30 มี.ค. 2020 เวลา 13:00 • สุขภาพ
ในช่วง Physical Distancing ที่เราต้องอยู่บ้านตลอดหลายวันหลายคนที่จะมีอาการรู้สึก ซึม ๆ เบื่อ ๆ เหมือนกับผม (แต่ดีกว่าออกไปแพร่เชื้อแน่นอน)
.
และมีคนพูดกันเยอะว่าอยู่บ้านแบบนี้นาน ๆ เราจะเป็น #โรคซึมเศร้า กันหรือเปล่า?
อาสาสรุป "โรคซึมเศร้า101”
ผมเลยไปหาข้อมูลของ “โรคซึมเศร้า" ที่คนพูดถึงมากในช่วงนี้
.
แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Sensitive ผมจึงต้องไปปรึกษากับคุณหมอจริง ๆ และขอบคุณคำแนะนำจากเพจ "ดูแลใจกัน" มากครับ ❤️
.
.
วันนี้ขออาสาสรุป "โรคซึมเศร้า101” แบ่งเป็น 4 ช่วงดังนี้
.
1.🧐 "โรคซึมเศร้า” อาการเป็นยังไง?
2.🤔 "โรคซึมเศร้า” เกิดขึ้นได้อย่างไร?
3.💪 วิธีการป้องกันและดูแล "โรคซึมเศร้า” ด้วยตนเอง
4.👫 วิธีอยู่กับคนที่เป็น "โรคซึมเศร้า”
.
มาเริ่มกันเลยดีกว่า...
"โรคซึมเศร้า” คืออะไร?
🧐"โรคซึมเศร้า” อาการเป็นอย่างไร?
.
.
ความแตกต่างระหว่าง “โรคซึมเศร้า” กับ “โรคเครียด”
.
ทั้ง 2 โรคเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ "โรคเครียด” โดยทั่วไปจะเกิดในระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุของความเครียดได้ ความรู้สึกจะกลับสู่ภาวะปกติ
.
“โรคซึมเศร้า” คือ อารมณ์เศร้าที่อยู่กับเรานาน ๆ พยายามทำให้ดีขึ้นยังไงก็ไม่ดีขึ้นสักที ซึ่งปกติความเศร้าควรมา ๆ ไป ๆ ไม่แช่อยู่นาน
แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9
ผู้ที่เข้าข่ายโรคซึมเศร้ามักแสดงอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 5 อาการพร้อมกันในระยะเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกัน (อ้างอิงจากสมาคมจิตเวชสหรัฐอเมริกา DSM-V)
.
.
1.หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ หรือรู้สึกไม่มีความสุขแม้ว่ามีเรื่องน่ายินดีเกิดขึ้น
.
2.รู้สึกเศร้า เสียใจ หรืออาจรู้สึกหงุดหงิดง่าย กระวนกระวายใจอยู่บ่อยครั้ง
.
3.นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือนอนนานกว่าปกติ
.
4.เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง
.
5.มีการกินที่เปลี่ยนไป ทำให้น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นเร็วมาก
.
6.รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีค่า ว่างเปล่า ท้อแท้จนไม่อยากทำอะไรโดยไม่ทราบสาเหตุ
.
7.ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ หลง ๆ ลืม ๆ ตัดสินใจช้ากว่าปกติ
.
8.คิด พูด และทำงานเร็วขึ้นหรือช้าลงกว่าปกติ
.
9.รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง
.
.
***อย่างไรก็ตามโรคซึมเศร้ามีหลายประเภท การวินิจฉัยต้องดูข้อมูลหลายอย่างมาก ๆ ถ้าสงสัยว่าเป็น แนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด
"โรคซึมเศร้า” เกิดขึ้นได้อย่างไร?
🤔"โรคซึมเศร้า” เกิดขึ้นได้อย่างไร?
.
.
“โรคซึมเศร้า” ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด มีผลมาจากหลายปัจจัยดังนี้
.
.
1.ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
.
2.กรรมพันธ์
.
3.การเผชิญหน้ากับความเครียด ปัญหาที่หาทางออกไม่ได้ หรือมรสุมชีวิตโดยไม่ทันตั้งตัว
.
4.ลักษณะนิสัย เช่น เชื่อมั่นในตัวเองสูงหรือต่ำเกินไป การมองโลกในแง่ร้าย
.
5.การดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด เพื่อให้ลืมความเสียใจหรือความเครียด
.
6.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนในภาวะตั้งครรภ์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
.
7.การใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล เช่น การใช้ชีวิตเป็นรูทีนเหมือนกันทุกวัน เจอคนเดิม ๆ หัวหน้าคนเดิม ด่าเราเหมือนเดิม
วิธีการป้องกันและดูแล "โรคซึมเศร้า” ด้วยตนเอง
💪วิธีการป้องกันและดูแล "โรคซึมเศร้า” ด้วยตนเอง
.
.
1.หางานอดิเรกทำ - กิจกรรมยามว่างช่วยสร้างสมาธิและการจดจ่อได้มากขึ้น (Bahavior Activation : การพยายามแอคทีฟหาอะไรทำ สามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดีมาก ๆ)
.
2.ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ - การสำเร็จในเป้าหมายเล็ก ๆ จะช่วยสร้างกำลังใจได้
.
3.ออกกำลังกาย - เนื่องจากสารเอ็นดอร์ฟินช่วยทำให้มีความสุข และช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวมากขึ้น
.
4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ - เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานและรู้สึกสดชื่น
.
5.นอนพักผ่อนให้พอเหมาะ - ประมาณ 6-8 ชั่วโมง จะช่วยให้ลืมความกังวลได้
.
6.เรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่ใช้ชีวิตเป็นรูทีน - ถ้าคุณมีท่าเดียว เจอเรื่องเดิม ๆ วนไปเรื่อย ๆ จะมีโอกาสซึมเศร้าได้ ต้องค่อย ๆ ฉีกกฎเจอคนใหม่ ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
.
.
***โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะต้องรีบเข้ารับการรักษากับคุณหมอตั้งแต่เริ่มมีอาการ การรักษาอาจใช้เวลาประมาณ 3 - 6 เดือน ตามความรุนแรงของโรค
วิธีอยู่กับคนที่เป็น "โรคซึมเศร้า”
👫วิธีอยู่กับคนที่เป็น "โรคซึมเศร้า”
.
.
ทุกคนเคยเศร้ากันใช่ไหมครับ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็คือคน ๆ นึงที่กำลังเศร้าไม่ต่างจากเรา ลองนึกย้อนกลับไปดูว่าตอนที่เรากำลังเศร้าเราต้องการอะไร?
.
ใช่ครับ สิ่งที่จะช่วยเขาได้ดีที่สุด คือ “การฟัง”
.
หลายคนอยากช่วย จนเผลอรีบแนะนำนู้นนี่ ตามความคิดของตนเอง ซึ่งมันอาจจะเร็วเกินไป และแน่นอนว่า "ไม่มีประโยคทอง” ที่จะช่วยให้หายได้ทันที
.
ขั้นแรกเราต้องฟังเขา ด้วยทัศนคติที่ดีคือ "มีเมตตา” ถ้าเรากำลังหงุดหงิด รำคาญเขา อย่าพึ่งเข้าไป ให้ทัศนคติเป็นบวกก่อนแล้วค่อยเข้าไปจะดีที่สุด
.
.
.
สำหรับคนอยากพูดชักชวนให้ผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไปหาคุณหมอ
ให้ใช้วิธีเล่า “Successful Story” เรื่องราวความสำเร็จของคนอื่นที่มีอาการคล้ายกับผู้ป่วย หลังจากไปหาคุณหมอแล้วอาการดีขึ้น เมื่อพูดถึงเรื่องคนอื่นเราจะกล้าออกความเห็น และ "อย่าใช้ความรุนแรง” เป็นอันขาด
#เราไม่ทิ้งกัน #COVID19
ถ้าทำงาน work from home อยู่บ้านหลายวัน แล้วรู้สึกเศร้า ซึม ๆ อาจจะเป็นแค่ภาวะซึมเศร้าครับ ไม่ถึงกับเป็น “โรคซึมเศร้า” แต่ก็สามารถใช้วิธีการป้องกันและดูแล "โรคซึมเศร้า” ด้วยตนเองนำไปปรับใช้กันได้นะ
.
.
สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนักเพื่อพวกเราทุกคนครับ ขอให้ทุกคนช่วยกันอยู่ที่บ้านเพื่อเป็นการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์กันครับ #เราไม่ทิ้งกัน #ดูแลใจกัน #COVID19
.
.
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนรู้จักกับ “โรคซึมเศร้า” ได้มากขึ้น ถ้ามีอะไรอยากแนะนำติชมสามารถ comment ไว้ได้เลยครับ
#โรคซึมเศร้า #WFH
#TheConclusion #อาสาสรุป
.
.
สนใจเข้ากลุ่มอาสาสรุป มาแบ่งปันสรุปความรู้ดี ๆ กันได้ที่ : http://bit.ly/TheConclusionGroup
.
.
.
ที่มา:
-เพจ ดูแลใจกัน
ติดตามงานสรุปทั้งหมด ได้ที่
สารบัญอาสาสรุป: http://bit.ly/SarabunTheConclusion
โฆษณา