31 มี.ค. 2020 เวลา 08:50 • ข่าว
โควิด-19 เป็นซ้ำรอบที่สองได้หรือไม่??
โลกของเรากำลังประสพกับโรคระบาด โควิด 19 ไปทั่วโลก
มีผู้ติดเชื้อน่าจะถึง 1 ล้านคนในไม่ช้า ขณะที่ผู้เสียชีวิตก็เพิ่มอย่างต่อเนื่อง
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 จากโรคระบาด (Epidemic) เป็น "โรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก (Pandemic)" อย่างเป็นทางการ
"โรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก (Pandemic)" หมายถึง เชื้อโรคใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลกที่ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
รวมถึงได้ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ"
ซึ่งหมายถึง การประกาศอย่างเป็นทางการโดยองค์การอนามัยโลกซึ่งเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อนานาประเทศ จากการแพร่ระบาดระหว่างประเทศและต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือกับเหตุการณ์นั้น ๆ
ตั้งแต่ปี 2009
WHO ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ทั้งสิ้น 6 ครั้ง
# การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
# การระบาดของโรคโปลิโอ 2014
# การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก 2014
# การระบาดของไวรัสซิกา 2015–16
# การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู
# การระบาดของโคโรนาไวรัส 2020
ทั้งนี้ BBC ได้ลงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เคยติดเชื้อไว้ว่า
"ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาบางรายได้รับการรักษาจนหาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป พบว่ากลับมาติดเชื้ออีกครั้ง"
"มีชายวัย 70 กว่าปีคนหนึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในกรุงโตเกียวจนหายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา อย่างไรก็ดี สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค(NHK) ระบุว่า หลังจากกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ใช้รถสาธารณะได้ ไม่กี่วันต่อมาเขากลับมาป่วยเป็นไข้ และภายหลังตรวจพบว่าเขาติดเชื้อไวรัสโคโรนาอีกครั้ง"
นักไวรัสวิทยาของสเปนกล่าวว่า "มีอย่างน้อย 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดโรคโควิด-19 ที่กลับมาตรวจพบว่าติดเชื้ออีกครั้ง แต่เขาเชื่อว่ามันไม่ใช่การติดเชื้อใหม่ แต่เป็นเชื้อไวรัสเดิมที่ฟื้นกลับมาอีกครั้ง"
"ไวรัสบางสายพันธุ์สามารถอยู่ในร่างกายได้ถึง 3 เดือนหรือมากกว่านั้น"
แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วหากเราเคยติดไวรัสไม่ว่าชนิดใดแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะกลับไปติดเชื้ออีกครั้ง แต่ในกรณีนี้
คาดกันว่า "การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของคนบางคนยังช้าอยู่"
เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะมีคนที่รักษาหายแล้ว เราก็ควรเว้นระยะห่าง และยังไม่ควรคลุกคลีกับคนที่เคยติดเชื้อ จนกว่าจะมั่นใจว่าเชื้อจะไม่กลับมาอีก หรือจนกว่าจะมีวิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธีครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก BBC https://www.bbc.com/thai/international-52071358
โฆษณา