Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิตยสารสาระวิทย์
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2020 เวลา 06:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กว่าจะมาเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง องค์การนาซา (National Aeronautics and Space Administration: NASA) และองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency: ESA) ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ด้วยกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี
Edwin Powell Hubble (November 20, 1889 – September 28, 1953)
"ฮับเบิล" ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันที่ห) นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 เขาได้ศึกษารายละเอียดของดาวฤกษ์แต่ละดวงในกาแล็กซี เอ็ม 33 พบว่าดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่นอกกาแล็กซี่ของเราออกไป
ภาพกาแล็กซีกำลังเคลื่อนที่ออกห่างจากกัน
หลังจากที่ฮับเบิลได้พิสูจน์ว่า มีกาแล็กซีอื่นอีกจำนวนมาก เขายังได้
พิสูจน์อีกว่า กาแล็กซีเหล่านี้ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไป
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
การที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ลอยอยู่นอกชั้นบรรยากาศโลก ทำให้มันมีข้อได้เปรียบเหนือกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นโลก นั่นคือภาพไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีแสงพื้นหลังของท้องฟ้า และสามารถสังเกตการณ์คลื่นอัลตราไวโอเลตได้ โดยไม่ถูกรบกวนจากชั้นโอโซนบนโลก ตัวอย่างเช่น ภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือภาพถ่ายวัตถุในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้รับอนุมัติทุนสร้างในช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่เริ่มสร้างได้ในปี ค.ศ. 1983 การสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องด้วยปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านเทคนิค และจากอุบัติเหตุกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์
ส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
กล้องได้ขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1990 แต่หลังจากที่มีการส่งกล้องขึ้นสู่อวกาศไม่นานก็พบว่า กระจกหลักมีความคลาดทรงกลมอันเกิดจากปัญหาการควบคุมคุณภาพในการผลิต ทำให้ภาพถ่ายที่ได้สูญเสียคุณภาพไปอย่างมาก แต่ภายหลังจากการซ่อมแซมกล้องในปี ค.ศ. 1993 กล้องฮับเบิลก็กลับมามีประสิทธิภาพ เหมือนดังที่ตั้งใจไว้ และกลายเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่สำคัญ และเป็นเสมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ของวงการดาราศาสตร์โลก
🔬 ช่องทางติดตาม "นิตยสารสาระวิทย์"
📍 E-Magazine:
https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit
📍 Blockdit:
https://www.blockdit.com/sarawit
📍 YouTube:
https://www.youtube.com/c/MRSPACEMANTHAILAND
📍 Facebook:
https://www.facebook.com/sarawitnstda
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย