Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ANU~STORY
•
ติดตาม
29 มี.ค. 2020 เวลา 09:56 • สุขภาพ
ฝุ่นควัน PM2.5 ทำร้ายเราอย่างไร
ฝุ่น PM2.5 ถูกพิจารณาว่าเป็นมลพิษที่มีผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุดในบรรดามลพิษทางอากาศโดยทั่วไป เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมาก PM2.5 สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ และจากนั้นก็ไปทั่วร่างกาย เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากมาย
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของ เส้นผมมนุษย์สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง ส่งผล อันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง
พื้นที่ที่เกิด ฝุ่น PM2.5 ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของทางภาคเหนือเป็นพื้นที่ป่า และมีการทำการเกษตร
การป้องกันฝุ่น PM2.5
1. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น
สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยคือ ไปหาซื้อ Mask หรือหน้ากาก N95 ปิดปาก เอาไว้สวมป้องกันฝุ่นละอองก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง หรือซื้อติดกระเป๋าไว้เลย จะได้หยิบมาใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
สำหรับพนักงานออฟฟิศ ก็โชคดีหน่อยที่ช่วงเวลาระหว่างวันส่วนใหญ่ทำงานในตัวอาคาร ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก กลางแจ้ง ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่นขณะอยู่กลางแจ้งตลอดเวลา
3. เตรียมยาให้พร้อม
สำหรับใครที่มีอาการภูมิแพ้ แพ้ง่าย เช่น แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ (ช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลง) ควรเตรียมยาแก้แพ้ติดตัวไว้เสมอ
4. คนกลุ่มเสี่ยง อย่าออกนอกบ้าน
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่อาจจะมีอาการป่วยได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้ โรคทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ, โรคผิวหนัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด หากคุณเข้าข่ายเป็นกลุ่มบุคคลเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน
5. หากมีอาการ รีบพบแพทย์
ในช่วงนี้ หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึงถ้าคุณไม่ได้สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองด้วย แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ด่วน นะครับ
ฝากติดตาม เพจด้วยนะครับ
🌱 ANU~STORY 29 มี.ค. 63 🌱
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย