Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้
•
ติดตาม
31 มี.ค. 2020 เวลา 00:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เมื่อ “ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว” ละลายกลายเป็นการปลดปล่อยจุลชีพโบราณให้กลับมามี “ชีวิต” อีกครั้ง
ภาวะโลกร้อน คำเชยๆที่พวกรู้จัก เเละพอรู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นบ้างอย่าง น้ำเเข็งบริเวณขั้วโลกกำลังละลาย การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล รวมถึงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างฉุดไม่ได้ ตอนนี้กำลังส่งผลต่อชั้นดินเยือกเเข็งคงตัว (Permafrost) ที่เก็บกักจุลชีพโบราณให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ก่อนอื่นมารู้จักกับ "ชั้นดินเยือกเเข็งคงตัว" กันก่อนครับ
ชั้นดินเยือกเเข็งคงตัว หรือ Permafrost เป็นชั้นดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานอย่างต่ำ 2 ปีจนถึงหลายล้านปี ปกติชั้นดินนี้จะอยู่ลึกลงไปไม่กี่ฟุต จนถึง 1ไมล์ เพราะส่วนที่อยู่ด้านบนประมาณ 50 เซนติเมตรจะละลายจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิช่วงฤดูร้อนของเเถบขั้วโลก ชั้นดินนี้อาจกินพื้นที่ขนาดใหญ่ระดับภูมิภาคเช่น อาร์กติก หรือพื้นที่ขนาดเล็กอย่างยอดเขาเเอลป์
1
โดยจุดที่อยู่ของชั้นดินนี้เรียกว่า "GlobPermafrost"
เรื่องราวของการค้นพบจุลชีพโบราณอย่าง ไวรัส หรือเเบคทีเรีย ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งมีการค้นพบเมื่อเร็วๆนี้ ทว่าต้องย้อนไปถึงช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อศูนย์วิจัยไวรัส ในเมืองโนโวซิบริสค์ ของรัฐเซีย ได้ตรวจร่างของมนุษย์ในยุคหินซึ่งพบชิ้นส่วน DNA ของไวรัสกาฬโรคอยู่ เเต่ไม่ได้พบเชื้อที่มีชีวิตเเล้ว
ค.ศ. 2005 พบเชื้อเเบคทีเรีย Carnobacterium pleistocenium ที่อยู่ในบ่อน้ำเเข็งของอลาสกากลับมามีชีวิต ซึ่งคาดว่าเเบคทีเรียนี้น่าจะมีอายุ 32,000 ปี
1
ค.ศ. 2007 สองปีต่อมาพบเเบคทีเรียโปราณอายุกว่า 8 ล้านมีในเเอนตาร์กติกา กำลังมีชีวิตอยู่หลังจากการละลายของน้ำเเข็ง
ค.ศ. 2014 BBC NEWS ได้รายงานการค้นพบไวรัสโบราณขนาดใหญ่ที่สุดจนสามารถมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ขนาดปกติได้ ที่ขนาด 1.5 ไมโครเมตร โดยทีมนักวิจัยจากฝรั่งเศส ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ลงวารสารโพรซีดิงส์ออฟเดอะเนชันนัลอะคาเดมีออฟไซน์ส หรือที่เรียกว่า PNAS โดยเจ้าไวรัสชนิดนี้มีชื่อว่า "Pithovirus sibericum" ซึ่งมีอายุกว่า 30,000 ปี
ท่านสามารถดูข่าวการค้นพบชนิดนี้ได้ ซึ่งสร้างความตื่นตกใจเเละเเปลกประหลาดใจ เมื่อได้ยินการค้นพบนี้
youtube.com
The Giant Ancient Virus Buried in Siberia
Recently a ‘giant’ 30,000 year-old virus was found frozen in a remote area of Siberia. Giant viruses contain far more genes than regular virus, but maybe tha...
