1 เม.ย. 2020 เวลา 10:07 • ครอบครัว & เด็ก
เมื่อลูกกินนมเยอะเกิน หรือ Overfeeding ลูกจะเป็นยังไง
การที่ลูกกินนมเยอะเกิน หรือ Overfeeding หมายถึงว่า เด็กกินนมมากจนล้นกระเพาะตัวเอง อารมณ์เหมือนเรากินบุฟเฟ่ต์อยู่เพลินๆ แล้วจุกกะทันหัน ทำให้จะอ้วกออกมาเพราะมันล้น เหมือนเด็ก Overfeeding นั่นเอง
ซึ่งปกติแล้ว เมื่อเด็กกินนมอิ่มก็จะหยุดกินนมเอง แต่อาการ Overfeeding อาจจะเกิดจากการที่ว่า คุณแม่กลัวลูกไม่อิ่ม กลัวลูกตัวเล็ก ไม่เหมือนคนอื่น เลยพยายามป้อนนมลูกจนล้น คุณแม่หลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้า อาจหลงลืมง่ายๆ ย้ำคิดย้ำทำ เลยป้อนนมลูกบ่อยเกินไปเพราะรักและเป็นห่วงกลัวกินไม่พอ ก็ล้นได้ หรือเด็กที่กินขวด มักกินเยอะเกินเพราะ ขวดนมดูดง่ายกว่าการดูดเต้ามาก บางครั้งเด็กก็กินนมเพลินๆ แบบไม่รู้ตัว ก็ล้นแล้ว หรือชอบดูดนมแม่ตลอดเวลา ก็ทำให้ล้นได้
ผลของการที่นมล้นกระเพาะคือ
1.แหวะนม อาเจียนบ่อย ไม่ออกปาก ก็ออกจมูก เพราะมันล้นออกมาไง
2.พุงเป่ง บวมตลอดเวลา เพราะนมเต็มกระเพาะ
3.เวลานอนก็เสียงแอะๆ เหมือนเสียงแพะ หรือเสียงเอี๊ยดอ๊าด
4.มีเสียงในคอเหมือนเป็นหวัด แต่ที่จริงเป็นเสียงนมจะล้นแล้ว
5.บิดตัวเยอะ งอแงหนักมาก นอนไม่ได้ เพราะปวดท้อง แต่ก็ต้องดูสาเหตุอื่นๆด้วย อาจเป็นเพราะ ไม่สบาย มีลมในท้อง ง่วงนอน หรือโคลิค ต้องแก้เป็นสาเหตุไป
สำหรับเด็กที่กินนมแม่ จะโชคดีที่ไม่อันตราย เท่าเด็กที่กินนมผง เพราะเด็กที่กินนมแม่จะแค่อึดอัด ไม่สบายตัวเท่านั้น และลำไส้เด็กสามารถดูดซึมนมแม่ได้ดีกว่านมชนิดอื่น แต่เด็กที่กินนมผง จะทำให้เป็นโรคอ้วนได้
เด็กอ้วนอาจจะน่ารัก แต่ก็มีโรคภัยไข้เจ็บตามมาอีกมากมาย และการกินเยอะทำให้เด็กอ้วก ซึ่งกรดในกระเพาะย้อนกลับมาที่หลอดอาหารอาจทำให้เกิดแผลได้ด้วย
วิธีป้องกันลูกกินนมเยอะไป
1. ปกติเด็กควรกิน 1 ออนซ์ ต่อ ชม หรือ ครั้งล่ะ 4 ออนซ์ ก็อยู่ได้ 4 ชม แล้วแต่น้ำหนัก และช่วงอายุเด็กด้วย
2. หยุดป้อนนมเมื่อเด็กแสดงอาการอิ่ม อย่าง เบือนหน้าหนี ปัดขวดนม หงุดหงิด ไม่ดูดหรือดูดช้าลง
3. เด็กอึครบ 2 ครั้ง ครั้งล่ะ แกนกระดาษทิชชู่ หรือ ฉี่ 6 ครั้งใน 1 วัน ก็คือปกติ มากกว่านี้คือเราให้ลูกกินนมเยอะเกินไป
4. บางครั้งเด็กอยากดูดเต้า ขยับปากมางับเต้า หรือร้องไห้ คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องให้กินนมก็ได้ บางครั้งเด็กแค่อยากมาจุ๊บเต้าเฉยๆ ดูดเพื่อความพอใจ ผ่อนคลาย เพราะการที่เด็กมาจุ๊บเต้า จะช่วยเชื่อมต่อสายใยความสัมพันธ์ ให้เด็กรู้สึกปลอดภัย ทำให้เด็กไม่เครียดด้วย กรณีนี้คุณแม่อาจอุ้มลูก เล่นกับลูก ก็ได้ แต่ถ้าลูกอยากจุ๊บเต้าจริงๆ ก็ควรไปปั๊มนมออกก่อนให้ลูกจุ๊บเต้า
สำหรับคลิปนี้ ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้นะครับ มีข้อสงสัย มีคำแนะนำ ติชม สนใจเรื่องไหน ก็คอมเม้นคุยกันได้นะครับ ยังไงก็ฝากกด Subscribe หรือ like กด share ด้วยนะครับ ช่วยกันเลี้ยงลูก ขอบคุณมากครับ
#ช่วยกันเลี้ยงลูก
ติดตามช่องทางอื่นๆได้ที่
โฆษณา