Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้
•
ติดตาม
31 มี.ค. 2020 เวลา 11:40 • การศึกษา
ทำไมเด็กไทยส่วนใหญ่ถึงไม่ชอบ "วิทยาศาสตร์"
บทความนี้เป็นมุมมองของผม ซึ่งเคยเป็นเด็กโรงเรียนวิทยาศาสตร์เเห่งหนึ่ง
โดยส่วนตัวผมมีความชอบด้านวิทยาศาสตร์มากมาตั้งเเต่สมัยเป็นเด็ก เวลาเปิดโทรทัศน์ก็จะเปิดดูสารคดีมากกว่าการ์ตูนหรือละคร ดูหมดเลยตั้งเเต่เเบคทีเรียไปจนถึงเอกภพ เเต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้การเรียนในห้องเรียนสนุกขึ้นเท่าไร กลับกันยังรู้สึกเครียดเเละกดดันตลอดเวลา เมื่อลองมาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นว่าปัญหามันคืออะไรกันเเน่ ก็พบว่า...
1. เนื้อหาบางเนื้อหาไม่ได้อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา หรืออาจห่างไกลเกินไป
ลองคิดดูว่าหากคุณไม่เคยไปทะเล เเต่ต้องมาเรียนเรื่องทะเลว่ามีลักษณะอย่างไร พวกเขาอาจสอนคุณว่า ทะเลเป็นเหมือนสระน้ำขนาดใหญ่ สีฟ้า มีเส้นขอบฟ้าที่กั้นผืนน้ำกับท้องฟ้า มีสัตว์ชนิดนู้นชนิดนี้ มีเรือที่เเล่นออกจากฝั่งเพื่อหาปลา เเล้วข้อสอบก็ออกมาว่าในฤดูกาลหาปลา ชาวประมงจะออกเรือตอนกี่โมง เเล้วภรรยาของเขาจะต้องเตรียมอะไรบ้างเพื่อไปส่งสามีจับปลา
ตัวอย่างของจริงเช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ อนุกรมวิธานพืช,สัตว์ ไม่ใช่เนื้อหาเหล่านี้ไม่ควรเรียน ทว่าห่างไกลเกินไปสำหรับหลายๆคน สมมติผมอยากเป็นนักฟิสิกส์ผมอาจตั้งคำถามว่า "จะเรียนอนุกรมวิธานทำไม" เเล้วถ้าหากคนที่ไม่ได้ตั้งใจอยากทำงานด้านวิทยาศาสตร์ล่ะ สิ่งเหล่านี้เราจะเรียนไปทั้งหมดเพื่ออะไร
ซึ่งผมคิดว่าเนื้อหาส่วนนี้ควรอยู่ในวิชาเลือกเฉพาะที่นักเรียนเลือกเองได้ เเล้วให้เรียนภาคบังคับเป็นเนื้อหาหลักๆที่อยู่ในชีวิตจริง เช่น หลักการทางวิทยาศาสตร์สำหรับการเเก้ปัญหาในชีวิต,ปฏิกิริยาสารเบื้องต้น,หรือเรื่องเเรงเบื้องต้นสำหรับชีวิตประจำวัน ซึ่งผมมองว่าเป็นประโยชน์มากกว่า
2. การไม่ได้ปลูกฝังความคิด หรือเน้นย้ำความสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หลายคนอาจบอกว่าเราเรียนมาตั้งเเต่ตอนประถม ทว่าเมื่อลองนำมาเเก้ปัญหาจริงกลับนำมาประยุกต์ใช้ไม่ได้ เรารู้ว่าเคยเรียนเเต่กลับไม่รู้วิธีการในการเเก้ไขปัญหา ซึ่งเเน่นอนว่าปัญหาที่เเท้จริงอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้มีเพียงในหนังสือ หรือเเบบฝึกหัด อย่างการออมเงิน ที่เราพบปัญหาเสมอว่าเงินออมไม่ไปถึงไหน หากลองนำวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ดูคือ
-ปัญหาคือ เก็บเงินออมไม่ได้
-ตั้งคำถามว่าเกิดจากอะไร
-ทดลองวิธีการเเก้ปัญหา 1,2,3
-สรุปเเละประเมินผลว่าสำเร็จหรือไม่
-ถ้าไม่ กลับไปตั้งคำถามเเละวิธีทดลองใหม่
เเต่กระบวนการเหล่านี้ถูกตีกรอบให้ใช้ในเเผ่นกระดาษ เวลาใช้ครูก็จะบอกวิธีใช้ ซึ่งเป็นวิธีการตายตัว เเต่หากเป็นโจทย์ที่เปลี่ยนไปก็ทำไม่ได้ เพราะไม่รู้หลักการในการหาคำตอบ
3. ข้อสอบ,เเบบฝึกหัดยากเกินไป
บางทีเราก็ไม่เข้าใจว่าปัญหาในโจทย์มันจะยากอะไรขนาดนั้น หรือบางอย่าในชีวิตประจำวันก็ไม่เคยทำ ไม่เคยเห็น เป็นอารมณ์เเบบการเเก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ในอุดมคติ ซึ่งยากมากเพราะบางทีเราไม่รู้หรือจินตนาการไม่ออกว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เเละก็ไม่รู้ว่าครูออกข้อสอบยากเเข่งกันหรือเปล่า เพราะเมื่อเทียบกับศักยภาพของเด็ก ที่พื้นฐานยังสร้างไม่เสร็จเเต่ต้องติดจรวจบินไปทำภารกิจที่ต่างกาเเล็กซี่เเล้ว
สิ่งเหล่านี้บั่นทอนจิตใจง่ายราวกับมีดปาดเนย เเต่อาจมีคนบอกว่าถ้าหากเด็กตั้งใจ เเละพยายามก็จะได้เอง ทว่าคนเรานั้นต่างกัน บางคนอาจนำเอาความยากมาเป็นเเรงใจ เเต่อีกคนกลับไม่ ซึ่งส่วนใหญ่มักค่อนมาด้านหลัง เพราะลองนึกดูว่า เเวบเเรกที่คุณนึกขึ้นได้ว่าเเก้โจทย์ข้อ 1 มาเเล้วสิบรอบเเต่ทำไม่ได้ เเต่เพื่อนทำไปเเล้ว10ข้อ เราจะมีความเครียดเเละกดดันขนาดไหน
4. ความคิดที่ว่าคนเรียนด้านวิทยาศาสตร์ต้องมีความเก่ง IQ เกินร้อย
หลายๆคนมีความคิดเเบบนี้ เเละดูเหมือนในสังคมเราจะมองว่าเด็กที่เรียนด้านวิทย์-คณิต จะเก่งกว่าคนที่เรียนสายศิลป์ อันที่จริงเเม้เเต่ตัวเด็กบางคนเองก็คิดเเบบนั้นด้วย
อย่างการเรียนต่อใน ม.ปลาย ครูมักเเนะนำให้คนที่คะเเนดีๆเกรดสูงๆ เรียนต่อสายวิทย์-คณิต ส่วนคนที่กลับกันก็เรียนด้านสายศิลป์ (ไม่นับสายอาชีพ) หรือการเเยกสายอย่างชัดเจน สายวิทย์-สายศิลป์ ก็เป็นการตีตราบางอย่างต่อสังคม ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าคำว่า "เก่ง" มันคืออะไร เเต่คนเรามักใช้คำสั้นๆนี้ปิดกั้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของตนเอง
5. การตระหนักว่าวิทยาศาสตร์คือวิชาที่สำคัญ
ที่จริงเเล้วประเทศเรามีเป้าหมายการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เเละมีการสนับสนุนมากมาย ทว่าสิ่งที่ทำคือเพิ่มข้อ 1,3,4 เเล้วเมินเฉยข้อ 2 เราตระหนักโดยการอัดเนื้อหาให้มากขึ้น (ครูโรงเรียนผมบางท่านสอนไม่ทัน) ข้อสอบยากขึ้น , มีอีโก้สูงมากขึ้นเพราะคนเรียนได้ต้องฉลาด ซึ่งทำให้นักเรียนเครียดยิ่งกว่าเดิม เเละรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์ช่างห่างไกลตัวเราซะเหลือเกิน เราต้องกระเสือกระสนเรียนตั้งเเต่อิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสของอะตอม ยันการขยายตัวของเอกภพ
6. ชอบเเค่บางเนื้อหาสาระไม่ได้ชอบทั้งหมด
เช่นเราชอบเคมี เเต่ไม่ชอบฟิสิกส์ ชีวะ ซึ่งเมื่อเราทำคะเเนนออกมาได้ไม่ดี ก็มีความเป็นไปได้ที่ครูผู้สอนอาจบอกเราว่าไม่ตั้งใจ หรือเเรงหน่อยคือฉลาดน้อยจัง ซึ่งกำลังใจในการเรียนเราก็จะน้อยลง
นี่คือผลการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2562 หรือของปีนี้ จะเห็นได้ว่าคะเเนนวิทย์ (เอาจริงคือทุกวิชา) ต่ำกว่าครึ่งนึงของคะเเนนทั้งหมด นี่เป็นความผิดของนักเรียนหรือไม่ ???
เเน่นอนว่าคนที่ชอบวิทยาศาสตร์ในเเบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็มีเช่นกัน เเต่ก็มีจำนวนน้อย เเต่ผมไม่สามารถพูดหรือมีความคิดที่จะพูดว่า สิ่งต่างๆที่เราเรียนมาตลอดหลายปีนั้นเปล่าประโยชน์ ทว่าเป็นการเเบ่งเเยกคนให้ออกเป็นสองชนชั้นคือ กลุ่มที่เรียนวิทย์ได้ เเละกลุ่มที่เรียนไม่ได้
สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ ผมเชื่อว่า "วิทยาศาสตร์" เป็นสิ่งที่ฝังมากับ DNA ของมนุษย์ การรู้จักสังเกต การรู้จักตั้งคำถาม มีการลองผิดลองถูก จนนำไปสู่ความสำเร็จได้ เเละเราทุกคนควรได้ฝึกความสามารถนี้ให้ดียิ่งขึ้น ทว่าบางสิ่งที่อยู่ในระบบการเรียน หรือวิธีการสอนของครูบางท่าน กำลังพรากสิ่งสำคัญเหล่านี้ไป
## บทความนี้ไม่ได้ออกมาโทษใครว่าเป็นคนผิด เพียงเเต่ออกมาเพื่อบอกว่าสิ่งที่เป็นอยู่นั้นเป็นอย่างไร ทั้งหมดอาจเป็นเพียงการรู้สึกไปเองของผมว่า เด็กไทยหลายคนไม่ค่อยชอบวิทยาศาสตร์ หรือผมอาจจะคิดไปเองก็ได้ อาจเป็นเด็กไทยกลุ่มเล็กๆที่ไม่ชอบ เเต่ว่าผมก็ยังต้องการออกมาพูดอะไรสักอย่าง เพราะมันเป็นความรู้สึกเเละสิ่งที่ผมสังเกตได้จริงๆ
บทความโดย คลังความรู้
5 บันทึก
32
20
7
5
32
20
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย