16 เม.ย. 2020 เวลา 05:30 • ประวัติศาสตร์
ไดโนเสาร์โชคร้าย อุกกาบาตชนโลกตรงจุดที่อันตรายที่สุด เป็นเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
คณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติซึ่งกำลังขุดเจาะชั้นหินใต้ทะเลในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบ (Chicxulub) เผยว่าสภาพทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาของพื้นที่ดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ยิ่งทำให้หายนะจากการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดยักษ์เมื่อ 66 ล้านปีก่อน มีความรุนแรงยิ่งขึ้นและขยายวงลุกลามไปมากกว่าที่ควรจะเป็น จนทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลก 75% ตายลงและไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์
คณะนักวิทยาศาสตร์เผยผลการศึกษาล่าสุดดังกล่าวในสารคดี "วันที่ไดโนเสาร์ตาย" (The Day The Dinosaurs Died) ซึ่งออกฉายทางสถานีโทรทัศน์บีบีซี 2 โดยชี้ว่าผลการวิเคราะห์ชั้นหินซึ่งขุดเจาะขึ้นมาเป็นแท่งกลม จากบริเวณขอบของหลุมอุกกาบาตที่ปัจจุบันส่วนหนึ่งจมอยู่ใต้ทะเล เผยว่าพื้นที่ดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้กลายเป็นจุดตกของอุกกาบาตที่อันตรายและเลวร้ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
4
การที่อุกกาบาตพุ่งชนพื้นทะเลตื้น ทำให้กำมะถันปริมาณมหาศาลจากแหล่งแร่ยิปซัมที่ระเหยเป็นไอ ฟุ้งกระจายขึ้นไปในบรรยากาศ ซึ่งยิ่งทำให้ทั่วโลกเกิดภาวะฤดูหนาวที่รุนแรงตามมายาวนานขึ้นไปอีก
1
แท่นขุดเจาะชั้นหินจากหลุมอุกกาบาตใต้ทะเลในอ่าวเม็กซิโก
นักวิทยาศาสตร์ซึ่งประจำอยู่ที่แท่นขุดเจาะชั้นหินในทะเลยังบอกว่า หากอุกกาบาตดังกล่าวพุ่งชนโลกในเวลาที่ช้ากว่านั้นเพียงเล็กน้อย ก็จะตกลงในมหาสมุทรลึกที่อยู่ใกล้เคียง
ซึ่งอาจเป็นมหาสมุทรแอตแลนติกหรือแปซิฟิก ซึ่งจะไม่ทำให้ชั้นหินด้านใต้ระเหยเป็นไอ เมฆหมอกที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศจะไม่หนาแน่นและแสงอาทิตย์จะยังส่องลงมาถึงพื้นโลกได้ ทำให้สภาพการณ์ที่โลกมืดมัวและหนาวเย็นจนแหล่งอาหารหมดสิ้นไปไม่เกิดขึ้น ทั้งพืชและสัตว์จำนวนมากคงจะไม่ล้มตายลง
1
โจ มอร์แกน นักวิจัยจากอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน และฌอน กูลิค นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส กำลังตรวจดูแท่งหินที่ขุดเจาะขึ้นมา ทั้งนี้ หลุมอุกกาบาตชิกซูลุบซึ่งมีความกว้าง 200 กิโลเมตร ปัจจุบันจมอยู่ในอ่าวเม็กซิโกครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งถูกกลบฝังอยู่ใต้พื้นดินของคาบสมุทรยูคาตัน เกิดจากการชนของอุกกาบาตยักษ์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 15 กิโลเมตร ซึ่งพุ่งมาด้วยความเร็ว 64,370 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยพลังงานที่เกิดขึ้นจากการชนเท่ากับระเบิดปรมาณูที่ทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมา 10,000 ล้านลูก
1
การศึกษาชั้นหินในหลุมอุกกาบาตที่ขุดเจาะขึ้นมาดังกล่าว ยังทำให้ทราบถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่อาจช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์อีกหลายเรื่อง เช่นอาจช่วยตอบคำถามว่า เหตุใดสัตว์จำนวนมากจึงตายลงหลังการชนของอุกกาบาต ในขณะที่นก เต่า และสัตว์เลื้อยคลานกลับรอดชีวิต ซึ่งอาจหาคำตอบได้จากร่องรอยในชั้นหิน ซึ่งบอกถึงขอบเขตพลังงานของการชน รวมทั้งทิศทางการชนได้ด้วย
1
เครดิตโดย : แอดฟลุ๊ค
โฆษณา