
โดยบุคคลสำคัญในการเริ่มปฎิบัติการครั้งนี้มีด้วยกันสองคน คือ
1. Major Josef Sepp Gangl ( พันตรี โยเซฟ เซปป์ เเก๊ง )
Major Josef Sepp Gangl ( พันตรี โยเซฟ เซปป์ เเก๊ง )
2. Captain John C. Jack lee junior ( ร้อยเอก จอห์น ซี. แจ็ก ลี จูเนียร์ )
Captain John C. Jack lee junior ( ร้อยเอก จอห์น ซี. แจ็ก ลี จูเนียร์ )
โดยเริ่มแรกก่อนที่จะมีการนองเลือดกันเกิดขึ้น พันตรี โยเซฟ เซปป์ เเก๊ง ได้ยกธงขาวเพื่อเป็นการบ่งบอกว่ายอมจำนนต่อฝ่ายอเมริกัน ที่นำโดย ร้อยเอก จอห์น ซี. แจ็ก ลี จูเนียร์ ซึ่งขณะนั้น ร้อยเอก จอห์น ซี. แจ็ก ลี จูเนียร์ ได้เตรียมปฏิบัติภารกิจที่จะเข้าช่วยเหลือเชลย และ บุคคลสำคัญที่ถูกขังอยู่ในปราสามอิทเทอร์ เป้าหมายการช่วยเหลือบุคคลสำคัญในครั้งนี้ประกอบไปด้วย
1. Jean Borotra ( เจ็น โบโรตา ) นักเทนนิสชาวฝรั่งเศส
2. Édouard Daladier ( เอดัวร์ ดาลาดีเย ) อดีตนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส
3. Maxime Weygand ( มักซีม เเวร์ ก็อง ) อดีตผู้บัญชาการกองทัพฝรั่งเศส
และ กลุ่มต่อต้านเยอรมัน เเละ นักโทษใช้เเรงงานทั่วทั้งยุโรปอีกมากมาย
Jean Borotra ( เจ็น โบโรตา ) นักเทนนิสชาวฝรั่งเศส
Édouard Daladier ( เอดัวร์ ดาลาดีเย ) อดีตนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส
Maxime Weygand ( มักซีม เเวร์ ก็อง ) อดีตผู้บัญชาการกองทัพฝรั่งเศส
เมื่อกองกำลังผสมของ ร้อยเอก จอห์น ซี. แจ็ก ลี จูเนียร์ และ พันตรี โยเซฟ เซปป์ เเก๊ง ได้ไปถึงที่ปราสาท ผมว่าเหล่านักโทษเชลยต่างๆที่ถูกกักขังไว้ได้นำอาวุธในคลังของทหารเยอรมันมาติดตั้งเเละเตรียมพร้อมใช้งานเเล้ว
เนื่องจาก ก่อนหน้านั้นไม่นาน ผู้บัญชาการผู้คุมนักโทษ ได้ทำการฆ่าตัวตาย เเละทหารที่รักษาการนายอื่นๆ ได้พากันหลบหนี จึงทำให้นักโทษเข้าไปยึดปืนในห้องเก็บอาวุธได้ เพราะพวกเค้าต่างรู้กันดีว่ารอบๆตัวปราสาทอิทเทอร์นั้น มีกองกำลังพล Waffen SS แพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 17 คอยจับตาดูพวกเขาอยู่ รอเวลาที่จะกลับมาบุกยึดปราสาทและสังหารพวกเขา
หลังจากที่กองกำลังผสมอเมริกันเเละเยอรมันมาถึงประสาทอิทเทอร์ พวกเขาก็ได้ตัดสินใจวางกำลังป้องกันตามตัวปราสาท
และได้ใช้รถถังอเมริกันรุ่น M4 Sherman ทำการปิดกั้นทางเข้าปราสาทเอาไว้
ซึ่งในเย็นวันนั้นของวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 กองกำลังพล Waffen SS แพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 17 ได้ทำการยิงไปที่ปราสาท เพื่อที่จะทดสอบความแข็งเเรงของเเนวป้อมปราการว่ามีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด....แต่นี่ ยังไม่ใช่จุดเริ่มต้นของการสูญเสีย
ในช่วงเช้าตรู่ ของวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1945 กองกำลังทหารราบของ
Waffen SS แพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 17 ประมาณ 150-200 นาย
ได้ทำการบุกโจมตีไปที่ปราสาทอิทเทอร์ โดยมีการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน-ต่อต้านรถถังแบบ Flak-88 ( ฟลัค-88 ) ยิงเข้าไปที่ตัวกำเเพงของปราสาท เเละ ได้ทำการยิงทำลายรถถัง Sherman ของอเมริกาจนเสียหายหนัก
ภายหลังที่กองทหาร Waffen SS แพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 17 เห็นว่า
รถถัง Sherman ถูกทำลายลง พวกเขาจึงเริ่มทำการบุกอย่างหนัก ทั้งทางเข้าปราสาท รอบตัวปราสาท และทางด้านหลัง ทำให้ ฝ่ายตั้งรับกองกำลังผสมอเมริกันเเละเยอรมัน รวมไปถึงเชลยชาวฝรั่งเศสเริ่มทำการตอบโต้อย่างหนักหน่วง และหวังที่จะยื้อเวลาให้กำลังเสริมของอเมริกันมาถึงที่ได้ทันเวลา
ตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยของกองกำลังพล Waffen SS Panzergrenadier Division 17 ( วาฟเฟิน เอสเอส แพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 17 )
การรบนั้นยาวนานเเละยืดเยื้อจนล่วงเลยมาถึงช่วงบ่าย
ทำให้ฝ่ายตั้งรับที่มีกำลังพลน้อยกว่าเริ่มมีทหารบาดเจ็บล้มตายมากขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าจะฝั่งอเมริกา หรือ กองทัพเยอรมันก็ตาม ในขณะเดียวกัน กระสุนที่ใช้ก็เริ่มที่จะหมดลง
ในขณะนั้นเกิดเหตุการ์ณไม่คาดคิดขึ้น เมื่อ พันตรี โยเซฟ เซปป์ เเก๊ง พยายามเข้าไปช่วยเหลือ อดีตนายกรัฐมนตรี เอดัวร์ ดาลาดีเย ที่กำลังตกอยู่ในอันตราย จึงทำให้ พันตรี โยเซฟ เซปป์ ถูกกระสุนปืนของพลซุ่มยิงของฝั่ง SS
เข้าไปที่หน้าอก จนถึงเเก่ชีวิต จึงทำให้ทหารฝ่ายเยอรมันที่อยู่ในกองผสมทหารอเมริกัน-เยอรมันต่าง ขวัญหนีดีฝ่อ
โชคเข้าข้าง ไม่นานนัก ร้อยเอก จอห์น ซี. แจ็ก ลี จูเนียร์ ก็ได้รับข้อความวิทยุสนามจาก Major John Claymore ( พันตรี จอห์น เคลยมอร์ )
ติดต่อกลับมามีใจความว่า กำลังเสริมกกำลังให้ทำการยื้อไว้ให้ได้นานที่สุด
ในขณะนั้น สถานการ์ณของฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มเลวร้ายลงเรื่อยๆ
เจ็น โบโรตา นักเทนนิสชาวฝรั่งเศส ได้ทำการเสนอแผนต่อ
ร้อยเอก จอห์น ซี. แจ็ก ลี จูเนียร์ ว่าให้ตน กระดดปีนข้ามกำแพงตัวปราสาท และวิ่งฝ่าวงล้อมของเเนวข้าศึกไปหากองกำลังเสริมของฝั่งอเมริกา
ที่กำลังเดินทางมา ซึ่งเค้าทำสำเร็จ เเละนำทางกองกำลังเสริมทหารอเมริกัน เดินทางมาถึงตัวประสาท
จนกระทั่งเวลา 16:00 นาฬิกา ของวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1945
กองกำลังเสริมจากกองทัพสหรัฐ จากกองพลทหารราบที่ 142 ก็ได้มาถึงพร้อม เจ็น โบโรตา
เเละกองกำลังเสริมของฝั่งสหรัฐได้ทำการ ใช้รถถัง M4 Sherman ทำลายปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน-ต่อต้านรถถังแบบ Flak-88 และสามารถปราบกองกำลัง Waffen SS แพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 17 ได้ในที่สุด
หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อของ พันตรี โยเซฟ เซปป์ เเก๊ง
ได้ถูกจารึกไว้ในชื่อของถนนสายหนึ่งในประเทศ ออสเตรีย มาจนถึงปัจจุบัน
หลุมศพของ พันตรี โยเซฟ เซปป์ เเก๊ง
สงครามในครั้งนี่ถือเป็นสงครามในครั้งประวัติกาลที่ฝั่งกองทัพบกเยอรมัน สู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับ กองทัพอเมริกัน ถือเป็นประวัติกาลเหมือนในอดีตที่ผ่านมาในช่วง สงครามโลกครั้งที่1 ที่ทหารเยอรมัน เเละทหารอังกฤษต่างทิ้งปืน มาร่วมร้องรำทำเพลง เเละ เตะบอลกันในช่วง คริสต์มาสในปี 1914
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
https://youtu.be/-0UwLhziocc
-
https://youtu.be/irURY046qUs
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Battle_for_Castle_Itter
-
https://www.bbc.com/news/world-europe-32622651
-
https://nl.qwe.wiki/wiki/Battle_for_Castle_Itter
-
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B6%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
#รวมเนื้อหาสงครามโลก เเละ ปรัชญา คำสอนต่างๆ
2 บันทึก
4
3
1
2
4
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย