31 มี.ค. 2020 เวลา 14:03 • ธุรกิจ
สถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ และ สภาวะที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องของเจ็บป่วย อย่าง ปัญหาหมอกควัน และ COVID 19 ...
สิ่งที่ควรมี และ จำเป็นที่สุดในสภาวะตอนนี้นะครับ
1. #เงินเก็บสำรองฉุกเฉิน 3-6 เท่า ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน หรือจะกี่เท่าของค่าใช้จ่าย ก็ให้ดูที่ความมั่นคงของอาชีพเรา ณ ตอนนี้ เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่โดนปลดออกจากงาน หากเราอยู่ในอาชีพที่เราสามารถหางานได้ ภายใน 1 - 3 เดือน เราก็กันเงินสำรองฉุกเฉินไว้ขั้นต่ำ 3 เดือน หรือ หากมีอาชีพที่มีความไม่แน่นอน เช่นอาชีพอิสระทั้งหลาย ก็อาจจะต้องกันเงินสำรองฉุกเฉินนานถึง 12 เดือนเลยก็ได้
ถามว่า ทำไมเราถึงต้องมีเงินส่วนนี้ ? คำตอบง่ายๆก็คือ หากมันเกิดสถานการณ์อย่างตอนนี้ไง…บางคนถูกเลิกจ้างกระทันหัน บางคนไม่สามารถขายสินค้า และ บริการต่อได้ เนื่องจากปิดเมือง …เมื่อรายจ่ายเรายังเหมือนเดิม แต่รายรับเราลดลงหรือหายไป …เงินสำรองฉุกเฉินตัวนี้จะสามารถช่วยให้เราดำรงชีวิต กิน อยู่ได้ ในระหว่างที่เกิดวิกฤตเช่นนี้ อย่างน้อย 3-6 เดือนทีเดียว
2.#การโอนย้ายความเสี่ยงให้กับบริษัทประกันชีวิต : กล่าวคือ ในเมื่อเงินก้อนแรกอย่างเงินสำรองฉุกเฉินนั้น เราสามารถเตรียมเงินได้ด้วยตัวของเราเอง แต่ ถ้ามันมีความเสี่ยงนอกเหนือจากที่เราจะรับมือได้ล่ะ เช่น หากเราเกิดเจ็บป่วยเป็น COVID19 ขึ้นมา , หากเราป่วยด้วยอาการโรคปอดจากปัญหาฝุ่นควัน , หากเราเกิดอุบัติเหตุอย่างไม่คาดคิด , หากเราถูกตรวจเจอเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา หรือ ที่ร้ายแรงสุดคือ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร……แต่ละอย่างใช้เงินมหาศาลนะครับ ดีไม่ดี เราป่วยทีเดียว แผนการเงินที่เราวางไว้อาจล้มหมดเลยนะครับ เพราะฉะนั้น เตรียมเงินก้อนน้อยๆ เพื่อ แลกกับความคุ้มครองทางด้านชีวิต และ คุ้มครองทางด้านการรักษาไว้ดีกว่าครับ
อ้อ ละขอแนะนำนะครับ หากใครที่ฐานปีรามิดการเงินฐานที่ 1 ยังไม่แน่นพอ ไม่แนะนำให้ลงทุนเงินจำนวนมากๆไว้ใน กองทุนรวม หรือ หุ้นนะครับ เพราะ หากคุณเจ็บป่วย หรือ คุณตกงานขึ้นมานั้น คุณจำเป็นอาจจะต้องนำเงินในส่วนที่ลงทุนในกองทุน หรือ หุ้น ออกมาใช้รักษาตัวทั้งหมด โดยที่ไม่รู้ว่า เงินที่คุณลงทุนในวันที่คุณป่วยนั้น ตลาดหุ้นจะขึ้น หรือ ลงก็ไม่อาจทราบได้……… อย่างที่หลายๆคนอุทานประโยคนึงไว้ว่า ……
“ …คุณสามารถห้ามเจ็บ ห้ามป่วย ห้ามตาย ในวันที่ตลาดหุ้นตกได้รึป่าว ? หากคุณห้ามมันได้ นั่นแหละ คุณไม่จำเป็นต้องเตรียมเงินฉุกเฉิน และ คุณก้ไม่จำเป็นต้องเตรียมทำประกันด้วย “ 🙂
#AphiwatEcon
ขอบคุณรูป ปีรามิดทางการเงินจาก : สมาคมวางแผนการเงินแห่งประเทศไทย
โฆษณา