30 มี.ค. 2020 เวลา 03:57 • สุขภาพ
การติดต่อโรคผ่านทางอากาศ (Air-borne transmission) คืออะไร
Air-borne transmission หรือ การติดต่อโรคผ่านทางอากาศ คือการที่โรคแพร่กระจายไปกับฝอยละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่งด้วยขนาดที่เล็กทำให้ฝอยละอองที่มีเชื้อนั้นกระจายไปได้ไกลในอากาศโรคที่ติดต่อกัน เกิดจากการระเหยของละอองฝอย (evaporated droplet) หมายถึงเชื้อยังมีชีวิตอยู่ในละอองฝอยที่ระเหยแห้งไปแล้ว ทำให้สามารถล่องลอยในอากาศเป็นเวลานาน และฟุ้งออกไปได้ไกลจากผู้ป่วย
Droplet transmission หรือ การติดต่อผ่านละอองฝอย คือการที่โรคแพร่กระจายไปกับฝอยละอองขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือละอองน้ำมูกน้ำลายจากการไอจามปกตินั่นเอง โดยละอองแบบนี้จะอยู่ในอากาศได้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง และฟุ้งออกไปได้ไกล 1-2 เมตรเท่านั้น
สามารถป้องกัน Air-borne transmission หรือ การติดต่อโรคผ่านทางอากาศ ได้ด้วยการแยกผู้ป่วยให้อยู่ในห้องแยกที่มีความดันบรรยากาศเป็นลบเทียบกับภายนอกและผู้ที่เข้าไปในห้องแยกควรสวมหน้ากากชนิด N95 คือหน้ากากที่สามารถกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอนได้อย่างน้อยร้อยละ 95
แต่จะมีบางสถานการณ์ที่ทำให้เชื้อที่ติดต่อผ่าน "ละอองฝอย" กลายเป็นการติดต่อผ่าน "ละอองลอย" (aerosol) ซึ่งจะแพร่กระจายเหมือนการติดต่อผ่านอากาศ โดยสถานการณ์ที่ว่าคือการทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองลอย (Aerosol generating procedure: AGP) เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ การพ่นยา ซึ่งมักเป็นขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อในทางเดินหายใจที่มีอาการรุนแรง และเป็นสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลเท่านั้น
โฆษณา