2 เม.ย. 2020 เวลา 01:40 • ธุรกิจ
12 แอพต้องมีสำหรับ “Work From Home”
ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ในประเทศไทยมีการพูดถึง “Work From Home” มากขึ้น หลายองค์กรซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็ได้ใช้วิธี “Work From Home” นี้กันไปบ้างแล้ว ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีนโยบายในการทำงานแตกต่างกันไป วิธีที่ใช้ก็แตกต่างกันไป ข้อดีของ “Work From Home” ยุคนี้คือการสื่อสารที่ทันสมัยโดยเฉพาะบรรดาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เหมือนเป็นตัวช่วยในการทำงานได้อย่างดี
 
www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมเอา 12 แอพที่ต้องมีสำหรับ “Work From Home” มาฝากหลายคนอาจโหลดมาไว้ใช้งานแล้ว หรือบางคนอาจจะมีแอพพลิเคชั่นที่เหมาะกับตัวเองมากกว่านี้ ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่คนว่าแอพแบบไหนที่ต้องใช้หรือไม่ต้องใช้สำหรับ Work From Home ของตัวเราเอง
1. Slack
ภาพจาก bit.ly/2QWXb4c
เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับ ‘Team Communication’ หรือการสื่อสารกันภายในทีม สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้หลายรูปแบบทั้งข้อความธรรมดา ไฟล์ภาพ วิดีโอ ลิงก์ และยังโพสต์โต้ตอบกันได้ จุดเด่นอีกอย่าง คือ การออกแบบให้แยกย่อยทีมออกไปได้อีกในรูปแบบ ‘Channel’ ผ่านแฮชแท็ก ใครมีหน้าที่รับผิดชอบกับทีมไหนก็ให้อัพเดตความคืบหน้าผ่านแฮชแท็กนั้นได้ สามารถติดตั้งได้ทั้งในคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือระบบ IOS และ Android ที่สำคัญแอพฯ ไม่ต้องซิงค์กับเบอร์โทรศัพท์ในการใช้งานด้วย
2. TRELLO
ภาพจาก bit.ly/3bECC4e
เป็นแอปพลิเคชันจัดการการทำงานที่มีระบบคล้าย กระดานติด post-it โดยสามารถสร้างตารางจัดการงาน To-do List งานที่รอทำคิวต่อไป, Do งานที่เรากำลังทำอยู่ และ Done งานที่เราทำเสร็จแล้วช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันและจัดระเบียบทุกสิ่งได้ และยังมีส่วนเสริม เช่น Calendar ที่ใช้งานร่วมกับ Google Calendar หรือ ปฏิทินของอีเมลเราได้ด้วย
3. ASANA
ภาพจาก bit.ly/2Uw9reb
เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้เพื่อเตรียมการทำงาน วางแผนงาน กำหนดเวลาส่งพร้อมใส่รายละเอียดของงาน โดยสามารถตามดูงานทุกขั้นตอน รู้ได้ว่างานไปถึงขั้นไหนแล้ว เหมาะสำหรับการประสานงานกันทั้งในฝ่ายและระหว่างฝ่าย
4. SKYPE
ภาพจาก bit.ly/2UvFwTq
เป็นโปรแกรมยอดฮิตที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก โดยเป็นโปรแกรมที่ใช้สื่อสารแบบ Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่าน Internet ได้ทั่วโลก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
1
5. Zoom
ภาพจาก bit.ly/2ULGqde
แอพพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับการประชุม คุยงาน อบรม สัมมนา หรือเปิดคอร์สสอนออนไลน์ รองรับผู้เข้าใช้งานได้ 50 คน ระหว่างประชุมยังสามารถบันทึกวิดีโอไปพร้อมกันได้ แตกต่างกับ SKYPE ตรงที่ Skype เหมาะกับการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลอื่นๆ แต่ Zoom จะเน้นไปที่การประชุมและจัดคอร์สสอนออนไลน์มากกว่า
6. Google Drive
ภาพจาก bit.ly/2wOJNrW
เป็นบริการฝากไฟล์ฟรีที่ Server ของ Google โดยสามารถอัพโหลดไฟล์เก็บไว้ในไดร์ฟของตัวเองได้ รวมถึงยังสามารถแชร์งานของเราให้คนอื่นๆ หรือจะดาวน์โหลดด้วยการแชร์ลิงก์ไปอีกทีหนึ่งก็ได้เหมือนกัน ข้อดีของ Google Drive คือเราสามารถเปิดไฟล์จากทุกๆ ที่ได้ขอแค่มีอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริการรับฝากก็มีพื้นที่ให้มากถึง 15 GB สามารถสร้างโฟลเดอร์แบ่งย่อยข้อมูลได้
1
7. Discord
ภาพจาก bit.ly/3aveL7b
เป็นแพลตฟอร์มสำหรับติดต่อสื่อสารผ่านการพิมพ์แชท พูดคุยด้วยเสียง หรืออัพโหลดไฟล์ส่งถึงกัน จุดเด่นของ Discord อย่างหนึ่งคือ สามารถใช้งานได้ทั้งบนเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นบนเดสก์ท็อป และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ส่วนการใช้งานก็ค่อนข้างสะดวกสบายเพียงคลิกที่ invite จากการเชิญของเพื่อนๆ เสร็จแล้วตั้ง username ของตัวเองก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งแอพพลิเคชั่นก่อนเลย
8. GOOGLE HANGOUTS
ภาพจาก bit.ly/2UwaHOr
เป็นแอปแชตจากทางกูเกิล ที่สามารถใช้งานในรูปแบบ VDO Call สามารถครีเอตกรุ๊ปและดึงผู้ที่เกี่ยวข้องมาเข้าร่วมสื่อสารได้มากถึง 10 คน ผู้ร่วมประชุมสามารถแชร์เอกสาร Google Drive, Google Docs หรือหน้าจอที่ตนเองกำลังเปิดใช้งานอยู่ให้คนในทีมได้
9. Toggl
ภาพจาก bit.ly/3aHEB7K
แอพพลิเคชั่นที่ติดตามเวลาการทำงานของทั้งตัวเราเองและคนในทีมเพื่ออัพเดตงานกันว่า ตอนนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง ใช้เวลากันไปเท่าไหร่ โดยเราสามารถกดปุ่ม ‘start’ เพื่อเริ่มงาน และอัพเดตได้เรื่อยๆ จนกระทั่งงานจบลงก็สามารถกดปุ่ม ‘done’ เป็นอันเสร็จสิ้น
10. Zapier
ภาพจาก bit.ly/3bxwx9M
เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการทำงานหลายๆ แอพฯ เข้าด้วยกันโดยไม่จำเป็นต้องบันทึกงานเดียวกันทีละแอพฯ หลายๆ ครั้ง แต่ถ้าเราติดตั้ง Zapier ไว้มันจะทำหน้าที่ ‘Auto Saved’ ให้กับทุกแอพฯ ด้วย เช่น Gmail, Google Drive, Dropbox, Evernote นอกจากนี้ Zapier ยังทำงานร่วมกับ Dropbox เพื่อเชื่อมต่อไฟล์ บันทึกข้อมูลลูกค้า และผู้ใช้งานเข้าไว้ด้วยกัน สามารถตั้งค่าการทำงานของแอพฯ ให้ทำงานได้โดยที่ไม่ต้องคอยคัดลอกไฟล์เดิมๆ ลงบนอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ช่วยประหยัดเวลาเราไปได้เยอะมาก
11. Happy Work
ภาพจาก bit.ly/2WVf7zV
แอพพลิเคชั่นที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้การทำงานด้านทรัพยากรบุคคลหรือ ‘HR’ มีความคล่องตัวมากขึ้น Happy Work มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจทั้งระบบเช็กอินเข้า-ออกงานที่ทำได้ง่ายๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น แจ้งเบิกค่าใช้จ่ายผ่านการอัพโหลดรูปภาพใบเสร็จด้วยฟีเจอร์ค่าใช้จ่ายที่แบ่งหมวดไว้ชัดเจน แถมยังแจ้งลาหยุดผ่านแอพฯ รวมถึงมีช่องการแสดงความเห็นผ่านไปถึงผู้บริหารเกี่ยวกับการทำงาน และข้อเสนอแนะอื่นๆ ได้ด้วย
12. Spark
ภาพจาก bit.ly/2w5Ymak
มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจอย่างการ Swipe ปัดซ้ายขวาเพื่อสั่งการ แยกหมวดอีเมล์ตามความสำคัญให้อัตโนมัติ มีตัวช่วยจัดการอีเมล์อย่าง Snooze/ Reminder/ Quick Replies เป็นต้น ทำให้เราสามารถอ่านข้อความเป็นร้อยๆ กล่องข้อความได้ภายในระยะเวลาไม่กี่นาที Spark ก็สามารถปรับแต่งและจัดการบัญชีได้หลากหลาย รองรับอีเมล์จากทั้ง Gmail, Outlook, iCloud, Yahoo, Exchange, KerioConnect และอื่น ๆ อีกมากมาย
 
สิ่งสำคัญของ Work From Home ไม่ใช่การใช้เทคโนโลยีแบบไหน สำคัญคือทำงานอยู่บ้านก็ต้องมีความรับผิดชอบและมีวินัยในการทำงานที่อาจจะมากกว่าการทำงานในออฟฟิศ ไม่ใช่ทำงานอยู่บ้านแล้วจะทำหรือไม่ทำ หรือจะทำตัวตามสบายจนไม่สนใจงาน ซึ่งอาจเป็นปัญหาในภายหลัง และสำคัญคือแนวคิด Work From Home คือต้องการลดความเสี่ยงในการออกมาติดเชื้อดังนั้นเมื่อ Work From Home ก็ควรอยู่บ้านและงดกิจกรรมสังคมในช่วงเวลานี้อย่างสิ้นเชิง
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล
โฆษณา