31 มี.ค. 2020 เวลา 14:10 • ความคิดเห็น
เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วง Covid-19 ระบาด หลายคนต้องทำงานเหมือนเดิม หลายคนก็หยุดพัก หลายคนก็ทำงานจากที่บ้าน ตัวผมนั้นก็เรียนอยู่ที่บ้านเช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ก็อาจจะทำให้หลายคนเริ่มมีความเครียด วิตกมากขึ้น และไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร และหลังจากผ่านเหตุการณ์นี้ไป เศรษฐกิจจะเป็นยังไง เราจะยังมีรายได้เหมือนเดิมมั้ย เราจะยังมีข้าวกินทุกมื้ออยู่อีกมั้ย เศรษฐกิจจะเป็นแบบ Depression มั้ย วันนี้ผมก็มีหนังสือมาแนะนำคลายเครียดสำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่าน สำหรับคนที่ไม่รู้จะอ่านอะไรดี เผื่อน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายๆคน ซึ่งหนังสือเล่มนี้กำลังพูดถึงบทเรียนที่เราได้จากศตวรรษนี้และในอีกไม่กี่ปีอันใกล้มันจะมีผลกระทบกับทุกคนแน่นอนทั้ง AI ที่อาจจะเข้ามาเปลี่ยนงานของเรา การเมือง การศึกษา ซึ่งผมก็ได้เอามาเขียนคร่าวๆ แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง น่าสนใจยังไง ซึ่งถ้าใครที่สนใจช่วงนี้สำนักพิมพ์หลายเจ้าก็เริ่มลดราคาในช่วงสัปดาห์หนังสือและมีบริการส่งถึงที่พักด้วย หรือ หลายคนก็อาจจะเลือกซื้อเป็น E-book ผ่าน Kindle ได้เช่นกัน อาจจะอ่านยากสักเล็กน้อยเพราะเป็นภาษาอังกฤษ ถึงห้องสมุดจะปิดแต่เราก็ยังหาหนังสือได้อยู่ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า
21 lessons for the 21st century
หนังสือเล่มนี้จะแบ่งเนื้อหาเป็น 5 ส่วน ซึ่งส่วนแรกจะพูดถึง เทคโนโลยี แต่ผู้เขียนกลับเปิดเรื่องด้วย Brexit และ Trump ก็งงว่ามันเกี่ยวกับเทคโนโลยียังไงซึ่งผู้เขียนก็พาไปดูเรื่องราวเกี่ยวกับ คอมมิวนิสต์ เสรีนิยม ฟาสซิสต์ ซึ่งสุดท้ายเสรีนิยมก็ได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับสงครามเย็น แต่แล้วอนาคตที่มาใหม่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้อีกต่อไป เช่นการมาของ
infotech กับ biotech ซึ่งก็ทำให้เรื่องพวกนี้ไม่สามารถ
เล่าถึงอนาคตที่มาถึงได้
เรียกได้ว่ามีคนเริ่มหมดศรัทธากับเสรีนิยมแล้วถึงได้มี Brexit กับการมา
Trump
ต่อมาจะพูดถึง งาน เมื่อหุ่นยนต์สามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าคน และสามารถเข้ามาแทนที่งานซ้ำๆ ที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงงานที่ต้องใช้ประสบการณ์หรือสัญชาติญาณที่เกิดจากการการเรียนรู้ pattern นั้นซ้ำๆ และเมื่อ AI สามารถเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกผ่านกระบวนการชีวเคมีได้ นั้นก็ยิ่งทำให้เราเสียเปรียบเข้าไปใหญ่ และถ้าเปรียบเทียบเรื่องที่เกิดขึ้นว่าอาจจะเหมือนกับในช่วงศตวรรษที่ 19 ว่างานที่หายไปย่อมมีงานที่เกิดใหม่แต่ปัญหาคืองานที่เกิดใหม่นั้นต้องใช้ทักษะที่แตกต่างไปจากเดิมซึ่งการเรียนรู้ต้องใช้เวลาและอาจจะไม่ทันในกรณีที่งานเก่าหายไปและเกิดใหม่เรื่อยๆ และเรื่องที่น่ากลัวมากกว่าคือเมื่ออัลกอรึทึมสามารถเข้าใจเราได้ดีกว่าตัวเราเองเจตจำนงเสรีของเราก็จะหมดไปและคนที่ควบคุมอัลกอรึทึมก็จะจะสามารถเข้ามาควบคุมเราได้สุดท้ายก็เป็นสวรรค์ของเผด็จการในยุคดิจิทัลนั่นเอง
เรื่องสุดท้ายก็คือสังคมก็จะเหลื่อมล้ำไปเรื่อยๆ เพราะการมาของ AI หุ่นยนต์ Automation หรือ cyborg อย่างที่ Neuralink พยายามจะทำอยู่คนรวยก็สามารถเข้าถึงได้ก่อนและอาจทำให้ชนชั้นกลางดูไร้ประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจ
ส่วนที่ 2 จะพูดการเมืองระดับโลกซึ่งก็จะเกี่ยวกับชุมชนใหม่หรือก็คือ Social media แต่ในหนังสือพูดถถึงหลักๆคือ Facebook ปัญหาของชาตินิยม ปัญหาด้านอัตลักษณ์ ปัญหาของการอพยพ
ส่วนที่ 3 จะพูดถึง การก่อการร้ายที่ทำให้เรากลัวในเชิงจิตวิทยา สงคราม การแอบอ้างพระเจ้า ฆราวาสนิยมการคิดแบบมองผ่านความจริงโดยปราศจากจากอิทธิพลของศาสนา
ส่วนที่ 4 จะพูดถึงว่าบางทีเราก็รู้น้อยกว่าที่เราคิดมากเกินไป ความยุติธรรมที่เราใช้ความไม่รู้ของเราในการตัดสิน และยุคที่เรื่องหลอกลวงมีมากกว่าเรื่องจริง และสุดท้ายพูดถึงนิยาย sci-fi ที่เราอาจคิดว่าเราอาจถูกควบคุมด้วยเครื่องจักรเหมือนใน Matrix แต่เราอาจจะถูกควบคุมด้วยอัลกอรึทึมโดยที่เราไม่รู้ตัวแทน
ส่วนที่ 5 พูดถึงการศึกษาความที่เราเรียนมา 12ปี++ อาจจะดูเหมือนไม่ค่อยมีประโยชน์ในศตวรรษนี้เพราะในยุคนี้มีข้อมูลมหาศาลรายร้อมเต็มไปหมดแต่ในห้องเรียนก็ยังสอนผ่านการบรรยายเป็นส่วนใหญ่ซึ่งทำให้เรามีข้อมูลท่วมท้นจนไม่สามารถแยกแยะข้อมูลได้และเราควรจะเรียนรู้ความยืดหยุ่นผ่านการปล่อยสิ่งที่เรารู้ดีไปมากที่สุด ดูแลสมดุลทางจิตใจซึ่งเรื่องพวกนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการฟังบรรยายหรืออ่านหนังสือ
และสุดท้ายผู้เขียนก็แนะนำว่าอย่าเชื่อผู้ใหญ่?? และเทคโนโลยี แต่ให้ทำความรู้จักกับตนเองมากขึ้นและควรยิ่งทำความรู้จักกับตนเองให้มากขึ้นก่อนที่อัลกอรึทึมจะรู้จักตัวเรามากกว่าตัวเรารู้จักตัวเองและการที่จะรู้จักตัวเองได้นั้นต้องละทึ้งภาพลวงตาหรือความหมายที่เราสร้างขึ้นมาก่อนเช้นถ้าเราเชื่อในเรื่องของทุนนิยมเราก็จะคิดว่าเราต้องทำงานจนประสบความสำเร็จ มีบ้าน มีรถ มีครอบครัวที่อบอุ่น มี passive income มากกว่ารายจ่าย มีธุรกิจเป็นของตนเอง (อันนี้ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะบอกว่า passive income หรือสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นนะครับแค่ผมจะชี้ว่าคนแต่ละยุคสมัยภาพรวมคิดอะไรเท่านั้นเอง) หรือ ถ้าเราเชื่อในการยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เราก็คงจะโพสต์เฟสบุ๊ค โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อระดมทุนจ้างบริษัททหารรับจ้างไปปฏิบัติภารกิจยึดเยรูซาเล็ม (ซึ่งทุกวันนี้ผมก็เชื่อว่าคงไม่มีใครคิดจะทำอย่างนี้แล้ว) หรือ ถ้าเราเชื่อในประชาธิปไตย เราก็จะวางแผนปลุกระดมคนเพื่อขับไล่รัฐบาลที่เขียนกฏเลือกตั้งเพื่อให้ตนเองชนะเลือกตั้ง หรือถ้าเราเชื่อในเรื่องชาติเราก็อาจจะนั่งด่าพวกชังชาติใน Facebook
ซึ่งเรื่องราวพวกนี้ถ้าเราทำตามที่เราตั้งไว้ได้ ก็จะทำให้เรามีความสุข มีความหมายในการอยู่โลกใบนี้ หรือบางทีเราก็สร้างเรื่องที่เหมือนจะขัดแย้งกันแล้วเชื่อพร้อมกันได้เช่นเผด็จการประชาธิปไตย
ฉะนั้นผู้เขียนก็แนะนำอีกเช่นเคยว่าไม่มีเรื่องเล่าอยู่บนเอกภพนี้ ตัวเราเกิดมาแล้วก็จากไปความรู้สึกของเราก็เช่นกันและทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรจะก้ามข้ามผ่านไปให้ได้ เมื่อเราสามารถปฏิเสธเรื่องเล่าทั้งปวงได้แล้ว ก็ให้เราเฝ้าสังเกตความทุกข์ผ่านการนั่งสมาธิเพื่อที่เราจะทำความเข้าใจจิตใจของเราได้มากขึ้น เช่นเฝ้าสังเกตความรู้สึกโกรธ ความเศร้า ความสุข ของเราเพื่อที่เราจะทำความเข้าใจจิตใจของเราได้มากขึ้นก่อนที่อัลกอรึทึมจะมาตัดสินใจเรื่องต่างๆแทนเรานั่นเอง
สุดท้ายนี้ ในช่วงเวลาที่คลุมเครือแบบนี้ หนังสือเล่มนี้ผมก็แนะนำให้อ่าน ผมคิดว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์มากถึงหลายๆ อย่างผมจะไม่เห็นด้วยกับผู้เขียนก็ตามเช่นเรื่องเฟสบุ๊ค มีประเด็นอีกหลายประเด็นที่คนอื่นอาจจับความสำคัญได้ซึ่งเป็นจุดที่ผมจับไม่ได้อาจจะเกิดมาจากการมองโลกแค่มุมเล็กๆ ในช่วงอายุของผม ก็สามารถมาแชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือได้นะครับผม
โฆษณา