Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FISHWAY
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2020 เวลา 05:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เต่าทะเล (Sea Turtle)
สายพันธุ์และสปีชีร์ต่าง ๆ
เต่าทะเลนับเป็นสัตว์ดึกดําบรรพ์ที่มีชีวิตอันแสนเร้นลับ พวกมันไม่เพียงเป็นสัตว์ร่วมยุคเดียวกับไดโนเสาร์ที่ยังคงมีชีวิตรอดและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาอย่างยาวนานตราบถึงปัจจุบันเท่านั้น แต่เรื่องราวชีวิตของพวกมันยังเต็มไปด้วยปริศนา เช่น ลูกเต่าที่ฟักออกจากไข่มุ่งหน้าลงสู่ทะเลในทันทีทั้งที่ลืมตาดูโลกเป็นครั้งแรกได้อย่างไร?
จริงหรือเพศของลูกเต่าถูกกําหนดด้วยอุณหภูมิ? ลูกเต่าหายไปไหนเมื่อว่ายน้ำออกไปยังมหาสมุทรกว้างใหญ? ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคําถามที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างเฝ้าศึกษาหาคําตอบเพื่อทําความรู้จักกับเต่าทะเลให้มากขึ้น
เต่าทะเลกินได้ทั้งพืชและสัตว์ สามารถวิวัฒนาการตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เพื่อลดการแย่งชิงแหล่งอาหารด้วยกันเอง รวมถึงสามารถเปลี่ยนกระดองได้ตามสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่เพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูใต้น้ำ นอกจากนี้เต่าทะเลบางตัวยังสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 35 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือสามารถว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรนับเป็นระยะทางกว่าร้อยไมล์ได้อีกด้วย
กระดองเต่าบอกสายพันธุ์แต่ละชนิด :
แม้จะขึ้นชื่อว่า "เต่า" เหมือนกันแต่เมื่อมีถิ่นอาศัยและการดํารงชีวิตที่ต่างกัน ก็ย่อมทําให้เต่าทะเลมีลักษณะทั่วไปที่แตกต่างจากเต่าบกและเต่าน้ำจืดเป็นอย่างมาก เต่าทะเล เต่าน้ำจืด และเต่าบก ต่างเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานใน "คลาสเรปทิเลีย(Class Reptilia)" เป็นกลุ่มสัตว์เลือดเย็นที่มีเกล็ดปกคลุมบริเวณทั่วลำตัวและออกลูกเป็นไข่ เช่นเดียวกับ งู ,กิ้งก่า และจระเข้ เป็นต้น
แต่ด้วยเต่าทะเลมีกระดองที่พัฒนาจากกระดูกซี่โครง พวกมันจึงมีสายวิวัฒนาการที่แยกออกมาจากสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ รวมถึงเต่าน้ำจืดและเต่าบกด้วย โดยเต่าบกและเต่าน้ำจืดถูกจัดอยู่ในอันดับ "เทสทูดิเนส(Order Testudines)" ขณะที่เต่าทะเลถูกจัดอยู่ในอันดับ "ชีโลเนีย (Order Chelonia)"
นอกจากนี้แผ่นกระดองแข็งขนาดใหญ่ที่ปกคลุมร่างกายของเต่าบกและเต่าน้ำจืด ประกอบด้วย "แคลเซียม(Calcium)" ต่างจากกระดองของเต่าทะเลที่เคลือบด้วย "เคอราติน(Keratin)" จึงทําให้เราสามารถเห็นลวดลายอันสวยงามของกระดองเต่าทะเลได้อย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ก็มีเต่าทะเลชนิดหนึ่งและเป็นชนิดเดียวเท่านั้นที่ไม่มีกระดองปกคลุมร่างกาย แต่จะมีส่วนของแผ่นหนังที่มีลักษณะเป็นแผ่นหนา ไม่มีเกล็ด เรียงซ้อนกันเป็นร่องและสันนูนสลับกันคล้ายกลีบของผลมะเฟือง(ผลไม้) ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของชื่อเต่าทะเลชนิดนี้นั่น คือ "เต่ามะเฟือง"
ผลการสํารวจเต่าทะเล :
เต่าที่อาศัยอยู่ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลกพบมีทั้งหมด 8 ชนิด ด้วยกัน คือ เต่าหัวฆ้อน ,เต่าตนุ ,เต่ากระ ,เต่าหญ้า ,เต่ามะเฟือง ,เต่าหลังแบน ,เต่าดํา และเต่าหญ้าแอตแลนติก ส่วนในประเทศไทยพบเต่าทะเลได้เพียง 5 ชนิดเท่านั้นคือ เต่าหัวฆ้อน ,เต่าตนุ ,เต่ากระ ,เต่าหญ้า และเต่ามะเฟือง โดยพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังริมชายฝั่งทะเล ทั้งในฝั่งอันดามันและอ่าวไทย มีเพียงเต่ามะเฟืองเท่านั้นที่พบได้เฉพาะในทะเลฝั่งอันดามัน
!!! เกร็ดความรู้เต่ามะเฟือง !!!
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า เนื่องจากเต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลาน เมื่อโตเต็มวัยอาจมีขนาดลําตัวยาวถึง 2.25 เมตร ด้วยเหตุนี้จึงทําให้พวกมันต้องอาศัยอยู่ในทะเลที่ค่อนข้างลึก จึงไม่พบอาศัยอยู่ในทะเลฝั่งอ่าวไทย
การจําแนกชนิดเต่าทะเล :
นักวิทยาศาสตร์พิจารณาจากลักษณะของกระดอง ทั้งในส่วนของ ขนาด ,รูปร่าง และจํานวนเกล็ดบนกระดอง ได้แก่ เกล็ดกลางกระดอง เกล็ดแนวชายโครงและเกล็ดขอบกระดอง เป็นต้น บางครั้งอาจต้องพิจารณาถึงเกล็ดกระดองด้านหน้าท้องด้วยเช่นกัน
!!!! เกร็ดความรู้เพศผู้หรือเพศเมีย !!!
ให้ดูที่หางของเต่าทะเล โดยตัวผู้จะมีหางที่ยาวกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดและในส่วนหางของเต่าก็เป็นอวัยวะที่เต่าทะเลใช้ในการสืบพันธุ์อีกด้วย
1. เต่าตนุ (Green Sea Turtle)
2. เต่ากระ / เต่าปากเหยี่ยว (Hawksbill Sea Turtle)
3. เต่ามะเฟือง / เต่าเหลี่ยม (Leatherback Sea Turtle)
4. เต่าหญ้า / เต่าสังกะสี / เต่าหญ้าแปซิฟิก (Olive Ridley Sea Turtle)
5. เต่าหัวค้อน / เต่าล็อคเกอร์เฮด / เต่าจะละเม็ด (Loggerhead Sea Turtle)
6. เต่าหลังแบน (Flatback Sea Turtle)
7. เต่าดําทะเล (Black Sea Turtle)
8. เต่าหญ้าแอตแลนติก / เต่าหญ้าแคมป์ (Kemp's Ridley Sea Turtle)
แม้ว่าเต่าจะได้รับการคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่สถิติจำนวนเต่าทะเลยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ในการวางไข่ลดลง เนื่องจากมีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ปัญหาการลักลอบเก็บไข่เต่า อันตรายจากการติดเครื่องมือประมงอวนลาก รวมถึงการทิ้งขยะลงในทะเล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เต่าทะเลตายและลดจำนวนลงเรื่อย ๆ
ผมอยากเป็นส่วนหนึ่งให้ทุกคนหันมาตระหนักช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมกันให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้ถุงพลาสติก ลดการทิ้งขยะลงแม่น้ำ ลำคลอง และอีกมากมายหลายอย่างที่เราสามารถช่วยกันได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้โลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น สัตว์ต่าง ๆ ก็จะไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกของเรา
แหล่งอ้างอิง 1 :
www.pineapplenewsagency.com
แหล่งอ้างอิง 2 :
www.nstda.or.th
แหล่งอ้างอิง 3 :
www.km.dmcr.go.th
แหล่งอ้างอิง 4 : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำออนไลน์
fishway
Facebook :
https://facebook.com/FishwayOfficial/
Instagram :
https://instagram.com/fishway.official/
Twitter :
https://twitter.com/fishwayofficial
True ID :
https://creators.trueid.net/@67003
Blockdit :
https://blockdit.com/fishway
Website : ...coming soon...
Youtube : ...coming soon...
Tiktok : ...coming soon...
Line VOOM : ...coming soon...
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
สัตว์น้ำ
สัตว์เลี้ยง
2 บันทึก
6
12
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สายพันธุ์สัตว์น้ำ
2
6
12
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย