30 มี.ค. 2020 เวลา 10:33 • ธุรกิจ
Fintech เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ?
“ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส” ประโยคนี้มีจริงหรือไม่? ในวันที่โลกของเราต้องเจอกับ COVID-19 นานาประเทศต่างมีแผนการรับมือที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยคือการหยุดกิจการของภาคบริการ หรือการปลดพนักงานของ SMEs ที่ต้องทำเพื่อการอยู่รอด ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบไปแบบเต็มๆ
Fintech
ตามหลักการบริการการเงินส่วนบุคคลนั้น เราควรมีเงินฝากธนาคารหรือเงินลงทุนระยะสั้น ให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในเวลา 6 เดือน เพื่อเป็นที่พึ่งหลักในช่วงเวลาที่เรากำลังหางานใหม่ แต่ในความเป็นจริงนั้น ผมเชื่อว่ามีคนไม่มากนักที่เตรียมเงินก้อนดังกล่าวไว้เพียงพอ ในทางกลับกัน หลายคนกลับมีภาระหนี้ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากรายได้โตไม่ทันค่าครองชีพ จนสามารถสรุปได้ว่า “ทุกวิกฤติย่อม ทำให้คนจนยิ่งจนลงไปอีก”
สำหรับกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงและสามารถสะสมความมั่งคั่งจนมาอยู่ในจุดสูงสุด 1% แรกของประเทศได้นั้น ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติจะเป็นโอกาสในการช้อนซื้อสินทรัพย์ที่ถูกเทขายออกมาจนราคาถูกมากเกินความเป็นจริง
ไม่ว่าจะเป็นการช้อนซื้อหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี การซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเจ้าของเก่าจำเป็นต้องขายอย่างเร่งด่วน รวมทั้งการซื้อกิจการที่อนาคตดีแต่ขาดเงินทุนหมุนเวียนในยามวิกฤต เมื่อวิกฤติผ่านพ้นไป ผู้ลงลงทุนกลุ่มนี้มักจะได้รับผลตอบแทนที่สูง จนทำให้คนที่รวยที่สุด 1% แรกของไทยนั้น ถือครองความมั่งคั่งถึงประมาณ 67% (ข้อมูลจาก Credit Suisse Global Wealth Report) จึงสรุปได้ว่า “ทุกวิกฤติย่อมทำให้คนรวยยิ่งรวยขึ้นไปอีก”
โฆษณา