เเละเมื่อปี 2016 พบการกลับมาอีกครั้งของเชื้อเเอนเเทร็กซ์ ที่มีการระบาดเมื่อ75 ปีที่เเล้ว กลับมาทำร้ายคนอีกครั้ง ซึ่งได้คร่าชีวิตเด็กชายวัย 12 ปี เเละคนอีก 20 รายต้องหามส่งสู่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรยามาล เเถบไซบีเรีย หลังจากซากกวางเรนเดียร์ที่ติดโรคนี้ที่ถูกฝังไว้ กลับออกมาสัมผัสอากาศเเละเเหล่งน้ำ หลังชั้นดินเยือกเเข็งถาวรนี้ได้ละลายลง
2
การที่จุลชีพเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เพราะมีการสร้างสปอร์หุ้มตัวไว้ เสมือนการจำศีล เเละเมื่อสิ่งเเวดล้มเหมาะสมมันจึงจะคืนชีพอีกครั้ง
1
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ยังมีการค้นพบจุลชีพโบราณที่ถูกเเช่เเข็งกลับมามีชีวิตอีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการละลายของชั้นดิน ทว่าสิ่งที่ควรเข้าใจคือไม่ใช่จุลชีพทุกชนิดจะทำร้ายมนุษย์ เเต่ปล่อยให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มมากขึ้นยิ่งส่งผลให้จุลชีพโบราณเหล่านี้กลับมามีชีวิตมากขึ้น นั้นเท่ากับว่า นักวิทยาศาสตร์ต้องรีบศึกษาเเละทำความเข้าใจกับจุลชีพเหล่านี้ เเต่หากเป็นจำนวนที่มากมาย เราก็คงไม่สามารถศึกษาได้ทั้งหมด เเละนั่นคือจุดอันตราย เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างไร
1
ภาพเชื้อเเอนเเทร็กซ์
ซึ่งไม่ได้มีเเต่จุลชีพโบราณเท่านั้นที่เป็นผลจากการที่ชั้นดินนี้ละลายยังมีผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น
1. หลายหมู่บ้านทางตอนเหนือ เเถบอลาสกา ตอนเหนือของรัสเซีย เเละเเถบไซบีเรีย สร้างบ้านเเละหมู่บ้านของพวกเขาบนชั้นดินเหล่านี้ เเละเมื่อมันละลายอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์อย่าง อาคารบ้านเรือน หรือถนน
1
หมูบ้านที่ได้รับผลกระทบในอลาสกา
ถนนที่บิดเบี้ยวจากผลกระทบของชั้นดินเยือกเเข็งคงตัวที่ละลาย
2. การละลายของชั้นดินจะปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา
เนื่องจากชั้นดินเหล่านี้เก็บซากพืชเเละสัตว์ที่ตายไป เเต่ไม่สามารถย่อยสลายได้เพราะอุณหภูมิที่ต่ำ เเต่เมื่อชั้นดินเหล่านี้ละลายกระบวนการการย่อยสลายก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ทำให้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ เเละมีเทน ก๊าซที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือมีเทน เพราะสามารถเก็บกักความร้อนในบรรยากาศได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 84 เท่า ถึงเเม้จะมีอายุอยู่ในชั้นบรรยากาศเพียง 12 ปีก็ตาม
2
ซึ่งหากคิดย้อนกลับจะพบว่า การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกนี้จะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เเละเมื่อสูงขึ้นจะยิ่งทำให้ชั้นดินนี้ละลายอย่างรวดเร็วเเละชั้นดินก็จะยิ่งเปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ทำให้สถานการณ์โลกเรายิ่งเลวร้ายลงเข้าอีก
จะเห็นได้ว่า ประเด็นด้านโลกร้อนควรเป็นประเด็นที่ทุกควรจะตระหนักถึง เพราะไม่ใช่สิ่งที่กระทบต่อมนุษย์เพียงอย่างเดียว ยังกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมรอบตัวอีกด้วย
"โลกร้อน" ไม่ได้เเค่กำลังเปลี่ยนเเปลงสภาพเเวดล้อมรอบตัวมนุษย์ อย่างอุณหภูมิที่สูงขึ้น การขยายตัวของน้ำทะเล การละลายของน้ำเเข็ง ทว่าทุกวินาทีที่โลกร้อนขึ้นมันกำลังสั่นคลอนอนาคตของมนุษยชาติอยู่
บทความโดย คลังความรู้
อ้างอิงรูปภาพและข้อมูลจาก
-
https://www.nrdc.org/stories/permafrost-everything-you-need-know
-
https://climatekids.nasa.gov/permafrost/
-
https://ipa.arcticportal.org/news/929-globpermafrost-products-available-through-the-permafrost-information-system-persys-portal
-
https://mgronline.com/science/detail/9570000025932
-
https://www.bbc.com/news/science-environment-26387276
-
https://youtu.be/a8kx3Ibf2mM
https://www.bbc.com/thai/international-39828302
-
https://ngthai.com/science/25344/greenhouse-gases/
-
https://inhabitat.com/alaskan-permafrost-could-melt-in-the-next-55-years-says-worlds-leading-expert/
12 บันทึก
49
8
20
12
49
8
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย