1 เม.ย. 2020 เวลา 07:49 • ประวัติศาสตร์
"หมู่บ้านญี่ปุ่น" ในอยุธยา และประวัติ "ยามาดะ นางามาซะ " ยอดซามูไรยุคกรุงศรีอยุธยา & "เท้าทองกีบม้า" ราชินีขนมไทย
(Cr:www.talonjapan.com/www.travel.mthai.com)
ในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่นานถึง 417 ปีได้มีชาวต่างชาติหลายกลุ่มเดินทางมาค้าขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า บางส่วนก็เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ อาทิเช่น ชาวโปรตุเกส ชาวฮอลันดา ชาวอังกฤษและชาวญี่ปุ่น
จากภาพจะเห็นมีหมู่บ้านชาวต่างชาติๆ ตั้งอยู่อาทิ เช่น หมู่บ้านญี่ปุ่น โปรตุเกส ฮอลันดา เป็นต้น (Cr:www.catdumb.com)
ซึ่งต่างก็ได้รับพระราชทานที่ดิน ให้ตั้งชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
ข้อมูลประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่าชุมชนชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาเริ่มต้นขึ้นราว 450-430 ปีที่ผ่านมา สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา(ครองราชย์ พ.ศ 2112-2133) โดยเริ่มจากชุมชนเล็กๆ ของพ่อค้าเรือสำเภา
ซึ่งในหมู่บ้านชุมชนชาวญี่ปุ่นนั้น สันนิษฐานว่า มีชาวญี่ปุ่นอยู่ 3 กลุ่มด้วยกันคือ
- กลุ่มพ่อค้า
- กลุ่มโรนินหรือนักรบญี่ปุ่น
(ทหารอาสาญี่ปุ่นในอยุธยา)
-กลุ่มชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์
(เดินทางออกจากญี่ปุ่นเพื่อเสรีภาพ
ในการนับถือศาสนา)
ที่ตั้งของหมู่บ้านญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ก็คือจุดเดิมของที่ตั้งของหมู่บ้านชุนชนชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยาเช่นกัน ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนใต้ของเกาะเมือง
โดยในสมัยนั้นฝั่งตรงข้ามจะเป็นชุมชนชาวโปรตุเกส บริเวณที่ติดด้านเหนือของหมู่บ้านญี่ปุ่น จะมีคลองเล็กๆคั่น เป็นชุมชนของชาวอังกฤษและฮอลันดา
ปัจจุบัน " หมู่บ้านญี่ปุ่น " เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการไทยและญี่ปุ่น สมาคมไทยญี่ปุ่น
(Cr:www.tripgether.com)
โดยที่หมู่บ้านญี่ปุ่นได้รับการปรับปรุงครั้งแรก ในปี พ.ศ 2529 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ170 ล้านบาทในไทยขณะนั้น )
เนื่องในโอกาสที่พระบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา และ เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น
ภายในหมู่บ้านญี่ปุ่นจะมีอาคารนิทรรศการ และห้องแสดงมัลติมีเดียที่นำเสนอความรุ่งเรืองในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี รวมทั้งเส้นทางการค้าและการเดินเรือต่างๆ โดยภายในอาคารแบ่งเป็น 9 ส่วน ได้แก่
1.ห้องวีดีทัศน์ 2.แผนที่เดินเรือมายังกรุงศรีอยุธยา 3.แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ 4.ห้องจัดแสดงใต้ท้องเรือ 5. ห้องจัดแสดงเรื่องราวของชุมชนต่างชาติในกรุงศรีอยุธยา 6. ห้องจัดแสดงเรื่องราวของชุมชนชาวญี่ปุ่นในพระนครศรีอยุธยา 7.ลำดับเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 8. ห้อง e-book 9.เรือโบราณจำลอง
บรรยากาศร่มรื่น ในหมู่บ้านญี่ปุ่น(cr:www.travel.mthai.com)
แผนที่เส้นทางการเดินเรือในสมัยอยุธยา(cr:www.travel.mthai.com)
ภายในอาคารนิทรรศการหมู่บ้านญี่ปุ่น(cr:www.travel.mthai.com)
บรรดาข้าวของต่างๆของชาวญี่ปุ่นที่ใส่มาใต้ท้องเรือ(cr:www.travel.mthai.com)
แบบจำลองของเรือสำเภาชนิดต่างๆที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยอยุธยา(cr:www.travel.mthai.com)
หากมาถึงหมู่บ้านญี่ปุ่น สิ่งสำคัญที่ไม่ควรพลาดคือ " นิทรรศการยามาดะ นางามาซะ(ออกญาเสนาภิมุข)และเท้าทองกีบม้า ด้วยบุคคลทั้ง 2 มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อยุธยา ที่น่าศึกษา
มารู้ประวัติของแต่ละท่านย่อๆกันนะคะ
ท่านแรก " ยามาดะ นางามาซะ " ผู้ได้รับสมญานามว่า " ยอดซามูไรแห่งอยุธยา "
ภาพเหมือนของ " ยามาดะ นางามาสะ "(cr:www.thairath.co.th)
" ยามาดะ นางามาซะ " ออกเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อแสวงโชคในต่างแดน เนื่องจากญี่ปุ่นในยุคที่ท่านอยู่ เป็นยุคต้นของเอโดะ ซึ่งมีระบบชนชั้นที่เคร่งครัดมาก หากเป็นซามูไรชั้นผู้น้อย ก็ไม่สามารถที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงได้ ท่านยามาดะจึงออกเดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นฝั่งที่กรุงศรีอยุธยา
1
ช่วงที่ท่านยามาดะเข้ามานั้น เป็นช่วง สมัยของพระเจ้าทรงธรรม และทรงมีพระเมตตาต้อนรับชาวต่างชาติ ให้เข้ามาอาศัยร่มพระบารมี ซึ่ง ณ ตอนนั้นได้มีหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นเกิดขึ้นแล้ว
พระเจ้าทรงธรรม(พศ.2163-2171)(cr:www.historythethaination.com)
ต่อมาท่านยามาดะ ได้สมัครเป็นทหารรับจ้าง กรมอาสาญี่ปุ่นในอยุธยา ซามูไรท่านนี้สร้างผลงานโดดเด่นในการรบจนได้รับชัยชนะหลายต่อหลายครั้ง จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่น และยังเป็นพ่อค้าคนกลางกับชาวต่างชาติทำประโยชน์ทางการค้าอย่างมาก
ด้วยความดีความชอบที่มีต่อทางราชการ ต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึง " ออกญาเสนาภิมุข"ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดที่ชาวญี่ปุนคนไหนเคยได้รับในอยุธยา มีทหารอยู่ในบังคับบัญชาราว ๆ 800 คน และยังช่วยปราบกบฎอยู่หลายครั้ง
ออกญาเสนาภิมุขท่านนี้ ดำรงตำแหน่งสำคัญภายในราชสำนักอยุธยา และมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าทรงธรรมเป็นอย่างยิ่งตามสายเลือดซามูไร หลังจากที่พระเจ้าทรงเสด็จธรรมสวรรคต การเมืองในราชสำนักก็เกิดความปั่นป่วน เนื่องจากพระโอรสของพระเจ้าทรงธรรม ในขณะที่ขึ้นครองราชย์ ทรงพระเยาว์ยิ่งนัก
" ออกญากลาโหม " ซึ่งต่อมาคือ " พระเจ้าปราสาททอง "ได้คิดก่อกบฏ ต้องการวางแผนชิงบัลลังก์ จึงคิดอุบายกำจัด ออกญาเสนาภิมุข ผู้ซึ่งมีความจงรักภักดี ต่อเชื้อสายพระเจ้าทรงธรรม
พระเจ้าปราสาททอง(พศ.2173-2198)(cr:www.historyofthethsination.com)
ออกญากลาโหม จึงได้ส่ง ออกญาเสนาภิมุขและกองทหารอาสาญี่ปุ่น ไปปราบกบฎเมืองนครศรีธรรมราช
หลังจากเสร็จศึกที่เมืองนครศรีธรรมราช ออกญาเสนาภิมุข ไ้ด้ยกทัพไปปราบกบฎที่เมืองปัตตานี ถูกอาวุธไดรับบาดเจ็บสาหัส จึงกลับมารักษาตัวที่เมืองนครศรีธรรมราช และมีผู้คิดร้ายได้ลอบวางยาพิษ จนทำให้ออกญาเสนาภิมุข ถึงแก่กรรมในที่สุด
เรื่องราวชีวิตของ " ยามาดะ นางามาซะ " ซามูไรพลัดถิ่นท่านนี้ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ไทย -ญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดียิ่ง🤓🤓🤓
" ยามาดะ นางามาสะ" หรือ " ออกญาเสนาภิมุข " ยังมีอนุสรณ์เพื่อให้ระลึกถึง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านญี่ปุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในทุกวันนี้ (Cr:www.marumura.com)
สำหรับอีกท่านหนึ่งที่ มีหุ่นขี้ผึ้งจำลองอยู่ที่ หมู่บ้านญี่ปุ่น และอยากเล่าประวัติสักเล็กน้อยนะคะ คือ " เท้าทองกีบม้า "
รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของ" เท้าทองกีบม้า" ที่หมู่บ้านญี่ปุ่น ( Cr:www.travel.mthai.com)
" เท้าทองกีบม้า " มีชื่อจริงคือ มารี กีมาร์(Marie Guimar) หรือ มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา เกิดในกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2201 มีพ่อเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมกับแขกเบงกอล ส่วนแม่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส
อายุ 16 ปี มารีได้แต่งงานกับ " คอนสแตนติน ฟอลคอน" ขุนนางชาวกรีก ที่เข้ามารับราชการในราชสำนักอยุธยา ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น " ออกพระฤทธิ์กำแหง " และต่อมาได้รับตำแหน่งสูงสุดเป็นถึง " เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ อัครมหาเสนาบดี " ทำให้มารีมีชีวิตที่สุขสบายอยู่ช่วงหนึ่ง
1
หลังจากแต่งงานได้ 6 ปี เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ประหารพระยาวิชาเยนทร์
1
ส่วนมารี ถูกจับขัง ริบทรัพย์ และถูกจองจำ 2 ปี แต่ด้วยฝีมือการทำอาหารเป็นที่เลื่องลือ จึงถูกเกณฑ์ไปรับผิดชอบเครื่องคาวหวานในราชสำนัก ในสมัยพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ และกลายมาเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องต้นในพระราชวัง
(Cr:www.travel.mthai.com)
ชื่อ " ท้าวทองกีบม้า " เป็นนามบรรดาศักดิ์ที่ไม่ปรากฎที่มาและความหมาย จึงมีผู้สันนิษฐานว่า น่าจะเพี้ยนมาจาก " ตองกีมาร์ " สตรีผู้มีพรสววรค์ด้านอาหารเป็นที่เลื่องลือในราชสำนักอยุธยาในขณะนั้นนั่นเอง 😊😊😊😊
🙏🏼😍😍ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะคะ
🌷หากชอบสาระ มาพร้อมกับความรู้ 🌸🌸ฝากกด like & share
🙏🏼กดติดตามด้วยนะคะ ..ขอบคุณค่ะ
Dent-jasmine เรียบเรียง
🙏🏼🙏🏼ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
Ref:
-www.yournamez.wordpress.com/2012/09/22/ยามาดะ-นางามาสะ-ยอดซามูไร/
-www.silpa-mag.con/history/article_14062
-www.workpointnews.com/2018/09/11/ตามรอย-ท้าวทองกีบม้า-ปร/
โฆษณา